Medtang

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ยาเม็ดที่ต้องเคี้ยว ไม่เคี้ยวได้หรือไม่

“ให้ลุงเคี้ยวยา แต่ฟันไม่มีจะทํายังไงดีพ่อหนุ่ม ” หากเป็นยาที่สามารถเคี้ยวได้ ก็

สามารถที่จะนําไปบดได้ เหตุผลที่ต้องเคี้ยวหรือบด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของ

ยา เช่น ยาลดกรดชนิดเม็ดของหลายบริษัท เนื่องจากปริมาณตัวยาที่มีมาก การตอกจึงต้อง

ใช้แรงอั ดสูง ยาจะเคลือบกระเพาะได้ดี เมื่อยาเม็ดนั้นถูกย่อยเป็นอนุภาคเล็ก ๆ จึงต้องใช้

การเคี้ยวเข้ามาช่วย อย่างไรก็ตามควรบดในภาชนะรองรับที่ไม่เปื่อยยุ่ย และสามารถเท

ออกได้ง่าย หรือหากบดในโกร่งสามารถใช้น้ําช่วยเจือจางยา และรับประทานจนหมด หาก

มีปัญหาว่าอาจไม่สามารถใช้ยาตามวิธีที่แพทย์สั่งได้ ให้แจ้งแพทย์/เภสัชกร เพื่อการจัดการ

ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย

กลืนยาเม็ดไม่ได้ใช้ละลายน้ำได้ไหม

ต้องบอกว่าทั้ง ได้และไม่ได้ เพราะว่ายาบางชนิดเมื่อมีการทําให้รูปแบบยา

เปลี่ยนไปอาจส่งผลทําให้ยาดังกล่าวเสื่อมสภาพเมื่อเจอสภาวะกรดในกระเพาะ เช่น ยาโอ

มิพราโซล จึงอาจทําให้ยาดังกล่าวนั้นไม่ให้ประสิทธิภาพในการรักษาเท่าที่ควร หรือยาบาง

ชนิดที่ค่อย ๆ ปลดปล่อยตัวยา โดยมากมักรับประทานวันละครั้ง เช่น ยากันชัก เมื่อนําไป

ละลายน้ํา พบว่าทําให้รูปแบบการออกฤทธิ์ยาเสียไปจึงทําให้ยาถูกปลดปล่อยออกมามาก

เกินไปจนอาจทําให้เกิดระดับยาสูงเกินหรือเป็นพิษ และไม่สามารถควบคุมอาการ ชักได้

ตามระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้ นเมื่อท่านไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ สามารถสอบถามวิธี

รับประทานยาที่ถูกต้อง หรือแจ้งแพทย์ เภสัชกร เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบยาให้เหมาะสม

สอดคล้องกับความต้องการ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อาชีพยาม ยาก่อนนอนกินอย่างไร หรือยาหลังอาหารทานอย่างไร

อาชีพยามจัดเป็นอาชีพหนึ่งที่พบว่ามีปัญหากับการรับประทานยาเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะยามที่ต้องอยู่เวรตอนกลางคืน ดังนั้นเมื่อถามว่ายาที่รับประทานตอนกลางคืน

นั้นจะต้องรับประทานอย่างไร พบว่ายาที่แพทย์สั่งให้รับประทา นตอนก่อนนอนตอน

กลางคืน ส่วนใหญ่นั้นพบว่าเป็นการสั่งเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยา เช่น ยาที่รับประทาน

แล้วทําให้ง่วงซึม จึงให้รับประทานก่อนนอนเพราะฉะนั้นยาที่ทําให้เกิดอาการง่วงซึมนั้น ถ้า

รับประทานตอนเริ่มทํางานก็อาจจะทําให้เป็นปัญหาในการทํางานได้ เช่น การทํางานกับ

เครื่องจักร การขับขี่ยานพาหนะ หรือโดยเฉพาะอาชีพยามนั้นอาจทําให้หลับยามได้ เป็น

ต้น เพราะฉะนั้นถ้ายาตัวใดที่ให้รับประทานก่อนนอนเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยาที่อาจ

เกิดกับผู้ป่วย ยากลุ่มนั้นควรรับประทานก่อนจะนอนหลับจริงๆ ตามแบบแผนแต่ละบุคคล

หากยามออกเวรตอนเช้า ก็อาจปรั บเวลายาก่อนนอนมารับประทานตอนเช้า สําหรับ

ประเด็นอื่นก็อาจจะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของยาหรือเพื่อเพิ่มความร่วมมือใน

