Medtang

Custom Search

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

“รับประทานยานี้แล้ว ระวังแสงแดด” จะต้องระวังนานเท่าไร และจะออกจากบ้านได้หรือไม่ หากออกจากบ้านจะเกิดอะไรขึ้น

 ยาบางชนิดเมื่อประทานแล้วจะมีคำเตือนให้ระวังแสงแดด เนื่องจากยามีผลทำให้ผิวหนังมีความไวต่อรังสียูวี หรือ แสงอาทิตย์มากกว่าปกติ ตัวอย่าง ดังกล่าว เช่น ยารักษาสิวไอโสเตตริโนอิน (Isotretinoin) ยาปฏชิวีนะในกลุ่มเตตราไซคลิน (ที่ชาวบ้านคุ้นเคยยายาออริโอหรือยาแก้อักเสบเม็ดสีเหลืองส้ม) ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน ที่ใช้บ่อยเป็นยาแก้ท้องเสียทที่เรียกว่า นอร์ฟลอกซาซิน หรือยาขับปัสสาวะบางชนิด เป็นต้น

 ซึ่งหากรับประทานยากลุ่มเหล่านี้ลงไป เวลาที่ออกจากบ้าน ไม่ได้ป้องกัน แสงแดด (ก็บ้านเราแทบจะไม่มีมั๊งที่ที่ไม่มีแสงแดดน่ะ) ก็อาจจะทำให้เกิด อาการที่เรียกว่า ความไวต่อแสง(photosensitivity) ซึ่งหมายถึงปฏิกิริยา ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสรังรีอัลตร้าไวโอเลต แล้วทำให้มีการแดงของผิวหนัง และเกิดการอักเสบขึ้น ความรุนแรงของอาการไวต่อแสงนั้น จะสัมพันธ์กับขนาดหรือปริมาณของสารที่ทำให้เกิดความไวต่อแสง และความเข้มข้นของแสงแดดที่ได้สัมผัสคือถ้าปริมาณของสารที่ทำให้เกิดความไวต่อแสงมาก ความรุนแรงก็จะมากหรือถ้าความเข้มข้นของแสงแดดมาก ความรุนแรงของ ความไวแสงก็จะมากขึ้นเช่นกัน 

ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ หากใช้ยาดังกล่าวแล้ว มีอาการแพ้แสง หากสามารถทำได้ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยานั้น แต่หากมี ความจำเป็นต้องใช้ยา ระหว่างการใช้ยาดังกล่าวก็ควรจะหลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์ ให้มากที่สุด เวลาออกจากบ้านควรสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและใช้ผลิตภัณฑ์ทากันแดด (ค่าเอสพีเอฟตั้งแต่15ขึ้นไป นอกจากนี้การรับประทานอาหาร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ(antioxidants) เช่น สารพวกไบโอฟลาโวนอยด์จากผักผลไม้ หรือพวกวิตามินเอ,ซี หรืออี ก็จะช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ที่จะทำอันตรายต่อผิวได้

 


วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

ยาเหน็บช่องคลอดทำไมมีการสั่งให้เอามาอมด้วย

ยาเหน็บช่องคลอด ทำมาจากเบสพวกโพลีเอทิลีนกลัยคอล (polyethelene glycol:PEG) สามารถรับประทานได้ ดังนั้นการนำยาฆ่าเชื้อรา รูปแบบเหน็บช่องคลอดมาให้ผู้ป่วยใช้อมสามารถรักษาการติดเชื้อราในช่องปาก (Oral Candidiasis)ได้ เนื่องจากยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ โดยอาศัยการอมยาไวภ้ายในปาก ให้ตัวยาสัมผัสกับผิวภายในปากชชั่วระยะหนึ่ง และเพื่อให้การรักษาที่ได้ผลดีขึ้นอาจต้องอมยาบ่อยๆวันละ 3-5 ครั้ง

