ผลิตภัณฑ์ยาชนิดแผ่นแปะจัดเป็นรูปแบบยาเตรียมชนิดหนึ่งที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา
ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อเพื่อให้เกิดความสะดวกและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบริหารยา
ตัวอย่างยารูปแบบแผ่นแปะที่ มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ยาแผ่นแปะไนโตรกลีเซอริน ที่ ใช้ใน
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ยาแผ่นแปะนิโคตินสําหรับการเลิกบุหรี่ ยาแผ่นแปะเฟนตา
นิลสําหรับรักษาอาการปวดรุนแรง เช่น อาการปวดในผู้ป่วยมะเร็ง และยาคุมกําเนิดชนิด
แผ่นแปะ เป็นต้น
ตําแหน่งของการแปะโดยทั่วไปแนะ นําให้แปะในบริเวณที่ไม่มีขน ถ้าเป็นแผ่น
แปะไนโตรกลีเซอรินอาจให้แปะบริเวณหน้าอก ส่วนยาอื่นๆ บริเวณที่สามารถแปะได้
ได้แก่ ต้นแขนด้านนอก บริเวณหลังส่วนบน เอว หน้าท้อง และหน้าขาส่วนต้น อย่างไรก็
ตามการใช้แผ่นแปะควรใช้วิธีการวนเปลี่ยนตําแหน่งของการแปะในแต่ละครั้ง เพื่อป้องกัน
การระคายเคืองจากการแปะซ้ําๆ ที่เดิม เช่น หากวันแรกแปะที่หน้าท้องข้างซ้าย วันที่สอง
อาจเปลี่ยนมาแปะที่หน้าท้องด้านขวา เป็นต้น ส่วนระยะเวลาการของแปะนั้นแตกต่างกัน
ไปในแต่ละชนิดของยา เช่น แผ่นแปะไนโตรกลีเซอริน 1 แผ่นต้องแปะนาน 12-24 ชั่วโมง
แผ่นแปะนิโคตินแปะนาน 24 ชั่วโมง แผ่นแปะเฟนตานิลแปะนาน 72 ชั่วโมง และยา
คุมกําเนิดชนิดแผ่นแปะ 1 แผ่นต้องแปะนานถึง 7 วัน ดังนั้นการใช้ยาแผ่นแปะจึงต้อง
ขึ้นกับชนิดของยาและตามคําสั่งของแพทย์ ห้ามแปะเกินเพราะจะได้รับยาเกินขนาด และที่
สําคัญเมื่อแปะแล้วหากระคายเคืองมาก ให้กลั บไปโรงพยาบาลเพื่อแจ้งแพทย์ เภสัชกร
เพราะอาจแพ้ทั้งตัวยาหรือสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นเป็นแผ่นแปะ หากไม่มีอาการแพ้ หรือ
ระคายเคือง เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการแปะของแต่ละแผ่นก็ให้นําแผ่นแปะเดิมนั้นออก
ทิ้ง แล้วแปะแผ่นใหม่ ไม่ใช่คงไว้ตลอดเวลา และเช่นเดียวกับยาในรูปแบบ อื่น ๆ อาจเกิด
อาการข้างเคียงจากยา หรือการแพ้ยาได้
Medtang
Custom Search
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
ทำไมเป็นโรคเดียวต้องใช้ยาหลายขนาน
ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคบางโรค เช่น ไข้หวัด แล้วมีอาการ เช่น ไข้ ไอมีเสมหะ
น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้จําเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการบรรเทาอาการ คือ ใช้ พาราเซ
ตะมอลเพื่อลดไข้ บรอมเฮกซินใช้บรรเทาอาการไอโดยการละลายเสมหะ คลอเฟนิรามีน
บรรเทาอาการน้ํามูกไหล เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ป่วยเป็นโรค 1โรคอาจต้องใช้ยา
มากกว่า 1 ชนิด หรือแม้แต่โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาจมีการใช้ยา