การใช้ยาของผู้ป่วย ยากลุ่มนี้อาจจําเป็นต้องกําหนดเวลารับประทานที่ชัดเจนของการ

รับประทานยาก่อนนอน เช่น หนึ่งทุ่มหรือสองทุ่ม เป็นต้น กล่าวโด ยสรุป หากรับประทาน

ก่อนนอนวันละครั้ง ให้ถามแพทย์ หรือเภสัชกรว่าเหตุผลคืออะไร เช่น ทําให้ง่วงนอน ก็

ปรับตามเวลาที่ว่า หรือเป็นเวลาที่เหมาะสําหรับรับประทานยาประเภทนั้น ๆ ก็

รับประทานตามเวลานั้น แต่หากให้วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร และก่อนนอน เช่นนี้ไม่น่า


เกี่ยวข้องกับ การที่ยาทําให้ง่วง สามารถกําหนดตารางเวลารับประทานเป็นทุก 6 ชั่วโมงได้

และปรับให้สอดคล้องกับความสะดวก

สําหรับประเด็นในเรื่องของการรับประทานยาก่อนและหลังอาหารก็พบว่าจะ

คล้ายกับยาที่รับประทานก่อนนอนคือยาที่แพทย์สั่งให้รับประทานก่อนและหลังอาหาร

เพราะว่าเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยาหรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ยกตัวอย่าง

ยาลดน้ําตาลในเลือด อาจมีทั้งก่อน และหลังอาหาร เช่น กลัยพิไซด์ ให้รับประทานก่อน

อาหารเพื่อหวังผลให้ยาไปลดระดับน้ําตาลหลังรับประทานอาหาร หรือยาเมทฟอร์มิน ให้

รับประทานหลังอาหารเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยา เป็นต้น ดังนั้นยาในกลุ่มดังกล่าวควร

ใช้มื้ออาหารมาเป็นข้อกําหนดในการรับประทานยาจะดีที่สุด แต่หากไม่สามารถใช้มื้อ

อาหารมากําหนดระยะเวลารับประทานได้สม่ําเสมอ หรือชัดเจน อาจกำหนดระยะเวลา

ทุก 6 หรือ 8 ชั่วโมงได้ แทนการรับประทานยาวันละ 4 หรือ 3 ครั้งตามลำดับ

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จะรู้ได้อย่างไรว่า ยาตัวไหนหักแบ่งได้ หรือไม่ได้ หรือบดได้ไหม

โดยส่วนใหญ่ไม่แนะนําให้หักยาหรือบดยา เพราะยาอาจเสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้นทั้ง

จากแสงและความชื้น นอกจากนี้การหักแบ่งยา ยังทําให้ได้รับยาในขนาดที่ไม่เท่ากันในแต่

ละครั้งได้ อย่างไรก็ตามมียาบางประเภทที่ห้ามบด ห้ามแบ่งโดยเป็นยาที่อยู่ในรูปแบบออก

ฤทธิ์นานหรือค่อย ๆ ปลดปล่อยตัวยา ข้อสังเกตของยากลุ่มนี้ก็คือ มักจะมีสัญลักษณ์เป็น

ตัวอักษร Modified release (MR), extended release (ER), Sustained release

(SR), Controlled-release (CR) ด้านหลังชื่อยา เป็นสิ่งบ่งบอกว่ายาดังกล่าวอยู่ในรูปที่

ค่อย ๆ ปลดปล่อยตัวยา ยากลุ่มนี้ได้รับการผลิตขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการรับประทาน

ของผู้ป่วยโดยลดจํานวนครั้งต่อวันที่ต้องรับประทานยา เช่น ปกติต้องรับประทาน 3 มื้อ ก็

ลดลงเหลือมื้อเดียวต่อวัน แต่ให้ผลการรักษาเทียบเท่ากัน เป็นต้น หรืออยู่ในรูปแบบที่

พร้อมละลายทันทีเช่นยาทางจิตเวช ดังนั้น หากบดหรือหักยาอาจทําให้การปลดปล่อยยา

เปลี่ยนแปลง ยาจะไม่อยู่ในรูปค่อย ๆ ปลดปล่อย แต่จะออกมาในครั้งเดียว ส่งผลให้ผู้ป่วย

อาจได้รับยามากเกินไปในครั้งเดียว มีผลกระทบต่อการรักษาและเป็นอันตราย หรือยาอาจ

ชื้นไม่ได้ผล อย่างไรก็ตามยาในรูปแบบนี้บางตัวก็สามารถหักแบ่งได้ เช่น ยา Theo-dur SR

200 mg สามารถแบ่งครึ่งเม็ดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการในการผลิตยาแต่ละตัว เภสัชกร