อย่างไร ก็ตามรสชาติค่อนข้างเฝื่อน แล้วอีกอย่าง..คิดอย่างไรก็ไม่น่าจะเหมาะสม คิดดูสิครับผู้ป่วยชายพกยาเหน็บช่องคลอดไว้กับตัวมันพิลึก เนื่องจากจะฉีก ออกมาเป็นเม็ดเปลือยก็ไม่ได้ เพราะว่าจะชื้นง่าย อาจทำให้ผู้ป่วยปฏิเสธ การใช้ยาได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการผลิตยาฆ่าเชื้อราสำหรับอมโดยเฉพาะแล้ว และราคาไม่แพง ในทางกลับกันหวังว่าไม่มีใครนำยาอมไปเหน็บช่องคลอด แทนล่ะ หวานตาย





วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

ยาฉีดทำไมมีทั้งประเภทที่เป็นน้ำ และเป็นผง

 ยาฉีดเป็นรูปแบบยาที่มีความพิเศษมากกว่ายารูปแบบอื่นๆ เพราะจะต้องฉีดเข้าร่างกายผ่านผิวหนัง ผ่านเนื้อเยื่อที่บอบบาง ดังนั้นการผลิตจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ยาปราศจากการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ และสิ่งแปลกปลอมต่างๆซึ่งต้องอาศัย บุคลากรที่มีความชำนาญ ผ่านการ ฝึกฝนมาอย่างดีและมีทัศนคติที่ดีในด้านการควบคุมกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มรับวัตถุดิบเข้ามาจนกระทั่งได้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ยาฉีดที่เป็นยาน้ำต้องมีความคงตัวดี สำหรับยาฉีดที่เป็นผงมักมีความคงตัวในรูปสารละลายต่ำ หากผสมแล้วมีระยะเวลาการใช้งานภายใน 24-48 ชั่วโมงเป็นส่วนมาก ยาฉีดที่เป็นผงบางชนิดเมื่อเติมน้ำกลั่นเพื่อละลาย ตัวยาจะมีฤทธิ์อยู่ได้เพียง1ชั่วโมง

ดังนั้นการเตรียมเป็นรูปยาน้ำหรือผงจึงขึ้นกับความคงตัวของตัวยาสำคัญยาฉีดจะบรรจอยู่ในภาชนะบรรจทุเี่ป็นหลอด (ampule) และขวด(vial) ยาที่บรรจุในหลอดจะเป็นยานน้ำซึ่งใช้ฉีดครั้งเดียว(single dose) ถ้าใช้ไม่หมดต้องทิ้งไป เพราะเมื่อหลอดยาถูกหักแล้วจะไม่ สามารถรักษาให้อยู่ในสภาพปราศจากเชื้อได้ หลอดยาที่มีวงสีรอบคอหลอดยา แสดงว่าหลอดยานั้นจะหักได้ง่ายไม่ต้องใช้เลื่อยยา สำหรับยาฉีดที่บรรจุ ในขวดจะมีทั้งชนิดที่เป็นผงและยานน้ำมีทั้งแบบใช้ครั้งเดียว (singledose) และใช้หลายครั้ง(multidose) ยาที่เป็นผงจะมีความคงตัวต่ำ จุกขวดจะเป็นยางและมีแผ่นโลหะยึดรอบริมของขอบจุกยางไว้กันปากขวด ส่วนกลางของจกุยางจะบางเพื่อให้ง่ายต่อการแทงเข็มตรงส่วนกลางของจุกยางจะมีแผ่น โลหะ หรือฝาพลาสติกปิดไว้อีกครั้งหนึ่ง ก่อนดูดยาออกจากขวดต้องเปิดแผ่นโลหะหรือฝาพลาสติกออก บนหลอดยาหรอืขวดยาจะมีชื่อยา ปริมาณยา วิถีทางให้ยา วันหมดอายุของยาอยู่

