Medtang

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคประจำตัว มีผลต่อยาที่ต้องใช้อย่างไร

ทุกครั้งที่ท่านมารับบริการจากสถานพยาบาลหรือร้านยา มักจะเจอคำถาม “มีโรคประจำตัวหรือไม่” เหตุที่ต้องสอบถามเรื่องโรคประจำตัวนั้น เนื่องจากยาบางชนิดมีผลทำให้โรคประจำตัวกำเริบ เช่น ในคนที่เป็นหอบหืด แล้วได้รับยาลดความดันกลุ่มยาต้านเบต้า เช่น โพรพาโนลอล ซึ่งมีฤทธิ์ปิดกั้นหลอดลม จึงทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ หรือแม้แต่การได้รับยาแอสไพริน ก็มีรายงานว่าทำให้หอบหืด กำเริบเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นข้อห้ามใช้ของยากลุ่มนี้ในคนที่เป็นหอบหืด แพทย์จะเปลี่ยนไปเลือกใช้ยากลุ่มอื่นที่ไม่มีผลต่อการหดตัวของหลอดลม หรือคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หากได้รับยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก หลายขนาน ซึ่งยามีผลข้างเคียงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ก็อาจทำให้โรคกระเพาะอาหารกำเริบ มีอาการปวดท้องเพิ่มขึ้น หรือเป็นเรื้อรังได้ หรือหากป่วยเป็นโรคไต การได้รับยาต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น อาจต้องเลี่ยง หรือปรับลดขนาด หรือต้องมีการติดตามความปลอดภัยอย่างชัดเจน เช่นผู้ป่วยโรคไต อาจเกิดอันตรายจากการฉีดสารทึบรังสีได้ง่ายกว่าผู้ป่วยทั่วไปที่มีโรคไต เป็นต้น

หากใช้ยาชุด จะต้องขอข้อมูลผู้ขายหรือไม่ อย่างไร

การไปซื้อยาชุด โดยเฉพาะยาชุดแก้ปวดเมื่อย (ส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยยาหลายชนิดเช่น ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาพวกสเตียรอยด์) มารับประทานเองนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยควรขอข้อมูลชื่อยาจากผู้ขาย (คงไม่ใช่เภสัชกร) เนื่องจากหากผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาเกิดขึ้นหลังจากรับประทานยาชุดเหล่านั้นไปแล้ว เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือเภสัชกรพร้อมกับข้อมูลชื่อยาที่เป็นส่วนประกอบในยาชุดก็จะทำให้สามารถระบุได้ว่ายาใดน่าจะเป็นสาเหตุของการแพ้ยาดังกล่าว แต่เชื่อเถอะครับ ร้อยทั้งร้อยไม่ได้ขอ และขอก็ไม่ได้ ในทางกลับกันหากไม่มีข้อมูลใดเลยทราบแต่เพียงว่าผู้ป่วยรับประทานยาชุด แพทย์หรือเภสัชกรก็จะไม่สามารถระบุหรือแม้แต่จะสงสัยว่ายาใดที่เป็นสาเหตุของการแพ้ ก็แค่รักษาตามอาการไป ให้คำเตือน แต่วันดีคืนดีผู้ป่วยไปซื้อยาชุดมารับประทานอีก (อาจเป็นร้านใหม่หรือร้านเดิม) แล้วในยาชุดนั้นมียาตัวหนึ่งที่ผู้ป่วยแพ้แต่เราไม่ทราบในครั้งแรก ผู้ป่วยก็จะเกิดการแพ้ยาซ้ำซึ่งมักจะรุนแรงกว่าการแพ้ยาในครั้งแรกอาจถึงชีวิตได้ ขายยาชุดที่มีสเตียรอยด์ผิดกฎหมายนะครับ สามารถแจ้งตำรวจหรือกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคเอาผิดผู้ขายได้


ดังนั้นข้อเสนอแนะคือ หลีกเลี่ยงการหาซื้อยาชุดมารับประทาน เพราะว่าจะได้รับยาที่ไม่จำเป็น ไม่เกี่ยวข้องกับโรคหรืออาการโดยตรงปนเปเข้ามา ที่สำคัญคือมักมีการใส่ยาพวกสเตียรอยด์ ซึ่งมีชื่อว่า เพรดนิโซโลน และเด๊กซ่าเมธาโซน ยากลุ่มนี้เป็นยาบดบังอาการ รับประทานระยะแรก ๆ อาจรู้สึกดี แต่เป็นยาที่มีความเป็นพิษสูง เช่น กระเพาะอาหารทะลุ กระดูกผุ บวมน้ำ เกิดการสะสมของไขมัน โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ น้ำตาลในเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค โรคจิต หวาดระแวง เพิ่มความดันลูกตา ทำให้เป็นต้อหิน ต้อกระจก และหากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้ตาบอดได้เช่นกัน เป็นต้น วิธีป้องกันง่าย ๆ คือเข้าร้านยาเมื่อใด เรียกหาเภสัชกร บอกเล่าอาการที่มาในวันนี้ ระบุว่าไม่ต้องการยาชุด และหากเคยแพ้ยา แพ้อาหารอะไรต้องแจ้ง หากไม่เข้าใจควรซักถามข้อมูลเพื่อความกระจ่าง

“ยาชุดทุกประเภท ล้วนก่อเหตุรุนแรง

โทษร้ายที่แอบแฝง เหมือนแมลงชอนไช

เริ่มจากหวาดวิตก ราวนรกหมกไหม้

กระดูกผุก่อนวัย หัวใจเหมือนรัวกลอง

ทั้งเสี่ยงต่อเบาหวาน หน้าบานใหญ่กว่าจ้อง

ต้อหินยิ่งหินกอง เลือดนองกระเพาะผุ

อาจแพ้จนถึงตาย ผิวกายก็เกรียมคุ

ใครขายจับเข้ากรุ ล่วงลุชดใช้กรรม”

แพ้ยาเกิดจากความบกพร่องของโรงพยาบาลหรือไม่

มีความแตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำ 2 คำด้วยกัน คือ การแพ้ยาและอาการข้างเคียงของยา ซึ่งการแพ้ยาเช่น ช็อค หมดสติเฉียบพลัน แพ้ยาทางผิวหนังรุนแรงที่เรียกว่า กลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน เป็นต้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่ามันจะเกิด กรณีนี้จะไม่เกี่ยวของกับกลไกการออกฤทธิ์ของยาโดยตรง ส่วนอาการข้างเคียงจากยานั้นเป็นสิ่งที่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอาจจะเกิดเนื่องจากเราทราบว่ายาจะไปมีผลต่ออะไรบ้าง หรือไปทำงานอย่างไร หรือกล่าวได้ว่ามีความสัมพันธ์กับกลไกการออกฤทธิ์ของยา เช่น ง่วงนอนจากยาแก้แพ้/ยาทางจิตเวช ใจสั่น ไอ มึนงงจากยาลดความดัน เบื่ออาหาร คลื่นใส้ จากยาหลายรายการ เป็นต้น เพราะฉะนั้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีการแพ้ยาเกิดขึ้นในครั้งแรกมันก็เป็นสิ่งที่เราไม่ได้จงใจให้มันเกิดขึ้น ไม่มีใครทราบเลยว่ายาตัวนี้ถ้าใครรับประทานเข้าไปแล้วจะมีอาการแพ้เกิดขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการตอบสนองต่อยานั้นๆ แตกต่างกันเพราะฉะนั้นในการแพ้ยาครั้งแรกจึงถือว่าไม่ใช่ความผิดหรือความบกพร่องของโรงพยาบาล ในขณะเดียวกันหากผู้ป่วยมีประวัติเคยแพ้ยามาก่อนและโรงพยาบาลก็มีข้อมูลการแพ้ยาของผู้ป่วยอยู่แล้ว หากมีการสั่งใช้ยาดังกล่าวแล้วเกิดการแพ้เกิดขึ้น จะเรียกว่าแพ้ยาซ้ำ อันนี้ถือว่าเป็นความคลาดเคลื่อนหรือบกพร่องของโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยามาก่อน ไม่ได้เป็นผู้รับบริการเดิม เมื่อมารับบริการก็ไม่ได้แจ้งให้ทางโรงพยาบาลทราบ เมื่อมีการใช้ยาดังกล่าว แล้วเกิดการแพ้ซ้ำขึ้น ก็ต้องนับว่าโรงพยาบาลอาจปฏิบัติงานคลาดเคลื่อนที่ไม่มีการสอบถามผู้ป่วยทุกครั้งที่มารับบริการ และเช่นเดียวกันผู้รับบริการเองก็ไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจึงไม่ได้แจ้งทางโรงพยาบาล อันนี้ก็คงต้องว่าไปตามข้อมูลแต่ละครั้ง เห็นด้วยแล้วใช่ไหมครับว่า เมื่อไปรับบริการด้านการรักษาพยาบาล ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ควรนำบัตรแพ้ยาติดตัวไปด้วย พร้อมกับแจ้งแพทย์ทุกครั้งด้วยหากสามารถทำได้ เพราะพึงระลึกเสมอว่า “แพ้ยาซ้ำ อาจตายได้”