จะเป็นผู้ให้ข้อมูลว่ายารายการใดห้ามหักแบ่ง หรือห้ามบด หรือห้ามละลายน้ําก่อน

รับประทาน หากไม่มั่นใจจึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เข็มอินซูลิน จะต้องเปลี่ยนเข็มทุกครั้งหรือไม่ หรือหลังจากใช้ไปกี่ครั้ง

ตามคําแนะนําของสมาคมโรคเบาหวาน สหรัฐอเมริกา แนะน าการใช้เข็มจาก

กระบอกฉีกอินซูลินชนิดใช้ครั้งเดียว และจากชนิดปากกา เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดย

การนําเข็มกลับมาใช้ใหม่ทําให้เกิดความไม่แน่นอนของการไม่ปราศจ ากเชื้อ ซึ่งอาจจะเพิ่ม

ความเสี่ยงของการเกิดติดเชื้อได้มากขึ้น โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีการดูแลความสะอาดไม่ดี

พอ หากจะแนะนําให้ผู้ป่วยใช้เข็มมากกว่าหนึ่งครั้ง สิ่งที่เน้นคือ

1. ให้ทําความสะอาดบริเวณที่จะฉีดเป็นอย่างดี

2. หลังจากฉีดให้ใช้สําลีชุบน้ําเช็ดโดยรอบเข็มเบา ๆ

3. เมื่อใช้เสร็จแล้วหลังทําความสะอาดก็ควรปิดฝาเข็มทันที

4. ไม่ควรใช้เข็มเมื่อเข็มทื่อหรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเข็ม และเข็มมีการ

สัมผัสที่อื่นนอกจากผิวหนัง

5. สมาคมโรคเบาหวานสหรัฐอเมริกา ไม่แนะนําให้ทําความสะอาดเข็มด้วย

แอลกอฮอล์เนื่องจากจะทําให้ซิลิโคน ที่เคลือบไว้หลุดออกซึ่งทําให้เจ็บเวลาฉีดยา

และทําให้เข็มปนเปื้อน
 
ที่สําคัญห้ามใช้เข็มร่วมกับคนอื่น ๆ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่ถ่ายทอดทางเลือดได้


เช่น ตับอักเสบ เอดส์

ยาฉีดอินซูลิน หลังฉีดต้องนวดหรือไม่

ยาฉีดอินซูลิน หลังฉีดไม่ต้องนวดบริเวณที่ฉีด เพราะทําให้ยาดูดซึมเร็ว อาจส่งผลให้คนไข้

เกิดภาวะน้ําตาลต่ําได้ไวขึ้น และอินซูลิน บางขนานอาจสูญเสียคุณสมบัติของ ตัวอินซูลิน

ที่ต้องการให้ ค่อย ๆ ปลดปล่อย ตัวยา และควร เปลี่ยนที่ฉีดสลับไป มาเพื่อป้องกัน

การสลายของไขมันบริเวณโดยรอบตําแหน่งที่ฉีด

พาราเซตะมอลจากฉลากยาที่บอกว่ารับประทานเมื่อมีอาการ จะรับประทานอย่างไร

พาราเซตะมอล เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการปวด หรือมีไข้ ไม่ควร

ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 10 วัน ขนาดยา พาราเซตะมอล สําหรับผู้ใหญ่คือไม่

เกิน 4 กรัมต่อวัน หรือเมื่อคิดตามน้ําหนักตัว 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม

และไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง พาราเซตะมอลชนิดเม็ดทั้งที่มีในโรงพยาบาลหรือร้าน
 
ยา ส่วนใหญ่มีขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ดังนั้นผู้ ใหญ่จึงไม่ควรรับประทาน พาราเซตะ

มอล เกินกว่าครั้งละ 2 เม็ดและไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน สําหรับผู้หญิงที่มีรูปร่างเล็กน้ําหนัก

น้อยกว่า 50 กิโลกรัม อาจรับประทานเพียงครั้งละ 1 เม็ด 500 มิลลิกรัมก็เพียงพอ

บางครั้งจะเห็นบนฉลากยาเขียนว่า รับประทานครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง หาก

รับประทานตามฉลากยาอาจรับประทาน 8 – 12 เม็ดต่อวัน ซึ่ง 12 เม็ดจะเกินกว่าที่

แนะนํา (ไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน) ดังนั้นฉลากยาควรระบุให้ชัดเจนเลยว่า รับประทานครั้งละ

2 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง ติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หากรับประทานติดต่อกันนานๆ อาจเกิด