เบาหวานร่วมกันมากกว่า 1 ชนิดโดยมักออกฤทธิ์เสริมกันเพื่อให้ผลลดน้ําตาลดีขึ้น เช่น ตัว
หนึ่งอาจเพิ่มการสร้างอินซูลิน อีกตัวอาจเพิ่มการใช้น้ําตาล หรือยาลดไขมันตัวหนึ่งอาจลด
ไตรกลีเซอไรด์ ในขณะที่อีกตัวอาจลดคอเลสเตอรอล แต่หลักการที่ดีคือใช้ยาแต่น้อยตาม
ความเหมาะสม ดีกว่าใช้ยาหลายขนาน ซึ่งอาจซ้ําซ้อน หรือเกิดอันตรายจากการใช้ยา
ร่วมกันได้
น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้จําเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการบรรเทาอาการ คือ ใช้ พาราเซ
ตะมอลเพื่อลดไข้ บรอมเฮกซินใช้บรรเทาอาการไอโดยการละลายเสมหะ คลอเฟนิรามีน
บรรเทาอาการน้ํามูกไหล เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ป่วยเป็นโรค 1โรคอาจต้องใช้ยา
มากกว่า 1 ชนิด หรือแม้แต่โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาจมีการใช้ยา
เบาหวานร่วมกันมากกว่า 1 ชนิดโดยมักออกฤทธิ์เสริมกันเพื่อให้ผลลดน้ําตาลดีขึ้น เช่น ตัว
หนึ่งอาจเพิ่มการสร้างอินซูลิน อีกตัวอาจเพิ่มการใช้น้ําตาล หรือยาลดไขมันตัวหนึ่งอาจลด
ไตรกลีเซอไรด์ ในขณะที่อีกตัวอาจลดคอเลสเตอรอล แต่หลักการที่ดีคือใช้ยาแต่น้อยตาม
ความเหมาะสม ดีกว่าใช้ยาหลายขนาน ซึ่งอาจซ้ําซ้อน หรือเกิดอันตรายจากการใช้ยา
ร่วมกันได้
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554
ไปหาหมอกระดูกทำไมต้องให้ยาลดกรด หรือยาป้องกันโรคกระเพาะ
ยากลุ่มรักษาโรคกระดูกและข้อส่วนใหญ่เป็นยาบรรเทาอาการปวด ลดอาการ
อักเสบ เช่น ยารักษาข้ออักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal antiinflammatory
Drugs: NSAIDs) โดยยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะทําให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร
ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แพทย์จึงมักให้ยาป้องกันโรคกระเพาะ หรือระงับการหลั่งกรด
ควบคู่ไปด้วยโดยเฉพาะในคนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว
แต่อาการข้างเคียงดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยให้รับประทา นยาหลังอาหารทันที
และดื่มน้ าตาม มาก ๆ อย่างไรก็ตามหากต้องรับประทานยาบรรเทาอาการปวดเป็น
เวลานาน ก็มีความจําเป็นที่ต้องได้รับยาลดกรดควบคู่ไปด้วย สิ่งที่ควรระวังประการหนึ่งคือ
หากเลิกรับประทานยาบรรเทาอาการปวดดังกล่าว ก็มักเลิกรับประทานยาลดกรดร่วมด้วย
ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการใหม่คือ ภาวะกรดหลั่งเกินอีก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร
หากเกิดอาการดังกล่าว
อักเสบ เช่น ยารักษาข้ออักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal antiinflammatory
Drugs: NSAIDs) โดยยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะทําให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร
ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แพทย์จึงมักให้ยาป้องกันโรคกระเพาะ หรือระงับการหลั่งกรด
ควบคู่ไปด้วยโดยเฉพาะในคนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว
แต่อาการข้างเคียงดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยให้รับประทา นยาหลังอาหารทันที
และดื่มน้ าตาม มาก ๆ อย่างไรก็ตามหากต้องรับประทานยาบรรเทาอาการปวดเป็น
เวลานาน ก็มีความจําเป็นที่ต้องได้รับยาลดกรดควบคู่ไปด้วย สิ่งที่ควรระวังประการหนึ่งคือ
หากเลิกรับประทานยาบรรเทาอาการปวดดังกล่าว ก็มักเลิกรับประทานยาลดกรดร่วมด้วย
ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการใหม่คือ ภาวะกรดหลั่งเกินอีก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร
หากเกิดอาการดังกล่าว
หากเคยรับประทานยาครั้งละ 500 มิลลิกรัม สามารถใช้ชนิด 250 มิลลิกรัม จำนวน 2 เม็ดหรือไม่
ถ้ายาดังกล่าวเป็น ยาชนิดเดียวกัน และเป็นเกลือเดียวกัน สามารถใช้ขนาดยา
รวมในจํานวนที่เท่ากันได้ เช่นแพทย์สั่งจ่ายยา อะม๊อกซี่ซิลลิน 500 มิลลิกรัม แต่ทาง
โรงพยาบาลมี อะม๊อกซี่ซิลลิน 250 มิลลิกรัม ดังนั้นสามารถที่จะจ่ายนี้ความแรง 250
มิลลิกรัมโดยเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่าได้ แต่ถ้าเมื่อไรเป็น ยาต่างชนิด หรืออาจชนิดเดียวกัน
แต่อยู่ในรูปเกลือที่แตกต่างกัน จะไม่สามารถนํามาใช้ในขนาดเท่ากันได้ แม้ว่าอาจใช้รักษา
โรคเดียวกัน เนื่องจากผู้ป่วยหลายท่านอาจยังมีความเข้าใจผิดว่าเมื่อก่อนรับประทานยา
ชนิดหนึ่งในขนาด 10 มิลลิกรัมยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ คราวนี้ม าเปลี่ยนให้
รับประทานยาอีกชนิดแต่มีความแรงเพียง 5 มิลลิกรัมจะดีขึ้นหรือ เปล่า เช่น เคยได้รับยา
โพรพาโนลอล วันละ 20 มิลลิกรัม ความดันโลหิตยังคงสูงอยู่ เปลี่ยนมาใช้ยาลดความดัน
โลหิตอีกขนานเช่น อะทีโนลอล ขนาด 10 มิลลิกรัม จะคุมได้หรือ และมีบางรายแอบเพิ่ม
ขนาดเอง เพราะฉะนั้นต้องตอบเลยว่า ยาต่างชนิดกันจะให้ผลในการรักษาไม่เท่ากันหรือ
ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาของยาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้ามีการใช้ในขนาดที่เท่ากันของ
ยาต่างชนิดนั้น อาจจะทําให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา หรือไม่มีผลในการรักษาเท่าที่ควร
รวมในจํานวนที่เท่ากันได้ เช่นแพทย์สั่งจ่ายยา อะม๊อกซี่ซิลลิน 500 มิลลิกรัม แต่ทาง
โรงพยาบาลมี อะม๊อกซี่ซิลลิน 250 มิลลิกรัม ดังนั้นสามารถที่จะจ่ายนี้ความแรง 250
มิลลิกรัมโดยเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่าได้ แต่ถ้าเมื่อไรเป็น ยาต่างชนิด หรืออาจชนิดเดียวกัน
แต่อยู่ในรูปเกลือที่แตกต่างกัน จะไม่สามารถนํามาใช้ในขนาดเท่ากันได้ แม้ว่าอาจใช้รักษา