ทำไม ต้องถามเรื่องแพ้ยาทุกครั้ง

เรื่องแพ้ยา บ่อยครั้งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และหากผู้ป่วยเคยได้รับยาขนานใด ขนานหนึ่งแล้วแพ้รุนแรง เป็นผลให้ต้องกลับมารับการรักษาในโรงพยาบาล หากได้รับยาดังกล่าวซ้ำเข้าไปเมื่อรับการรักษาในครั้งใหม่ อาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงตายได้ บุคลากรการแพทย์จึงจำเป็นที่จะต้องถามเรื่องแพ้ยาทุกครั้ง เพราะกลัวการแพ้ยาซ้ำ และหากจำไม่ได้ ควรนำบัตรแพ้ยาติดตัว ใส่ในกระเป๋าเงิน หรือสิ่งที่ถือเป็นประจำ เพื่อเป็นการส่งต่อข้อมูลให้บุคลากรการแพทย์ มีบางรายไปโรงพยาบาลในขณะที่ไม่รู้สึกตัว แพทย์มีความจำเป็นที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ ปรากฎว่าผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาดังกล่าวซ้ำ เนื่องจากบุคลากรการแพทย์ไม่ได้รับข้อมูล หรือไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล การพกบัตรติดตัว ก็อาจเป็นการส่งต่อข้อมูลให้หมอได้ เพื่อความปลอดภัยตนเอง ดังนั้นคราวนี้ถ้าแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาลสอบถามว่าเคยแพ้ยาอะไร เราก็จะได้ตอบอย่างไม่หงุดหงิดว่า แพ้ยาหรือไม่แพ้ยา เพราะคุณหมอเหล่านั้นคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเรานั่นเอง

หากมีคำเตือนว่า อาจเป็นพิษต่อตับและไต หมายความว่าอย่างไร

กรณีที่ยานั้นมีคำเตือนว่าอาจเป็นพิษต่อตับและไต นั้นหมายถึง ยาตัวนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจมีพิษต่อตับหรือไต แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในผู้ป่วยทุกรายที่มีการใช้ยาเหล่านั้น และยาเหล่านั้นหากพิจารณาเปรียบเทียบแล้วพบว่ามีผลดีจากยามากกว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องพิจารณาใช้ (แพทย์และเภสัชกรจะเป็นผู้พิจารณา) และอาจมีการสั่งตรวจการทำหน้าที่ของตับ และไต เพื่อติดตามความปลอดภัย 

อย่างไรก็ตามการใช้ยาเหล่านั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นพิษต่อตับหรือไตในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องเช่น ไตวายเรื้อรัง หรือตับมีการถูกทำลายอยู่แล้วเช่นผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งจากการดื่มสุราหรือเป็นไวรัสตับอักเสบ ก็จะต้องระมัดระวังการใช้ยาเป็นพิเศษโดยอาจจะมีการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย 

ดังนั้นผู้ป่วยควรแจ้งประวัติการเป็นโรคประจำตัวให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง

อาการแพ้อาหารจะเป็นอย่างไร เหมือนการแพ้ยาหรือไม่

การแพ้ไม่ว่าจะแพ้อะไร ก็จะปรากฏอาการไม่แตกต่างกัน ขึ้นกับการตอบสนองของร่างกายและประเภทของสารเคมี การแพ้อาหาร และยา ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ร่างกายเกิดปฏิกริยาตอบสนองต่อสารเคมีในอาหารและยา ถ้าเป็นสารเคมีเดียวกัน ในคนเดียวกัน อาการแพ้ย่อมไม่ต่างกัน และไม่จำเป็นว่าจะเกิดกับอวัยวะใด อวัยวะหนึ่ง เช่น
ปาก: เริ่มตั้งแต่ปากคัน ร้อน ริมฝีปากหรือลิ้นบวม
ผิวหนัง: เกิดลมพิษ ผื่นคัน บวมบริเวณใบหน้า แขนขา
กระเพาะอาหาร: คลื่นไส้ ตะคริวบริเวณท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง
ลำคอ: คอตีบ ระคาย คันคอยิบ ๆ หรือไอ
ปอด: หายใจสั้น ๆ ไอซ้ำๆ มีเสียงหวีด
หัวใจ: ชีพจรอ่อน ความดันโลหิตต่ำ เป็นลม ซีด หรือตัวเขียวคล้ำ
ดังนั้นหากรับประทานยา แล้วเกิดอาการที่ผิดปกติ ให้ลองหาสาเหตุว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วยหรือไม่ แต่หากพบว่าน่าจะเกิดจากยา ให้โทรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือโทรไปที่สถานพยาบาลที่รักษา เพื่อขอคำแนะนำ แต่หากอาการรุนแรงให้รีบนำส่งโรงพยาบาล

ข้อคิด ควรมีหมายเลขโทรศัพท์โรงพยาบาลที่รักษา หรือหน่วยบริการข้อมูลยา

หากแพ้ยาฆ่าเชื้อที่มีไอโอดีน จะรับประทานเกลือที่มีไอโอดีนได้หรือไม่

ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ทาบริเวณโดยรอบของแผล หรือทำความสะอาดผิวหนังก่อนการผ่าตัด เช่น เบตาดีน จะเป็นสารละลายของยาที่เรียกว่า โพวิโดน ไอโอดีน หากทายาดังกล่าวแล้วเกิดอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน เป็นตุ่มน้ำใส ก็อาจบอกได้ว่าแพ้ยาฆ่าเชื้อดังกล่าว แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าแพ้ไอโอดีนโดยตรง มีการศึกษาหนึ่งรายงานว่าในผู้ป่วย 10 ราย ที่แพ้ยาฆ่าเชื้อโพวิโดน ไอโอดีน มีเพียงรายเดียวที่ยืนยันโดยการทดสอบทางผิวหนังว่าเป็นการแพ้ไอโอดีนจริง นอกนั้นแพ้ส่วนประกอบที่เป็นสารละลาย/ตัวยา และยังไม่เคยมีรายงานชัดเจนมาก่อนว่ามีผู้ที่แพ้เกลือที่มีการเติมไอโอไดด์ลงไป ดังนั้นผู้ที่แพ้ยาฆ่าเชื้อโพวิโดน ไอโอดีน จึงสามารถที่จะรับประทานเกลือไอโอดีนที่มีขายกันได้