อันตรายจากการใช้ยาพาราเซตะมอล ที่พบได้มากที่สุด คือ พิษต่อตับ ทําให้ตับวาย
 

ตอนพ่นยามีความรู้สึกพ่นยาไม่เข้า หรือขนาดยาน้อยไป จะเพิ่มซ้ำได้หรือไม่

หากพ่นยาแล้วรู้สึกพ่นไม่เข้า หรือขนาดยาน้อย ไม่ควรเพิ่มซ้ําขนาดยาเองควรใช้

ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะการพ่นซ้ําอาจได้รับยา เกินขนาด อย่างไรก็ตามให้

พิจารณา หากเกิดอาการจับหืดรุนแรงหลังพ่นยา ก็สามารถที่จะพ่นเพิ่มได้ในขนาดที่แพทย์

สั่ง แต่หากไม่ดีขึ้น ให้รีบกลับไปโรงพยาบาล แนวทางแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้พ่นยาใน

ขนาดที่น้อยคือ ก่อนพ่นยาให้หายใจออกทางปากให้สุด เพื่อที่จะมีแรงในการสูดยาเข้า

ไปได้เพิ่มขึ้น

หลังพ่นยาบรรเทาอาการโรคหืด หากไม่บ้วนปากจะได้หรือไม่

ตัวยาพ่นมี 2 ประเภท คือแบบที่เป็นแบบสเตียรอยด์ และไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่ง

ผลข้างเคียงของยากลุ่มสเตียรอยด์ เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดการสะสมของยาบริเวณกระพุ้ง

แก้มหรือตามส่วนต่างๆ ในปาก ทําให้เกิด เชื้อราในปากได้จึงแนะนําให้บ้วนปากทุก

ครั้งหลังจากพ่นยา ในเด็กเล็กหากไม่ สามารถบ้วนปากได้แนะนําให้ดื่มน้ําตามหลังจากพ่นยาแล้ว

หากพ่นยาผ่านกระบอกยาควร ใช้ผ้าชุบน้ําเช็ดบริเวณใบหน้าตรงส่วนที่กระบอกยาครอบอยู่ด้วย

เพราะได้รับการสัมผัสยา ดังนั้นในทางปฏิบัติหากไม่สามารถระบุได้ว่ายาสูด ที่ใช้มีสเตียรอยด์

หรือไม่ หลังจากพ่น เรียบร้อยแล้ว และอาการจับหืดดีขึ้น ก็สามารถอมน้ําบ้วนปากได้


ยาเม็ดแบ่งครึ่ง รับประทาน เช้า-เย็น จะรับประทานครั้งเดียว 1 เม็ดตอนเช้า

ไม่ได้ครับ เนื่องจากอาจได้รับยาในขนาดที่มากไปในมื้อใดมื้อหนึ่ง และอีกมื้อ

ไม่ได้รับยา การที่ได้รับยาครึ่งเม็ดนั้น แพทย์ได้คํานวณแล้วครับว่าเป็นขนาดที่เหมาะสมใน

การรักษา หรือเป็นไปตามน้ําหนั กของผู้ป่วยครับ ส่วนการแบ่งใ ห้รับประทานเช้า -เย็น

เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ ยาตัวนั้นจะออกฤทธิ์ต่อเนื่อง เพราะหากรับประทานวันละครั้ง

อาจไม่สามารถควบคุมอาการในช่วงท้ายของวัน หรือในเวลากลางคืนครับ อย่างไรก็ตาม มี

ยาบางประเภท แพทย์สั่ง 1 เม็ด แต่ดูว่าเม็ดใหญ่กลืนลําบาก ผู้ป่วยจึงใช้มีดแบ่ง ซึ่งยาบาง

รายการก็ทําเช่นนี้ไม่ได้ เพราะมีผลทําลายรูปแบบยาที่เหมาะสม เนื่องจากยาบางรายการ

ต้องการให้ไปดูดซึมที่ลําใส้เล็กส่วนต้น การแบ่งครึ่งทําให้ยาไปแตกตัวที่กระเพาะอาหาร

แทน ซึ่งยาอาจไม่ทนกรดในกระเพาะอาหารก็ได้

ถ้าลืมรับประทานยาก่อนนอนบ่อย ๆ จะเลื่อนมาเป็นหลังมื้อเย็นได้หรือไม่

ยาหลายขนานเหมือนมีจังหวะเวลาของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ บาง