โรคเดียวกัน เนื่องจากผู้ป่วยหลายท่านอาจยังมีความเข้าใจผิดว่าเมื่อก่อนรับประทานยา
ชนิดหนึ่งในขนาด 10 มิลลิกรัมยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ คราวนี้ม าเปลี่ยนให้
รับประทานยาอีกชนิดแต่มีความแรงเพียง 5 มิลลิกรัมจะดีขึ้นหรือ เปล่า เช่น เคยได้รับยา
โพรพาโนลอล วันละ 20 มิลลิกรัม ความดันโลหิตยังคงสูงอยู่ เปลี่ยนมาใช้ยาลดความดัน
โลหิตอีกขนานเช่น อะทีโนลอล ขนาด 10 มิลลิกรัม จะคุมได้หรือ และมีบางรายแอบเพิ่ม
ขนาดเอง เพราะฉะนั้นต้องตอบเลยว่า ยาต่างชนิดกันจะให้ผลในการรักษาไม่เท่ากันหรือ
ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาของยาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้ามีการใช้ในขนาดที่เท่ากันของ
ยาต่างชนิดนั้น อาจจะทําให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา หรือไม่มีผลในการรักษาเท่าที่ควร
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554
ยาน้ำรับประทานชนิดหยด 1 หลอดหยดหมายความว่าอย่างไร
หากได้รับยาเด็กน้ําสําหรับเด็กมา และทางโรงพยาบาลสั่งให้รับประทานครั้งละ
1 หลอดหยด สิ่งที่ผู้ปกครองต้องทวนถามทันทีว่า 1 หลอดหยดดังกล่าวมีปริมาตรเท่าไร
เพราะแต่ละบริษัทจะให้ความหมายของหลอดหยดไม่เท่ากัน และหลายบริษัท หลอดหยด
ที่ให้มาเป็นขนาด 1 มิลลิลิตร แต่ปริมาตรที่ระบุไว้มีเพียง 0.6 มิลลิลิตร ซึ่งแพทย์ เภสัชกร
รับทราบความแรงในขนาด 0.6 มิลลิลิตร ดังนั้นหากดูดมา 1 หลอดหยดเต็มก็จะมีปริมาตร
มากเกินไป 0.4 มิลลิลิตร คิดเป็นขนาดยาที่มาก เกินไปถึง ร้อยละ 65 โดยประมาณ
ยาบางขนานก็อาจเป็นอันตราย เกิดการสะสมได้ ดังนั้นเภสัชกรต้องระบุขนาดของ
สารละลายหรือยาน้ําที่ให้เป็นหน่วยมิลลิลิตร จะปลอดภัย กว่า และหากไม่มีการระบุ
ผู้ป่วยควรสอบถามทุกครั้ง สําหรับรูปที่ 23 แสดงหลอดหยดขนาด 1 มิลลิลิตร ที่ทาง
โรงพยาบาลให้ไป ร่วมกับยา ขนาดที่ใช้ต้องระบุเป็น มิลลิลิตร เช่น 0.8 มิลลิลิตร
ไม่ใช่ 1 หลอดหยด
1 หลอดหยด สิ่งที่ผู้ปกครองต้องทวนถามทันทีว่า 1 หลอดหยดดังกล่าวมีปริมาตรเท่าไร
เพราะแต่ละบริษัทจะให้ความหมายของหลอดหยดไม่เท่ากัน และหลายบริษัท หลอดหยด
ที่ให้มาเป็นขนาด 1 มิลลิลิตร แต่ปริมาตรที่ระบุไว้มีเพียง 0.6 มิลลิลิตร ซึ่งแพทย์ เภสัชกร
รับทราบความแรงในขนาด 0.6 มิลลิลิตร ดังนั้นหากดูดมา 1 หลอดหยดเต็มก็จะมีปริมาตร
มากเกินไป 0.4 มิลลิลิตร คิดเป็นขนาดยาที่มาก เกินไปถึง ร้อยละ 65 โดยประมาณ
ยาบางขนานก็อาจเป็นอันตราย เกิดการสะสมได้ ดังนั้นเภสัชกรต้องระบุขนาดของ
สารละลายหรือยาน้ําที่ให้เป็นหน่วยมิลลิลิตร จะปลอดภัย กว่า และหากไม่มีการระบุ
ผู้ป่วยควรสอบถามทุกครั้ง สําหรับรูปที่ 23 แสดงหลอดหยดขนาด 1 มิลลิลิตร ที่ทาง
โรงพยาบาลให้ไป ร่วมกับยา ขนาดที่ใช้ต้องระบุเป็น มิลลิลิตร เช่น 0.8 มิลลิลิตร
ไม่ใช่ 1 หลอดหยด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)