ถ้าแพ้ไอโอดีน อาการจะต่างจากแพ้อาหารทะเล อย่างไร

การแพ้ไอโอดีนพบได้น้อยอาจมีตั้งแต่คลื่นไส้จนถึงหายใจลำบาก และภาวะ ช็อคเฉียบพลัน โดยมากมักเกิดในขั้นตอนของการฉีดสารทึบแสงทีมีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ ในการถ่ายภาพรังสี อย่างไรก็ตามก็มีข้อมูลว่าการแพ้สารทึบรังสีไม่น่าจะเกิดจากการแพ้สารไอโอดีนโดยตรง แต่เป็นการแพ้ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นเกลือ หรือสีที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ แต่เป็นการยากที่จะระบุ บุคลากรการแพทย์จึงมักให้ข้อมูลผู้ป่วยว่าแพ้ไอโอดีน และเตือนห้ามรับประทานอาหารทะเล ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวข้องอีกเช่นกัน การแพ้สารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ พบอุบัติการณ์ไม่แตกต่างกันกับการแพ้สารทึบรังสีที่ไม่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ สำหรับผู้ที่แพ้อาหารทะเลมักแพ้สารที่อยู่ในเปลือกกุ้ง เช่น ไคติน หรือโปรตีนในเนื้อปลา ไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้ไอโอดีน แม้ว่าในปลา หรืออาหารทะเลจะเป็นแหล่งอาหารที่ให้ไอโอดีนสูงก็ตาม เคยมีการศึกษาพบว่า ผู้ที่แพ้อาหารทะเล มีแนวโน้มที่จะแพ้ ไอโอดีนมากกว่าคนทั่วไปร้อยละ 5 แต่ก็มีข้อมูลอีกว่าไม่ว่าจะแพ้อะไร ก็มักมีความเสี่ยงที่จะแพ้สารอื่น ๆ มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่แพ้ อย่างไรก็ตามมักมีคำเตือนว่าผู้ที่แพ้อาหารทะเลหากต้องได้รับการฉีดสารทึบรังสี ควรแจ้งแพทย์ก่อน เพื่อเพิ่มความระมัดระวัง หรืออาจจำเป็นต้องทดสอบว่าแพ้หรือไม่ กล่าวโดยสรุป อาการแพ้ไอโอดีนจริง ๆ ปัจจุบันก็ยังยืนยันว่าพบได้น้อยมาก มักเป็นการแพ้ส่วนประกอบอื่น ๆที่มีไอโอดีน แต่ไม่ได้แพ้โมเลกุลไอโอดีนเดี่ยว ๆ และการแพ้ไอโอดีน ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้อาหารทะเล หรือผู้ที่แพ้อาหารทะเล ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการที่จะแพ้ไอโอดีน

ถ้าแพ้อาหารทะเล จะแพ้ยาอะไรไหม

การแพ้อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู กั้ง หอย เกิดจากแพ้โปรตีนจากเปลือกสัตว์เหล่านั้น หรือโปรตีนที่อยู่ในเนื้อ ไม่ได้เกิดจากการแพ้ธาตุไอโอดีน การแพ้อาหารทะเลยังรวมความถึงการแพ้ปลาทะเลด้วย ซึ่งผู้ที่แพ้อาหารดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นครั้งหนึ่งควรหาสาเหตุให้ได้ว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับอาหารประเภทใด ผู้ที่แพ้อาหารทะเลประเภทปลา ก็ไม่เกี่ยวข้องกับแพ้อาหารทะเลประเภทกุ้ง ปู หอย เพราะอาจแพ้โปรตีนในกล้ามเนื้อที่ต่างประเภทกัน หรือแพ้โปรตีนในเปลือกกุ้ง ซึ่งก็ไม่พบในเนื้อปลา หรืออาจแพ้ทั้งสองประเภทร่วมกันได้ ปัจจุบันพบว่าผู้รับบริการที่มาโรงพยาบาลมีการรายงานการแพ้อาหารทะเลเพิ่มมากขึ้น และมีพบว่าเกิดการแพ้ซ้ำขึ้น สำหรับผู้ที่แพ้อาหารทะเลจึงควรระวังการใช้ยาที่ผลิตจากเปลือกของสัตว์ทะเลที่เป็นสาเหตุของการแพ้ เช่น ยากลูโคซามีน ซึ่งเป็นยารักษาข้อเข่าเสื่อม ช่วยเพิ่มน้ำในไขข้อ สกัดมาจากเปลือกสัตว์ทะเล จำพวก กุ้ง ปู จึงควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่แพ้อาหารทะเล หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ที่มักมีส่วนประกอบของเปลือกสัตว์ทะเล เช่น มีส่วนประกอบของไคโตซานซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ชีวภาพที่สกัดจากไคติน เป็นโครงสร้างของเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก เป็นต้น ในกรณีหลังค่อนข้างเป็นปัญหาเพราะปัจจุบันมีการนำไคโตซานมาใช้กว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม ในด้านการแพทย์มีการใช้ในการห้ามเลือด พลาสเตอร์ หรือเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการ “ดักจับไขมัน” ในร่างกายเพื่อลดคอเลสเตอรอล หรือใช้ในทางเกษตร เช่น เร่งการเติบโตในพืช สัตว์ ใช้เคลือบผลไม้เพื่อยืดอายุการเก็บ หรือแม้แต่ในเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามข้อมูลผู้ที่แพ้อาหารทะเล หากใช้หรือเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ไคติน-ไคโตซานจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ตามมาหรือไม่ ยังไม่มีการรายงานชัดเจน แต่อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าการแพ้อาหารทะเลไม่ได้เกิดจากการแพ้ไอโอดีน ดังนั้นยาบางตัวที่มีไอโอดีนผสมอยู่ คนที่แพ้อาหารทะเลสามารถใช้ได้ เช่น ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ (อะมิโอดาโรน) ยารักษาไทรอยด์เป็นพิษแบบรุนแรง (โพแทสเซียม ไอโอไดด์) หรือสารทึบรังสี ที่มักใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยา

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยาหยอดตา ยาป้ายตา รูปแบบใดใช้ก่อน/หลัง

ในบางกรณีผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับผลิตภัณฑ์ยาตาสำหรับการรักษาใน 2 รูปแบบ คือ ได้รับทั้งยาหยอดตาและยาป้ายตาในเวลาเดียวกัน 

จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่าแล้วอย่างนี้เวลาใช้จะเลือกยารูปแบบไหนมาใช้ก่อนดี

 คำตอบคือ ถ้าได้รับยาหยอดตาและยาป้ายตาที่ต้องใช้ในเวลาเดียวกัน ให้ใช้ยาหยอดตาก่อนยาป้ายตาเสมอ โดยเว้นระยะห่างของการใช้ประมาณ 10 นาที 

หลักการง่าย ๆ ยาป้ายตามักเป็นขี้ผึ้ง อย่างที่เราเคยเห็นคือ หากหยดน้ำลงไปในตำแหน่งที่ทาขี้ผึ้ง น้ำจะกลิ้งออกไป ไม่สามารถซึมผ่านขี้ผึ้ง หากป้ายตาก่อน ขี้ผึ้งก็จะไปเคลือบลูกตา หยอดยาตาลงไป ก็มักจะไหลออกมาทางหางตาหมด เหมือนน้ำกลิ้งบนใบบัว

ยาหยอด 2 ขนานจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องหยอดขวดไหนก่อน

ในการหยอดยาหยอดตาหลายๆชนิด อันที่จริงแล้วจะหยอดชนิดไหนก่อนก็ได้แต่ควรหยอดห่างกัน 5 นาที

 ยกเว้นในกรณีที่หยอดยาตาร่วมกับน้ำตาเทียม ควรหยอดยาชนิดอื่นก่อนน้ำตาเทียม เนื่องจากน้ำตาเทียมอาจลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ร่วมได้

 อย่างไรก็ตามหากได้ยาหยอดมา 2 ขวด ให้สอบถามแพทย์ เภสัชกร ว่าควรหยอดขวดใดก่อน เพราะบางขวดอาจเป็นยาขยายม่านตา หากหยอดก่อนอาจทำให้รู้สึกเบลอ เมื่อต้องหยอดยาตาอีกขวด

ยาป้ายตา ต้องป้ายยาวเท่าไร

การใช้ยาป้ายตาคล้ายกับการหยอด โดยให้ดึงหนังตาล่างลง บีบยาออกจากหลอดยาวประมาณครึ่งถึงหนึ่งเซนติเมตร ป้ายลงไปในกระพุ้งหนังตาล่าง ระวังอย่าให้ปลายหลอดยาแตะลูกตา หลับตา แล้วคลึงหนังตาเบา ๆหรือกรอกลูกตาไปมา เพื่อให้ยากระจายทั่วลูกตาแล้ว หลับตานิ่ง ๆ สักครู่ ถ้ายาเปื้อนภายนอกลูกตาให้ใช้สำลีหรือผ้าสะอาดเช็ดทิ้งไป

หยอดยา 1-2 หยด หยอดเกินเป็นอะไรไหม และหยอดอย่างไร

ควรใช้ยาในปริมาณตามที่แพทย์สั่ง เนื่องจากตัวยาบางชนิด เช่น ยาที่ใช้ลดความดันในตา การหยอดเกินคำสั่งแพทย์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้