 ยาฉีดบางชนิดที่เป็นผงจะบอกชื่อ และปริมาณของตัวทำละลายยาไว้ด้วย หากยาที่ละลายแล้วใช้ไม่หมด และมีอายุที่จะเก็บไว้ ใช้ได้ให้เขียนฉลากติดขวดไวเกี่ยวกับความเข้มข้นของยา วัน เดือน ปี ที่ละลาย ผู้ละลาย และเก็บยาไว้ในที่ที่เหมาะสมตามฉลากยาที่แนบมากับยาด้วยเพื่อ เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา

 


วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564

ทำไมยาจึงมีบรรจุภัณฑ์หลากหลาย บ้างเป็นฟอยล์ บ้างเป็นแผงใส

 ปัจจุบันอุตสาหกรรมยามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านบรรจุภัณฑ์ในอดีตยาส่วนมากจะบรรจุในขวด กระป๋องโดยบรรจุ 500-1,000 เม็ด มักมีปัญหาเรื่อง ความสะอาด การปนเปื้อน การเสื่อมสลาย เนื่องจากยาบางขนานเปิดแล้วกว่าจะใช้หมดก็เป็นเวลานาน เช่น ยาแอสไพริน จะได้กลิ่นน้ำส้มสายชูฉุน หรือยาอะมิโนฟิลลิน ที่เป็นยาขยายหลอดลมก็จะได้กลิ่นเหมือนเยี่ยวอูฐ เป็นต้น เรื่องการปนเปื้อนจะพบได้มากเนื่องจาก การนับจะมีการเทลงภาชนะกลับไปกลับมาหลายครั้ง ผู้ป่วยก็เสี่ยงต่อการแพ้ยาที่อาจปนเปื้อนมาโดยไม่รู้นอกจากนี้ยาอาจไม่ทนความชื้น ไม่ทนแสง จึงทำให้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งก็กลายเป็นเอกลักษณ์ของ ยาและมีข้อดีที่สามารถระบุชื่อยาได้ตลอดจนรุ่นผลิต และวันหมดอายุ

แผงฟอยล์

ขอเริ่มด้วยจุดเด่นของยาที่มีบรรจุภัณฑ์เป็นชนิดแผงที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวนี้สามารถปกป้องยาในแต่ละหน่วยรับประทานให้แยกออกจากกันได้ (unitdosepackage) และยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถบ่งชี้ร่องรอยการแกะจะให้ง่ายก็คือเมื่อยาถูกแกะ หรือบรรจุภัณฑ์เสียหายก็สามารถสังเกตได้ชัดเจน นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ชนิดแผงยังมีคุณสมบัติป้องกันออกซิเจน ความชื้น และหรือแสงอีกด้วย โดยแต่ละแผงใช้บรรจุยาเม็ดหรือยาแคปซูลหลายเม็ด เช่น แผงละ 4 เม็ดในยาบรรเทาปวดลดไข้10 เม็ดในยาปฏิชีวนะ หรือ28 เม็ดในยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น บรรจุภัณฑ์ชนิดแผงแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แผงบลิสเตอร์ และแผงสตริป

แผงบลิสเตอร์ 

บลิสเตอร์เป็นบรรจุภัณฑ์ที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน เช่นแผงลูกอม แผงหมากฝรั่ง บรรจุภัณฑ์แบบแผงบลิส-เตอร์ประกอบไปด้วย ส่วนของแผ่นฟิล์ม พลาสติกที่แข็งแรง กำหนดรูปร่างที่คมชัดใส และสวยงาม ส่วนอีกด้านหนึ่งจะใช้ฟอยล์อลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบหลัก มีการพิมพ์ชื่อยา ข้อมูลสำคัญที่ด้านหลังของแผ่นฟอยล์ข้อดีของแผงบลิสเตอร์นี้ คือลักษณะที่สวยงามและสามารถเห็นยาที่อยู่ข้างในได้ คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สามารถป้องกันผลิตภัณฑ์จากบรรยากาศแวดล้อม เช่น ออกซิเจน ความชื้น นอกจากนี้แผง บลิสเตอร์เป็นบรรจุภัณฑ์ป้องกันการแกะของเด็กเล็กได้อีกด้วย (แต่ปัจจุบันอาจเป็นความเสี่ยงเพราะว่าเด็กจะคุ้นเคยกับแผงบลิสเตอร์เพิ่มมากขึ้น) แผงบลิสเตอร์ที่บรรจุยาจะเป็นชนิดใช้กดด้านบนเพื่อให้ยาทะลุออกจากฟอยล์ด้านล่าง


