Medtang

Custom Search

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

“รับประทานยานี้แล้ว ระวังแสงแดด” จะต้องระวังนานเท่าไร และจะออกจากบ้านได้หรือไม่ หากออกจากบ้านจะเกิดอะไรขึ้น

 ยาบางชนิดเมื่อประทานแล้วจะมีคำเตือนให้ระวังแสงแดด เนื่องจากยามีผลทำให้ผิวหนังมีความไวต่อรังสียูวี หรือ แสงอาทิตย์มากกว่าปกติ ตัวอย่าง ดังกล่าว เช่น ยารักษาสิวไอโสเตตริโนอิน (Isotretinoin) ยาปฏชิวีนะในกลุ่มเตตราไซคลิน (ที่ชาวบ้านคุ้นเคยยายาออริโอหรือยาแก้อักเสบเม็ดสีเหลืองส้ม) ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน ที่ใช้บ่อยเป็นยาแก้ท้องเสียทที่เรียกว่า นอร์ฟลอกซาซิน หรือยาขับปัสสาวะบางชนิด เป็นต้น

 ซึ่งหากรับประทานยากลุ่มเหล่านี้ลงไป เวลาที่ออกจากบ้าน ไม่ได้ป้องกัน แสงแดด (ก็บ้านเราแทบจะไม่มีมั๊งที่ที่ไม่มีแสงแดดน่ะ) ก็อาจจะทำให้เกิด อาการที่เรียกว่า ความไวต่อแสง(photosensitivity) ซึ่งหมายถึงปฏิกิริยา ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสรังรีอัลตร้าไวโอเลต แล้วทำให้มีการแดงของผิวหนัง และเกิดการอักเสบขึ้น ความรุนแรงของอาการไวต่อแสงนั้น จะสัมพันธ์กับขนาดหรือปริมาณของสารที่ทำให้เกิดความไวต่อแสง และความเข้มข้นของแสงแดดที่ได้สัมผัสคือถ้าปริมาณของสารที่ทำให้เกิดความไวต่อแสงมาก ความรุนแรงก็จะมากหรือถ้าความเข้มข้นของแสงแดดมาก ความรุนแรงของ ความไวแสงก็จะมากขึ้นเช่นกัน 

ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ หากใช้ยาดังกล่าวแล้ว มีอาการแพ้แสง หากสามารถทำได้ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยานั้น แต่หากมี ความจำเป็นต้องใช้ยา ระหว่างการใช้ยาดังกล่าวก็ควรจะหลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์ ให้มากที่สุด เวลาออกจากบ้านควรสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและใช้ผลิตภัณฑ์ทากันแดด (ค่าเอสพีเอฟตั้งแต่15ขึ้นไป นอกจากนี้การรับประทานอาหาร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ(antioxidants) เช่น สารพวกไบโอฟลาโวนอยด์จากผักผลไม้ หรือพวกวิตามินเอ,ซี หรืออี ก็จะช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ที่จะทำอันตรายต่อผิวได้