การหยอดยาหยอดตาที่ถูกต้อง

1. ล้างมือให้สะอาด เช็ดหรือปล่อยให้แห้ง

2. นำยาหยอดตาออกมาจากตู้เย็น กำขวดยาหยอดตาไว้ในมือเพื่อให้ยาอุ่นขึ้น เขย่าขวดเบา ๆ

3. เปิดขวดยาหยอดตา ซึ่งปัจจุบันมักมีที่หยดสำเร็จรูป ใช้มือข้างที่ถนัดถือขวดยาหยอดตา

4. นอน หรือนั่งแหงนหน้าไปด้านหลังเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างวางตำแหน่งใต้ตา และดึงเปลือกตาล่างลงมาเล็กน้อยให้เป็นกระพุ้ง

5. บีบขวดยาตา หรือบีบหลอดหยด ให้หยดยาตามแพทย์สั่งโดยมากมักเป็น 1-2 หยด ตำแหน่งที่หยอดคือหยอดลงในหนังตาด้านในที่สีแดงๆ เวลาหยอดกะให้หยดน้ำยาตกลงมา ระหว่างหยอดต้องระวังอย่าให้ปลายของหลอดยาหยอดตาไปแตะโดนหนังตาหรือขนตา เพราะจะพาเชื้อโรคเข้าไปปนเปื้อนได้ ระวังอย่าหยอดลงบนดวงตาโดยตรง เพราะบางคนอาจจะตกใจและเจ็บได้

6. หลับตา อาจใช้สำลีสะอาดเช็ดบริเวณหางตาที่น้ำยาส่วนที่เกินไหลออกมา

7. เอียงศีรษะในท่าเดิมสักครู่

8. นอน หรือนั่งพักและหลับตาประมาณ 2-3 นาที

9. ในขณะนั้น ให้ปิดขวดยาตา หรือวานคนอื่นช่วยปิด

10. ยาที่เกินอาจไหลผ่านท่อน้ำตาลงสู่ลำคอ ทำให้รับรู้รสขมได้ ไม่ต้องตกใจ
 

หยอดยาตาแล้วไหลออก จะหยอดเพิ่มได้ไหม อย่างไร

ไม่จำเป็นต้องหยอดเพิ่ม เนื่องจากกระพุ้งของหนังตา รับยาหยอดตาได้เพียงครั้งละ 1-2 หยด ส่วนที่เกินจึงอาจจะไหลออกมา

ยาหยอดตา ต้องใช้จนหมดขวดหรือไม่

มีทั้งจำเป็นและไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามยาหยอดตาหลังเปิดใช้แล้วต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่ชั้นวางปกติ อุณหภูมิประมาณ 2-8 องศาเซลซียส หากใช้ไม่หมดภายใน 1 เดือนให้ทิ้ง แม้ว่ายาจะยังเหลืออยู่ก็ตาม เนื่องจากยาหยอดตาแม้เป็นยาใช้ภายนอก แต่กระบวนการผลิตเน้นปราศจากเชื้อ การเก็บไม่เกิน 1 เดือนก็เนื่องจากกลัวการปนเปื้อนจากการหยอด แล้วส่งผลให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อในน้ำยาหยอดตาได้ คงเคยได้ยินข่าวการติดเชื้อที่ตาหลังการผ่าตัด ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับน้ำเกลือที่ใช้ทำความสะอาดดวงตาขณะผ่าตัดอาจไม่ปราศจากเชื้อ เพราะฉะนั้นความสะอาดของยาที่ใช้กับดวงตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ยาหยอดตาที่ได้มาบางครั้งอาจไม่จาเป็นต้องหยอดต่อเนื่องจนยาหมด เช่น ยาหยอดตาสาหรับอาการระคายเคือง คันตา หรือตาอักเสบจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง โดยระยะเวลาในการใช้ยาหยอดตานั้นจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และชนิดของยา เนื่องจากยาหยอดตาบางชนิดที่ใช้ระงับอาการระคายเคือง หากใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ต้อหินหรือต้อกระจก เป็นต้น แต่ก็มียาหยอดตาหลายชนิดที่ต้องใช้ต่อเนื่องจนหมดขวด และต้องใช้เป็นประจำ เช่นยาหยอดเพื่อลดความดันตา เป็นต้น ซึ่งยาหยอดที่ต้องใช้ต่อเนื่อง 1 ขวด มักใช้หมดภายใน 1 เดือน

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยาที่เท/ตวงมาเกิน สามารถเทกลับได้หรือไม่

วิธีการที่จะลดหรือป้องกันปัญหาดังกล่าว ประการแรกขึ้นกับการเลือกอุปกรณ์ตวงยาที่สอดคล้องกับขนาดที่ต้องการ ประการต่อมา ช้อนชาหรือถ้วยตวงต้องสะอาด ประการที่สาม ค่อย ๆรินยา หากเท หรือตวงยามาเกินในขั้นตอนนี้สามารถที่จะริน/เทกลับได้ การดูดยาโดยใช้กระบอกจุ่มลงในขวดยา จะมองปริมาตรลำบาก จุ่มตื้นจุ่มลึกเท่าใด และหากดูดขึ้นดูดลง ก็เป็นความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน ดังนั้นจึงมักพบมีการแบ่งยาออกมาใส่ถ้วยตวงเพื่อใช้กระบอกดูดยา ก็ควรแบ่งมาตามปริมาตรหรือขนาดยาที่ต้องการแล้วใช้กระบอกดูดยาจากถ้วยแบ่ง ที่เหลือไม่ควรเทกลับในขวดยา ให้ทิ้งยา หลีกเลี่ยงการเทกลับลงไปในขวดเพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนและมีผลต่อความคงตัวของยาได้ แม้ว่าภาชนะที่ใช้ตวงจะมีการทำความสะอาดแล้ว สำหรับหลอดหยดที่ติดมากับยาน้ำสำหรับเด็กบางขนาน ใช้ดูดและหยดยาเมื่อต้องการ หลีกเลี่ยงการใช้หลอดหยดนั้นดูดยา หยอดยาใส่ปากเด็ก และนำมาปิดขวดแทนฝายาที่มีแต่เดิมเพราะเป็นการปนเปื้อน

ยาน้ำที่ขม ผสมน้ำหวานได้หรือไม่ และผสมอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วยาน้ำสำหรับรับประทาน หากมีรสขมมักมีการกลบรสมาจากบริษัท แต่บ่อยครั้งก็พบว่าก็ยังคงมีรสขมมาก เนื่องจากหากใช้น้ำเชื่อมปริมาณมาก ยาอาจไม่พอละลายเช่น พาราเซตะมอลน้ำเชื่อม หรือยาบางชนิดก็ใช้น้ำเชื่อมแต่งรสไม่ได้ เพราะอาจไม่คงตัว เช่น ยาน้ำโอเซลทามิเวียร์ ที่ใช้รักษาไข้หวัด 2009 อย่างไรก็ตามในการป้อนยา หากยาน้ำมีรสขม สามารถผสมน้ำหวานเพื่อกลบรสได้ ทั้งนี้ต้องระวังขนาดยาที่ให้ด้วยต้องเป็นไปตามที่สั่ง ห้ามหักลบจากน้ำหวานที่จะเติม เช่นหากต้องให้ครั้งละ 1 ช้อนชา และใช้ช้อนชาในการป้อนยา ก็จะไม่สามารถเติมน้ำหวานได้เพราะจะล้นออก ให้แบ่งป้อนยาครั้งละครึ่งช้อนชาและผสมน้ำหวานลงไปเล็กน้อยแต่ไม่ให้เกินช้อนชา และไม่ควรผสมน้ำหวานลงไปในขวดยาเลยเพราะอาจมีผลต่อความคงตัว และการปนเปื้อนได้ การผสมน้ำเชื่อมในยาน้ำแม้ว่าไม่บ่อย แต่ก็เป็นการสร้างนิสัยติดรสหวานของเด็กได้เช่นกัน ผู้ปกครองจึงอาจต้องใช้วิธีการอื่น ๆ เข้ามาช่วยให้เด็กรับประทานยาได้