แผงสตริป 

แผงสตริปเป็นแผงฟอยล์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้บรรจุยาเม็ดและแคปซูล โดยใช้ฟอยล์อลูมิเนียมหรือพลาสติกปิดผนึกประกบยา จากนั้นตัดให้แต่ละแผงฟอยล์เท่าๆ กัน โดยมีจำนวนผลิตภัณฑ์จำนวนเท่าๆ กัน เช่น แผงละ 10 เม็ด เป็นต้น วัตถุที่นำมาทำแผงสตริปซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าแผงบลิสเตอร์ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันไอน้ำและออกซิเจนได้ดีและเช่นเดียวกัน เมื่อมีการแกะเกิดขึ้นเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ จะเห็นร่องรอยการแกะชัดเจน คือแผงสตริปจะฉีกขาดเพื่อเอายาเม็ดหรือแคปซูลออกมา สำหรับแผงสตริปบางบริษัทอาจมีข้อด้อยคือ ฉีกยาก ทำให้บ่อยครั้งผู้สูงอายุที่อยู่บ้านคนเดียวไม่สามารถฉีกแผงยาได้ จึงต้องรอให้ลูกหลานกลับมาก่อนจึงสามารถรับประทานยาอย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาหลีกเลี่ยงการฉีกยาออกจากแผงทีละมากๆ อาจฉีกออกมาและเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิท ครั้งละ 1-2 เม็ดเท่านั้น เพื่อป้องกันยาเสื่อม

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564

ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลา มีคุณสมบัติอย่างไร

 ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลา มีคุณสมบัติอย่างไร

ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลาเป็นประเภทหนึ่งของยาเม็ดควบคุมการออกฤทธิ์ คือ การพัฒนารูปแบบเภสัชภัณฑ์ให้ปลดปล่อยตัวยาสำคัญออกมาตามความต้องการของผู้ออกแบบ อาจเป็นในรูปแบบ ที่ควบคุมให้แตกตัวและดูดซึมในอวัยวะเป้าหมาย หรืออาจเป็นการพัฒนาเพื่อให้ปลดปล่อยตัวยาออกมาในปริมาณที่สม่ำเสมอเป็นเวลานาน 

ตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลาหรือลักษณะเม็ดกลมขนาดเล็ก ในยาแคปซลููลที่เห็นนั้นคือยาในรปูแบบที่เรียกว่า เพลเลต (Pellet) ยาเม็ดเล็กๆในยาแคปซลูเหล่นี้ ถูกเคลือบด้วยสารที่ป้องกันการแตกตัวในกระเพาะอาหาร เพื่อให้เม็ดยา ไปแตกตัวในบริเวณที่มีความเป็นด่าง เช่นลำไส้เล็ก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ยา เหล่านั้น เช่น ยาโอมิพราโซล (Omeprazole) ที่ถูกบรรจุไว้เป็นยาที่ไม่คงตัว และถูกทำลายเมื่อสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหาร

และแน่นอนต่อเนื่องจากหัวข้อก่อนหน้านี้ ยาลักษณะไข่ปลานี้ก็ไม่สามารถเคี้ยวหรือบดได้ ดังนั้น ในกรณีที่ต้องให้ยาทางสายยาง (NG Tube) ทำได้โดยให้ถอดเปลือกแคปซูล เทเพลเลตยาใส่ในถ้วย กระจายด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ เช่นน้ำสับปะรด จากนั้นรีบกรอกลงในสายยางมีข้อสังเกตง่ายๆ ว่ายาตัวไหนห้ามบดเคี้ยว โดยท้ายชื่อยา มักมีอักษรลงท้ายตามมาเป็นภาษา อังกฤษว่า