ขนานจะให้ผลดีต้องรับประทานก่อนนอน เพราะในขณะที่นอนหลับอาจมีการหลั่งฮอร์โมน

ที่ส่งผลต่อการดูดซึมยา ช่วยเพิ่มประสิทธิภา พของยา หรือเหตุผลอื่น ๆ ยาลด

โคเลสเตอรอล กลุ่มสตาติน เช่น ซิมวาสตาติน โลวาสตาติน มักแนะนําหรือสั่งให้

รับประทานวันละครั้งก่อนนอน กล่าวคือในระหว่างที่เรานอน ตับจะทําการผลิต

โคเลสเตอรอลจํานวนมากเข้าสู่ กระแสเลือด เรียกว่าปั๊มกันทั้งคืน การรับประทานยาลด
 
ไขมันก่อนนอน จึงเป็นการให้ยาไปออกฤทธิ์ได้ตรงจุดคือ ไปลดการสร้างโคเลสเตอรอล

โดยตรง การเลื่อนยามารับประทานหลังมื้อเย็น อาจทําให้ยาได้ผลไม่เต็มที่ แต่ยาในกลุ่มนี้

บางขนานก็ไม่ได้แนะนําให้รับประทานก่อนนอน เนื่องจากระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาที่

ยาวตลอดทั้งวัน เช่น โลซูวาสตาติน พราวาสตาติน นอกจากนี้ หากเป็นยาที่ต้อง

รับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร และก่อนนอน การเลื่อนเวลาก่อนนอน มาใกล้มื้อเย็น

ก็จะทําให้ได้รับยาเพิ่มเป็น 2 เท่า ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

ลืมรับประทานยา จะต้องทำอย่างไร

การลืมรับประทานยา จะมีหลักการบางอย่างที่แตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มยา

แต่หลักการกว้าง ๆ คือ หากลืมรับประทานยามื้อเช้าตอน 8.00 น. มื้ดถัดไปเป็นตอน

12.00 น. มานึกได้ก่อน 10.00 น. ก็สามารถรับประทานได้ทันทีในขนาดเท่าเดิม แต่หาก

นึกได้หลัง 10.00 น. หรือใกล้เที่ยงก็ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และเริ่มมื้อเที่ยงโดยที่ไม่ต้องเพิ่ม

ขนาดยาเป็น 2 เท่า เช่นเดียวกันกับการลืมมื้ออื่น ๆ สําหรับยาบางชนิดที่ให้ทุกรอบ

ระยะเวลา เช่น ทุก 4 ชั่วโมง ทุก 6 ชั่วโมง หากลืมโดยที่ระยะเวลาที่เหลือสําหรับมื้อถัดไป

มากกว่าครึ่งหนึ่งก็รับประทานเหมือนที่กล่าวข้างต้น แต่หากเหลือเวลาเพียง 1 ชั่วโมง และ

อยากได้ยาครบ อาจรับประทานทันทีที่นึกได้ และกําหนดเวลาทุก 4 หรือทุก 6 ชั่วโมงใหม่

โดยนับจากเวลาที่รับประทานครั้งหลังสุด

รับประทานก่อน /หลังอาหาร หากงดอาหารมื้อนั้น จะต้องรับประทานยา

ปัญหานี้จะพบมากในมื้อเช้า เนื่องจากคนเมือง หรือปัจจุบัน ชาวนาชาวไร่ ที่

ออกไปทํางานแต่เช้า มักจะไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ในกรณียาก่อนอาหารไม่เป็นไร

สามารถรับประทานได้เลย และดื่มน้ําตามพอควร สําหรับยาหลังอาหาร หากเป็นตัวยาที่ไม่

ระคายกระเพาะ ไม่ใช่ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ ก็สามารถที่จะรับประทานได้เลยเช่นกัน แต่

ถ้ารับประทานร่วมกับยาก่อนอาหาร ให้ทิ้งเวลาห่างจากยาก่อนอาหารสักครึ่งชั่วโมง เพราะ

ไม่มั่นใจว่ายาที่กินอยู่นั้นจะตีกันหรือเปล่า หลักการนี้ก็ใช้กับยาที่ต้องให้มื้ออื่นๆ แต่ต้องงด

เหมือนกัน กล่าวคืองด อาหารได้ แต่ห้ามงดยาครับ อย่างไรก็ตามยาหลังอาหาร อาจหา

อะไรรองท้องสักเล็กน้อยเช่น ขนมทุกประเภท หรือน้ําเต้าหู้ จากนั้น จึงรับประทานยา ก็

อาจลดผลข้างเคียงจากยาลงได้ครับ ที่สําคัญดื่มน้ําตามมากๆ หลักการนี้ใช้กับยามื้อเย็น

ของพระสงฆ์ด้วยเช่นกัน