จะป้อนยาเด็กอย่างไรดี เพื่อไม่ให้สาลัก และบางครั้งเด็กก็มักจะบ้วน

     ท่าทีที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อลูกในการให้ยาครั้งแรก ๆ น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กรับประทานยายากหรือง่าย เด็กหลายคนจึงมักดิ้น และส่ายหน้าหนี หรือมือปัดยาจนหก ป้อนยาแต่ละครั้งเหมือนเป็นมหกรรมที่ต้องเกณฑ์คนทั้งบ้านมาช่วยยึด ช่วยกด ล็อกมือ การป้อนครั้งต่อ ๆ ไปเด็กก็น่าจะปฏิเสธเพราะฝังใจ หรือดูเหมือนการลงโทษ
     สำหรับเด็กเล็ก การที่แม่อุ้มโอบ ภายใต้วงแขน หรือวางหนุนตัก แล้วสบสายตา พูดคุย ทำท่าทางให้เด็กอ้าปาก หรือใช้นิ้วดึงเบาๆ บริเวณคาง ก็อาจช่วยเพิ่มความร่วมมือ จากนั้นดูดยาตามปริมาตรที่แพทย์สั่ง ใช้ปลายหลอดหยด หรือกระบอกสำหรับหยอดยา (ไซรินจ์) แตะบริเวณมุมปาก กดริมฝีปากล่างลงเล็กน้อย สอดหลอดหรือกระบอกยาเข้าไป ค่อย ๆ หยอดยาให้ไหลผ่านไปทางกระพุ้งแก้ม กรณีที่ขนาดยามีปริมาณมากกว่า 2-3 มิลลิลิตร อย่าดันยาจนหมดในครั้งเดียว เพราะเด็กมีปริมาณการกลืนที่จำกัด อาจบ้วนออก หากใช้ช้อนก็ใช้ปลายช้อนกดริมฝีปากล่างลงเบา ๆ กระดกปลายช้อนขึ้น เพื่อให้ยารินไหลลงไป หากเป็นเด็กโต คงไม่เป็นปัญหาหากสามารถรับประทานได้ในท่านั่ง หรือหากนอนอยู่อาจช้อนหัวขึ้นเล็กน้อย หรือยกขึ้นหนุนตักก็ได้ เพื่อไม่ให้สำลัก ห้ามให้รับประทานยาในขณะนอนราบ และเมื่อป้อนยาแล้ว ควรให้น้ำตามเล็กน้อย เพื่อชะล้างยาที่ติดอยู่ และเหมือนเป็นการทำความสะอาดช่องปาก

วิธีดูปริมาตรของกระบอก(ฉีด)ยา จะดูที่ขอบบน หรือขอบล่าง

วิธีดูปริมาตรของกระบอก(ฉีด)ยา จะดูที่ขอบบน หรือขอบล่าง 

กระบอกยาสำหรับยารับประทาน เพื่อตวงยาน้ำสำหรับหยอดยาให้เด็ก อาจสงสัยว่าจะดูปริมาตรอย่างไร เพราะลูกสูบจะมีความหนาเมื่อมองด้านข้างจะเป็นสองแนว บนและล่าง เหตุที่ทำเช่นนั้นเพื่อให้ลูกสูบมีความแข็งแรง เวลาดันจะไม่เกิดการไหลย้อนหรือรั่วลงด้านล่าง 

การดูปริมาตรให้จับกระบอกหยอดยาตั้งตรง ส่วนปลายหลอดอยู่ด้านบน และอ่านขีดบอกปริมาตรที่ขอบบน ว่าตรงกับขีดบอกปริมาตรเท่าไร สำหรับด้านบนลูกสูบอาจมีลักษณะนูนเหมือนปิระมิด เป็นการออกแบบเพื่อให้แนบสนิทกับส่วนคอของกระบอกเวลาที่ดันยาสุด เพื่อให้ได้ปริมาณตัวยาตามที่ต้องการ


วิธีอ่านปริมาตรกระบอกยา (ไซริง)

ข้อควรระวังสาหรับถ้วยตวงที่ติดมากับยา

เนื่องจากถ้วยตวงยาที่ติดมากับกล่องของยาแต่ละชนิด จะมีปริมาตรไม่เท่ากัน และบางครั้งตัวเลขและขีดแบ่งปริมาตรยาบนถ้วยตวงยาอาจใสมาก ทำให้ตวงยาได้ยาก รวมทั้งช้อนป้อนยาบางอย่างด้ามจับจะเป็นทรงกระบอกภายในกลวงใช้ตวงยาโดยมีขีดบอกปริมาตร ดังนั้นจึงต้องสังเกตตัวเลขว่าแบ่งขีดอย่างไร และควรตรวจสอบปริมาตรให้พอดีกับที่ฉลากระบุไว้ก่อนกินยาทุกครั้ง

ถ้วยตวงที่ติดมากับกล่อง เท่ากับช้อนชาหรือไม่

สำหรับ 1 ช้อนชามาตรฐาน จะเท่ากับ 5 มิลลิลิตร หรือ 5 ซีซี ซึ่งอาจมีปริมาตรเท่าหรือไม่เท่ากับถ้วยตวงที่ติดมากับกล่องก็ได้ โดยถ้วยตวงที่ติดมากับกล่อง หรือยาที่ได้รับนั้นจะมีปริมาตรแตกต่างไปตามแต่ละบริษัทผู้ผลิตยา และจะมีขีดตัวเลขบอกปริมาตรอยู่ที่ข้างถ้วยตวงชัดเจน เช่น 2.5, 5, 10 หรือ 30 มิลลิลิตร ซึ่งควรตรวจสอบปริมาตรให้ดีก่อนกินยาทุกครั้ง ยาผงรับประทานชนิดเติมน้ำบางชนิด ถ้วยที่ให้มาบางครั้งจะเป็นถ้วยสำหรับการตวงน้ำเพื่อละลายผงยา อย่าใช้ปะปนกัน และแถมอีกนิดว่า 1 ช้อนโต๊ะนั้นมีปริมาตรเท่ากับ 3 ช้อนชาคือ 15 มิลลิลิตร


ถ้วยตวงและช้อนชา ช้อนโต๊ะ ที่มากับภาชนะ

ป้อนยาเด็ก สามารถใช้ช้อนกินข้าวแทนได้ไหม

ไม่ว่าจะเป็นช้อนที่ใช้สำหรับกินข้าว ช้อนกลาง หรือช้อนชาสำหรับชงกาแฟนั้นไม่ควรจะนำมาใช้ตวงยา เนื่องจากช้อนแต่ละอันจะมีขนาดไม่เท่ากัน บางครั้งช้อนชาที่ใช้ชงกาแฟก็อาจมีขนาดเพียงแค่ครึ่งช้อนชามาตรฐาน หรืออาจมีขนาดใหญ่เท่ากับ 2 ช้อนชามาตรฐานก็ได้ ยิ่งถ้าเป็นช้อนแสตนเลสสำหรับรับประทานข้าวแล้วอาจมีขนาดมากเท่ากับ 3 ช้อนชา ซึ่งจะมีผลให้ได้รับยาน้อยเกินไป ทำให้รักษาโรคหรืออาการไม่หาย หรืออาจมีผลให้ได้รับยามากเกินขนาด และเกิดอันตรายได้ ดังนั้นควรใช้อุปกรณ์ที่ติดมากับยา หรือได้รับจากโรงพยาบาล คลินิกหรือร้านยาเท่านั้น เพื่อให้ได้การรักษาที่ได้ผล และปลอดภัย


ช้อนชามาตรฐาน (5 มิลลิลิตร) (หมายเหตุ: สังเกตขีดภายในช้อนชาระบุว่าครึ่งช้อนชา)

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลอดหยดต้องดูดจนเต็มหลอดหรือไม่