DM, GP, DA, PSE, SR, SA, CR/CRT, LA, MR, TD/TR, XL, XR/ER, OROS®, Contin เป็นต้น

 


วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564

ยาเม็ดเคลือบฟิล์มจะเคี้ยวหรือบดได้หรือไม่

 ยาเม็ดเคลือบฟิล์มจะเคี้ยวหรือบดได้หรือไม่

คำตอบคือ...... ไม่ได้..ครับ ความสำคัญของการ เคลือบฟิล์มในยาเม็ดเคลือบ ส่วนมากจะทำเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ที่สำไส้ เนื่องมาจากตัวยาระคายเคืองกระเพาะอาหารหรืออาจเสื่อมสลายโดยกรด ในกระเพาะอาหาร ดังนั้นการบดเคี้ยว หรือแม้กระทั่งการหักแบ่งยาเม็ดเคลือบฟิล์ม โดยเฉพาะโดยเฉพาะที่มุ่งหมายให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ จึงทำให้คุณสมบัตินั้นเสียไป ส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารไได้จากการเคี้ยวยา ดังกล่าวบ่อยครั้ง หรือกรดในกระเพาะก็จะทำลายฤทธิ์ของยาลง (อย่างไร ก็ตามหากเป็นผู้สูงอายุไม่ต้องห่วงเรื่องบดเคี้ยวเพราะยาแข็งมาก) มีปัจจัยสาเหตุ มากมายที่ส่งผลใหจำเป็นต้องบดยาให้ผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่รับประทานอาหาร หรือกลืนไม่ได้ ใส่ท่อสายยางให้อาหาร ยาเม็ดขนาดใหญ่ ผู้ป่วยที่ไม่ยอม รับประทานยา ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เป็นต้น อย่างไรก็ตามเป็นบทบาทของเภสัชกร ในการประสานกับบุคลากรการแพทย์ในโรงพยาบาลว่ายารายการใดบดได้ หรือรายการใดบดไม่ได้ เพื่อเลี่ยงไปใช้ในรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสมมากกว่า

รูปแบบยาที่ไม่ควรหักแบ่ง บด เคี้ยวหรือทำให้เม็ดยาแตก ได้แก่ 

ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน (extended-release tablet) เนื่องจาก เป็นยาเม็ดที่ออกแบบมาเพื่อให้ออกฤทธิ์โดยปลดปล่อยยาสู่ร่างกายทีละน้อยโดยการเคลือบฟิล์มเป็นตัวควบคุมการปลดปลอ่ยตัว ยาจากเม็ดยา ดังนั้นเมื่อบดเคี้ยวเม็ดยาจะทำให้การควบคุมการปลดปล่อยตัวยาเสียไป ยาก็จะทะลักออกมา จำนวนมาก ทำให้อาจเป็นพิษ หรือระยะเวลาในการควบคุมอาการสั้นลง ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

ยาเม็ดชนิดแตกตัวในลำไส้ (enteric-coated tablet) เป็น รูปแบบยาทป้องกัน การแตกตัวในกระเพาะอาหารแต่ให้แตกตัว  และดูดซึมในลำไส้เล็ก ก็เพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร  หรือป้องกันยาถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร • 

ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล (Sugar coating tablet) ยาบางชนิด  มีรสชาติไม่ดีจึงจำเป็นต้องเคลือบเพื่อกลบรสชาติของยาด้วย น้ำตาล การบดจะทำใหการกลบรสเสียไปทำให้ผู้ป่วยได้รับรสชาติ ที่ไม่ดีของยา เช่น ยา Ciprofloxacin อย่างไร ก็ตามหากเป็นยากลุ่มนี้ ในทางปฏิบัติหากเป็นผู้ป่วยที่ให้ผ่าน สายให้อาหารก็สามารถที่จะบดได้เพราะอย่างไรก็ไม่ได้รับรู้รสอยู่แล้ว 