หลอดหยดยาที่ติดมาภายในกล่องนั้น จะมีปริมาตรแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทผู้ผลิต โดยจะมีขีดบอกปริมาตรที่ละเอียด ตั้งแต่ 0.1 ไปถึง 1 มิลลิลิตร และมีตัวเลขกำกับชัดเจน เช่น ที่ตำแหน่ง 0.2, 0.4, 0.8 หรือ 1 มิลลิลิตร ดังนั้นการดูดยาขึ้นมาจนเต็มหลอด อาจทำให้ได้รับยาในปริมาณที่มากกว่าที่ต้องการ และเกิดอันตรายได้ สำหรับวิธีการตวงยาด้วยหลอดหยดยานั้น ต้องบีบที่หัวยาง หรือด้านบนของหลอดหยดยาเพื่อไล่อากาศ บีบค้างไว้ จากนั้นจุ่มหลอดหยดลงในยา ค่อยๆ ปล่อยหัวยางที่บีบ เพื่อให้ยาถูกดูดขึ้นมาตามหลอดหยดยาจนได้ปริมาตรที่กำหนดตามขนาดยาที่ต้องได้รับ และขนาดยา 1 มิลลิลิตรก็จะมีขีดบอกไม่ใช่ดูดจนเต็มหลอดหรือล้นเข้าไปในหัวยาง ถ้าเกินก็บีบออกให้ได้ปริมาตรที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตตัวเลขว่าแบ่งขีดอย่างไร และดูขีดให้ดีก่อนดูดยาทุกครั้งก่อนป้อนยา เพื่อป้องกันไม่ให้ดูดยามาก หรือน้อยเกินไป เมื่อดูดยาแล้วหรือหลังป้อนยาให้ปิดขวดยาด้วยจุกเดิม สำหรับหลอดหยดเมื่อดูดยาและป้อนยาแล้ว ควรล้างทำความสะอาด เนื่องจากอาจเปื้อนน้ำลาย และกันมดขึ้น โดยดูดน้ำเข้าและบีบออก เช็ดให้แห้งและวางผึ่งในภาชนะสะอาด เช่นแก้วเปล่า

 

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยาอมใต้ลิ้น กลืนแทนได้ไหม ห้ามกลืนน้าลายด้วยหรือไม่

การบริหารยาอมใต้ลิ้นห้ามเคี้ยว หรือกลืนเม็ดยาทั้งเม็ดลงไปในกระเพาะอาหาร แต่จะใช้วิธีการปล่อยให้ยาค่อยๆ ละลายและดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นจนหมด และไม่ควรกลืนหรือบ้วนน้ำลายทิ้ง ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้ยาดูดซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นและออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและมากที่สุด การกลืนน้ำลายจะทำให้ยาที่จะดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นลดน้อยลงซึ่งอาจทำให้การใช้ยาไม่ได้ผล เมื่อวางยาใต้ลิ้นเพื่อลดการกระตุ้นน้ำลาย ให้ทำปากนิ่ง ไม่ควรขยับปาก หรือเคลื่อนไหวลิ้นไปมา ตัวอย่างยาอมใต้ลิ้น เช่น ยาอมใต้ลิ้นไอโสซอร์ไบด์ ไดไนเตรต ขนาด 5 มิลลิกรัมที่ใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลันจากภาวะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน เมื่ออมยาใต้ลิ้นยาที่ละลายจะถูกดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นและไปยังหัวใจโดยตรงจึงทำให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ากลืนยาทั้งเม็ดจะต้องใช้เวลานานกว่าที่ยาจะไปยังเส้นเลือดหัวใจ เพราะยาต้องผ่านกระบวนการดูดซึม และหลังจากการดูดซึมก็ต้องส่งผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอนก่อนที่ยาจะถูกส่งไปยังตำแหน่งที่ออกฤทธิ์


ยาอมใต้ลิ้นดังกล่าว เมื่ออมใต้ลิ้นจะรู้สึกซ่าเล็กน้อย แต่หากมีอาการรุนแรง เช่น ปวดหัว หน้าแดง มึนงง ใจสั่น หรือหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เวียนศรีษะ สับสน ให้แจ้งแพทย์

จากฉลากจะเห็นเครื่องหมายสามเหลี่ยม และระบุว่าต้องติดตาม ยารายการใดที่มีเครื่องหมายดังกล่าวจะต้องสังเกตตนเอง ว่าภายหลังรับประทานยาแล้วเกิดอาการผิดปกติหรือไม่ หากเกิดอาการดังกล่าวให้กับไปโรงพยาบาลแจ้งแพทย์ เภสัชกร เพื่อแก้ไข เภสัชกรจะรายงานไปสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อเป็นข้อมูลความปลอดภัย

ยาอมใต้ลิ้นต้องวางตาแหน่งไหน เปลี่ยนเป็นอมข้างแก้มได้หรือไม่

ยาอมใต้ลิ้นวิธีการใช้ที่ถูกต้อง คือ การบริหารยาโดยกระดกลิ้นขึ้น และวางไว้ใต้ลิ้นแล้วปล่อยให้ตัวยาค่อยๆ ละลายและดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นจนหมด แต่ในบางรายหากมีความจำเป็นหรือไม่สามารถอมใต้ลิ้นได้อาจใช้วิธีการอมไว้ข้างกระพุ้งแก้ม แต่อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางวิชาการพบว่าการอมใต้ลิ้นจะมีอัตราการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วกว่า ดังนั้นหากเป็นยาอมใต้ลิ้นที่ต้องใช้ในภาวะฉุกเฉินและต้องการการออกฤทธิ์ที่รวดเร็วจึงแนะนำให้บริหารยาโดยการอมใต้ลิ้น

ก่อนติดแผ่นแปะต้องโกนขนก่อนหรือไม่

หลักการใช้แผ่นแปะควรแปะในตำแหน่งที่ไม่มีขน เช่นบริเวณต้นแขนด้านนอก บริเวณหลังส่วนบน เอว หน้าท้อง และหน้าขาส่วนต้น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องแปะในบริเวณที่มีขนจริงๆ ไม่ควรใช้วิธีโกนขน แต่ให้ใช้วิธีการเล็มขนทิ้งเพราะการโกนขนอาจทำให้เกิดบาดแผลได้ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการดูดซึมยาเกิดขึ้นมากกว่าปกติและอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองบาดแผลที่เกิดจากการโกนได้ เมื่อแปะให้กดหรือลูบให้ทั่วประมาณ 30 วินาที เพื่อมั่นใจว่าแผ่นแปะนั้นติดผิวหนังดี ในกรณีที่มีคราบพลาสเตอร์น่าเกลียดก็อาจใช้น้ำมันทาตัวเด็ก ทาออกได้

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

แผ่นแปะต้องแปะบริเวณใด และจะแปะนานเท่าไร

ผลิตภัณฑ์ยาชนิดแผ่นแปะจัดเป็นรูปแบบยาเตรียมชนิดหนึ่งที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา

ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อเพื่อให้เกิดความสะดวกและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบริหารยา

ตัวอย่างยารูปแบบแผ่นแปะที่ มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ยาแผ่นแปะไนโตรกลีเซอริน ที่ ใช้ใน

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ยาแผ่นแปะนิโคตินสําหรับการเลิกบุหรี่ ยาแผ่นแปะเฟนตา

นิลสําหรับรักษาอาการปวดรุนแรง เช่น อาการปวดในผู้ป่วยมะเร็ง และยาคุมกําเนิดชนิด

แผ่นแปะ เป็นต้น

ตําแหน่งของการแปะโดยทั่วไปแนะ นําให้แปะในบริเวณที่ไม่มีขน ถ้าเป็นแผ่น

แปะไนโตรกลีเซอรินอาจให้แปะบริเวณหน้าอก ส่วนยาอื่นๆ บริเวณที่สามารถแปะได้

ได้แก่ ต้นแขนด้านนอก บริเวณหลังส่วนบน เอว หน้าท้อง และหน้าขาส่วนต้น อย่างไรก็

ตามการใช้แผ่นแปะควรใช้วิธีการวนเปลี่ยนตําแหน่งของการแปะในแต่ละครั้ง เพื่อป้องกัน

การระคายเคืองจากการแปะซ้ําๆ ที่เดิม เช่น หากวันแรกแปะที่หน้าท้องข้างซ้าย วันที่สอง

อาจเปลี่ยนมาแปะที่หน้าท้องด้านขวา เป็นต้น ส่วนระยะเวลาการของแปะนั้นแตกต่างกัน

ไปในแต่ละชนิดของยา เช่น แผ่นแปะไนโตรกลีเซอริน 1 แผ่นต้องแปะนาน 12-24 ชั่วโมง

แผ่นแปะนิโคตินแปะนาน 24 ชั่วโมง แผ่นแปะเฟนตานิลแปะนาน 72 ชั่วโมง และยา

คุมกําเนิดชนิดแผ่นแปะ 1 แผ่นต้องแปะนานถึง 7 วัน ดังนั้นการใช้ยาแผ่นแปะจึงต้อง

ขึ้นกับชนิดของยาและตามคําสั่งของแพทย์ ห้ามแปะเกินเพราะจะได้รับยาเกินขนาด และที่

สําคัญเมื่อแปะแล้วหากระคายเคืองมาก ให้กลั บไปโรงพยาบาลเพื่อแจ้งแพทย์ เภสัชกร

เพราะอาจแพ้ทั้งตัวยาหรือสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นเป็นแผ่นแปะ หากไม่มีอาการแพ้ หรือ

ระคายเคือง เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการแปะของแต่ละแผ่นก็ให้นําแผ่นแปะเดิมนั้นออก

ทิ้ง แล้วแปะแผ่นใหม่ ไม่ใช่คงไว้ตลอดเวลา และเช่นเดียวกับยาในรูปแบบ อื่น ๆ อาจเกิด

อาการข้างเคียงจากยา หรือการแพ้ยาได้
 

ทำไมเป็นโรคเดียวต้องใช้ยาหลายขนาน

ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคบางโรค เช่น ไข้หวัด แล้วมีอาการ เช่น ไข้ ไอมีเสมหะ

น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้จําเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการบรรเทาอาการ คือ ใช้ พาราเซ

ตะมอลเพื่อลดไข้ บรอมเฮกซินใช้บรรเทาอาการไอโดยการละลายเสมหะ คลอเฟนิรามีน

บรรเทาอาการน้ํามูกไหล เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ป่วยเป็นโรค 1โรคอาจต้องใช้ยา

มากกว่า 1 ชนิด หรือแม้แต่โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาจมีการใช้ยา

เบาหวานร่วมกันมากกว่า 1 ชนิดโดยมักออกฤทธิ์เสริมกันเพื่อให้ผลลดน้ําตาลดีขึ้น เช่น ตัว

หนึ่งอาจเพิ่มการสร้างอินซูลิน อีกตัวอาจเพิ่มการใช้น้ําตาล หรือยาลดไขมันตัวหนึ่งอาจลด

ไตรกลีเซอไรด์ ในขณะที่อีกตัวอาจลดคอเลสเตอรอล แต่หลักการที่ดีคือใช้ยาแต่น้อยตาม

ความเหมาะสม ดีกว่าใช้ยาหลายขนาน ซึ่งอาจซ้ําซ้อน หรือเกิดอันตรายจากการใช้ยา

ร่วมกันได้

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไปหาหมอกระดูกทำไมต้องให้ยาลดกรด หรือยาป้องกันโรคกระเพาะ

ยากลุ่มรักษาโรคกระดูกและข้อส่วนใหญ่เป็นยาบรรเทาอาการปวด ลดอาการ

อักเสบ เช่น ยารักษาข้ออักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal antiinflammatory

Drugs: NSAIDs) โดยยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะทําให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร

ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แพทย์จึงมักให้ยาป้องกันโรคกระเพาะ หรือระงับการหลั่งกรด

ควบคู่ไปด้วยโดยเฉพาะในคนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว

แต่อาการข้างเคียงดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยให้รับประทา นยาหลังอาหารทันที

และดื่มน้ าตาม มาก ๆ อย่างไรก็ตามหากต้องรับประทานยาบรรเทาอาการปวดเป็น

เวลานาน ก็มีความจําเป็นที่ต้องได้รับยาลดกรดควบคู่ไปด้วย สิ่งที่ควรระวังประการหนึ่งคือ

หากเลิกรับประทานยาบรรเทาอาการปวดดังกล่าว ก็มักเลิกรับประทานยาลดกรดร่วมด้วย

ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการใหม่คือ ภาวะกรดหลั่งเกินอีก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร

หากเกิดอาการดังกล่าว

หากเคยรับประทานยาครั้งละ 500 มิลลิกรัม สามารถใช้ชนิด 250 มิลลิกรัม จำนวน 2 เม็ดหรือไม่

ถ้ายาดังกล่าวเป็น ยาชนิดเดียวกัน และเป็นเกลือเดียวกัน สามารถใช้ขนาดยา

รวมในจํานวนที่เท่ากันได้ เช่นแพทย์สั่งจ่ายยา อะม๊อกซี่ซิลลิน 500 มิลลิกรัม แต่ทาง

โรงพยาบาลมี อะม๊อกซี่ซิลลิน 250 มิลลิกรัม ดังนั้นสามารถที่จะจ่ายนี้ความแรง 250

มิลลิกรัมโดยเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่าได้ แต่ถ้าเมื่อไรเป็น ยาต่างชนิด หรืออาจชนิดเดียวกัน

แต่อยู่ในรูปเกลือที่แตกต่างกัน จะไม่สามารถนํามาใช้ในขนาดเท่ากันได้ แม้ว่าอาจใช้รักษา

โรคเดียวกัน เนื่องจากผู้ป่วยหลายท่านอาจยังมีความเข้าใจผิดว่าเมื่อก่อนรับประทานยา

ชนิดหนึ่งในขนาด 10 มิลลิกรัมยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ คราวนี้ม าเปลี่ยนให้

รับประทานยาอีกชนิดแต่มีความแรงเพียง 5 มิลลิกรัมจะดีขึ้นหรือ เปล่า เช่น เคยได้รับยา

โพรพาโนลอล วันละ 20 มิลลิกรัม ความดันโลหิตยังคงสูงอยู่ เปลี่ยนมาใช้ยาลดความดัน

โลหิตอีกขนานเช่น อะทีโนลอล ขนาด 10 มิลลิกรัม จะคุมได้หรือ และมีบางรายแอบเพิ่ม

ขนาดเอง เพราะฉะนั้นต้องตอบเลยว่า ยาต่างชนิดกันจะให้ผลในการรักษาไม่เท่ากันหรือ

ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาของยาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้ามีการใช้ในขนาดที่เท่ากันของ

ยาต่างชนิดนั้น อาจจะทําให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา หรือไม่มีผลในการรักษาเท่าที่ควร

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

ยาน้ำรับประทานชนิดหยด 1 หลอดหยดหมายความว่าอย่างไร

หากได้รับยาเด็กน้ําสําหรับเด็กมา และทางโรงพยาบาลสั่งให้รับประทานครั้งละ

1 หลอดหยด สิ่งที่ผู้ปกครองต้องทวนถามทันทีว่า 1 หลอดหยดดังกล่าวมีปริมาตรเท่าไร

เพราะแต่ละบริษัทจะให้ความหมายของหลอดหยดไม่เท่ากัน และหลายบริษัท หลอดหยด

ที่ให้มาเป็นขนาด 1 มิลลิลิตร แต่ปริมาตรที่ระบุไว้มีเพียง 0.6 มิลลิลิตร ซึ่งแพทย์ เภสัชกร

รับทราบความแรงในขนาด 0.6 มิลลิลิตร ดังนั้นหากดูดมา 1 หลอดหยดเต็มก็จะมีปริมาตร

มากเกินไป 0.4 มิลลิลิตร คิดเป็นขนาดยาที่มาก เกินไปถึง ร้อยละ 65 โดยประมาณ

ยาบางขนานก็อาจเป็นอันตราย เกิดการสะสมได้ ดังนั้นเภสัชกรต้องระบุขนาดของ

สารละลายหรือยาน้ําที่ให้เป็นหน่วยมิลลิลิตร จะปลอดภัย กว่า และหากไม่มีการระบุ

ผู้ป่วยควรสอบถามทุกครั้ง สําหรับรูปที่ 23 แสดงหลอดหยดขนาด 1 มิลลิลิตร ที่ทาง

โรงพยาบาลให้ไป ร่วมกับยา ขนาดที่ใช้ต้องระบุเป็น มิลลิลิตร เช่น 0.8 มิลลิลิตร

ไม่ใช่ 1 หลอดหยด

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ยาเม็ดที่ต้องเคี้ยว ไม่เคี้ยวได้หรือไม่