สำหรับโรงพยาบาลจะมีการบดยาสำหรับผู้ป่วยที่คาสายยางให้อาหาร เป็นประจำทุกวัน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือการบดยาพร้อมกันหลายขนาน ซึ่งยาอาจไม่เข้ากันหรือไม่ถูกกันทางกายภาพและบ่อยครั้งโกร่งที่ใช้ บดยาจะใช้ซ้ำๆ เกิดการปนเปื้อน และอาจนำไปสู่การแพ้ยาสำหรับผู้ป่วย บางรายได้


วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564

ยาเม็ดฟู่ (Effervescent tablets)

ยาเม็ดฟู่เป็นยาที่จะต้องละลายในน้ำรอจนฟองฟู่หมดค่อยรับประทาน ลักษณะสำคัญของยาเม็ดชนิดนี้ก็คือ เมื่อหย่อนเม็ดยาลงในน้ำจะเกิดฟอง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นจากเม็ดยา ฟองก๊าซจะช่วยให้เม็ดยาแตกตัว และละลายได้อย่างรวดเร็ว ฟองก๊าซดังกล่าวเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่าง สารฟองฟู่ประเภทเกลือคาร์บอเนต หรือไบคาร์บอเนต กับกรดอ่อนบางชนิด เช่น กรดซิตริก หรือ กรดตาร์ตาริก เหตุผลที่ต้องทำยาในรูปแบบนี้เนื่องจาก ขนาดตัวยาสำคัญมีปริมาณมาก และยาบางชนิดเช่น แคลเซียม คาร์บอเนต ที่เป็นยาเสริมแคลเซียม จะละลายในภาวะเป็นกรดของกระเพาะอาหารและ ปลดปล่อยฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากนั้นจึงดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย 

ดังนั้น หากอยู่ในรูปแบบยาเม็ดทั่วไป เมื่อรับประทานจึงอาจทำให้อืดแน่นท้อง โดย เฉพาะผู้สูงอายุที่กระเพาะอาหารมีความเป็นด่างเพิ่มมากขึ้น ยาจึงไม่ค่อย แตกตัว หรือละลายในกระเพาะอาหารและสุดท้ายมักเป็นสาเหตุของอาการ ท้องผูกได้การทำยาแคลซียม คาร์บอเนต ในรูปเม็ดฟู่จึงช่วยให้ยาอยู่ในรูป สารละลาย ปรับแต่งรสให้น่ารับประทาน เพิ่มการดูดซึมได้ดีไม่ปลดปล่อย ก๊าซในกระเพาะ ลดอาการท้องอืด หรือท้องผูกในผู้สูงอายุนอกจากนี้ยากลุ่ม วิตามินบางขนานที่ไม่ทนกรด การทำเป็นเม็ดฟู่จะช่วยให้สารละลายที่ได้มีผล สะเทินความเป็นกรดในกระเพาะลดการทำลายฤทธิ์ยาจากกรดในกระเพาะ ได้ข้อควรระวังอันหนึ่งของยาเม็ดฟู่คือ ภาชนะที่ใช้เก็บจะเป็นภาชนะที่กัน ความชื้นได้ เช่น แผงยาแบบกดเม็ด (blister pack) หรือแผงอลูมิเนียม 

เนื่องจากยาเม็ดชนิดนี้มักจะชื้นง่ายซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ยาเสีย ดังนั้นจึง แนะนำให้ระวังอย่าเก็บยาไว้ในที่ชื้น และระวังการฉีกขาดของแผงยาเพราะ จะทำให้ความชื้นเข้าไป ส่งผลให้ยาเสื่อมสภาพ