“ให้ลุงเคี้ยวยา แต่ฟันไม่มีจะทํายังไงดีพ่อหนุ่ม ” หากเป็นยาที่สามารถเคี้ยวได้ ก็

สามารถที่จะนําไปบดได้ เหตุผลที่ต้องเคี้ยวหรือบด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของ

ยา เช่น ยาลดกรดชนิดเม็ดของหลายบริษัท เนื่องจากปริมาณตัวยาที่มีมาก การตอกจึงต้อง

ใช้แรงอั ดสูง ยาจะเคลือบกระเพาะได้ดี เมื่อยาเม็ดนั้นถูกย่อยเป็นอนุภาคเล็ก ๆ จึงต้องใช้

การเคี้ยวเข้ามาช่วย อย่างไรก็ตามควรบดในภาชนะรองรับที่ไม่เปื่อยยุ่ย และสามารถเท

ออกได้ง่าย หรือหากบดในโกร่งสามารถใช้น้ําช่วยเจือจางยา และรับประทานจนหมด หาก

มีปัญหาว่าอาจไม่สามารถใช้ยาตามวิธีที่แพทย์สั่งได้ ให้แจ้งแพทย์/เภสัชกร เพื่อการจัดการ

ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย

กลืนยาเม็ดไม่ได้ใช้ละลายน้ำได้ไหม

ต้องบอกว่าทั้ง ได้และไม่ได้ เพราะว่ายาบางชนิดเมื่อมีการทําให้รูปแบบยา

เปลี่ยนไปอาจส่งผลทําให้ยาดังกล่าวเสื่อมสภาพเมื่อเจอสภาวะกรดในกระเพาะ เช่น ยาโอ

มิพราโซล จึงอาจทําให้ยาดังกล่าวนั้นไม่ให้ประสิทธิภาพในการรักษาเท่าที่ควร หรือยาบาง

ชนิดที่ค่อย ๆ ปลดปล่อยตัวยา โดยมากมักรับประทานวันละครั้ง เช่น ยากันชัก เมื่อนําไป

ละลายน้ํา พบว่าทําให้รูปแบบการออกฤทธิ์ยาเสียไปจึงทําให้ยาถูกปลดปล่อยออกมามาก

เกินไปจนอาจทําให้เกิดระดับยาสูงเกินหรือเป็นพิษ และไม่สามารถควบคุมอาการ ชักได้

ตามระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้ นเมื่อท่านไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ สามารถสอบถามวิธี

รับประทานยาที่ถูกต้อง หรือแจ้งแพทย์ เภสัชกร เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบยาให้เหมาะสม

สอดคล้องกับความต้องการ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อาชีพยาม ยาก่อนนอนกินอย่างไร หรือยาหลังอาหารทานอย่างไร

อาชีพยามจัดเป็นอาชีพหนึ่งที่พบว่ามีปัญหากับการรับประทานยาเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะยามที่ต้องอยู่เวรตอนกลางคืน ดังนั้นเมื่อถามว่ายาที่รับประทานตอนกลางคืน

นั้นจะต้องรับประทานอย่างไร พบว่ายาที่แพทย์สั่งให้รับประทา นตอนก่อนนอนตอน

กลางคืน ส่วนใหญ่นั้นพบว่าเป็นการสั่งเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยา เช่น ยาที่รับประทาน

แล้วทําให้ง่วงซึม จึงให้รับประทานก่อนนอนเพราะฉะนั้นยาที่ทําให้เกิดอาการง่วงซึมนั้น ถ้า

รับประทานตอนเริ่มทํางานก็อาจจะทําให้เป็นปัญหาในการทํางานได้ เช่น การทํางานกับ

เครื่องจักร การขับขี่ยานพาหนะ หรือโดยเฉพาะอาชีพยามนั้นอาจทําให้หลับยามได้ เป็น

ต้น เพราะฉะนั้นถ้ายาตัวใดที่ให้รับประทานก่อนนอนเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยาที่อาจ

เกิดกับผู้ป่วย ยากลุ่มนั้นควรรับประทานก่อนจะนอนหลับจริงๆ ตามแบบแผนแต่ละบุคคล

หากยามออกเวรตอนเช้า ก็อาจปรั บเวลายาก่อนนอนมารับประทานตอนเช้า สําหรับ

ประเด็นอื่นก็อาจจะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของยาหรือเพื่อเพิ่มความร่วมมือใน

การใช้ยาของผู้ป่วย ยากลุ่มนี้อาจจําเป็นต้องกําหนดเวลารับประทานที่ชัดเจนของการ

รับประทานยาก่อนนอน เช่น หนึ่งทุ่มหรือสองทุ่ม เป็นต้น กล่าวโด ยสรุป หากรับประทาน

ก่อนนอนวันละครั้ง ให้ถามแพทย์ หรือเภสัชกรว่าเหตุผลคืออะไร เช่น ทําให้ง่วงนอน ก็

ปรับตามเวลาที่ว่า หรือเป็นเวลาที่เหมาะสําหรับรับประทานยาประเภทนั้น ๆ ก็

รับประทานตามเวลานั้น แต่หากให้วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร และก่อนนอน เช่นนี้ไม่น่า


เกี่ยวข้องกับ การที่ยาทําให้ง่วง สามารถกําหนดตารางเวลารับประทานเป็นทุก 6 ชั่วโมงได้

และปรับให้สอดคล้องกับความสะดวก

สําหรับประเด็นในเรื่องของการรับประทานยาก่อนและหลังอาหารก็พบว่าจะ

คล้ายกับยาที่รับประทานก่อนนอนคือยาที่แพทย์สั่งให้รับประทานก่อนและหลังอาหาร

เพราะว่าเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยาหรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ยกตัวอย่าง

ยาลดน้ําตาลในเลือด อาจมีทั้งก่อน และหลังอาหาร เช่น กลัยพิไซด์ ให้รับประทานก่อน

อาหารเพื่อหวังผลให้ยาไปลดระดับน้ําตาลหลังรับประทานอาหาร หรือยาเมทฟอร์มิน ให้

รับประทานหลังอาหารเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยา เป็นต้น ดังนั้นยาในกลุ่มดังกล่าวควร

ใช้มื้ออาหารมาเป็นข้อกําหนดในการรับประทานยาจะดีที่สุด แต่หากไม่สามารถใช้มื้อ

อาหารมากําหนดระยะเวลารับประทานได้สม่ําเสมอ หรือชัดเจน อาจกำหนดระยะเวลา

ทุก 6 หรือ 8 ชั่วโมงได้ แทนการรับประทานยาวันละ 4 หรือ 3 ครั้งตามลำดับ

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จะรู้ได้อย่างไรว่า ยาตัวไหนหักแบ่งได้ หรือไม่ได้ หรือบดได้ไหม

โดยส่วนใหญ่ไม่แนะนําให้หักยาหรือบดยา เพราะยาอาจเสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้นทั้ง

จากแสงและความชื้น นอกจากนี้การหักแบ่งยา ยังทําให้ได้รับยาในขนาดที่ไม่เท่ากันในแต่

ละครั้งได้ อย่างไรก็ตามมียาบางประเภทที่ห้ามบด ห้ามแบ่งโดยเป็นยาที่อยู่ในรูปแบบออก

ฤทธิ์นานหรือค่อย ๆ ปลดปล่อยตัวยา ข้อสังเกตของยากลุ่มนี้ก็คือ มักจะมีสัญลักษณ์เป็น

ตัวอักษร Modified release (MR), extended release (ER), Sustained release

(SR), Controlled-release (CR) ด้านหลังชื่อยา เป็นสิ่งบ่งบอกว่ายาดังกล่าวอยู่ในรูปที่

ค่อย ๆ ปลดปล่อยตัวยา ยากลุ่มนี้ได้รับการผลิตขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการรับประทาน

ของผู้ป่วยโดยลดจํานวนครั้งต่อวันที่ต้องรับประทานยา เช่น ปกติต้องรับประทาน 3 มื้อ ก็

ลดลงเหลือมื้อเดียวต่อวัน แต่ให้ผลการรักษาเทียบเท่ากัน เป็นต้น หรืออยู่ในรูปแบบที่

พร้อมละลายทันทีเช่นยาทางจิตเวช ดังนั้น หากบดหรือหักยาอาจทําให้การปลดปล่อยยา

เปลี่ยนแปลง ยาจะไม่อยู่ในรูปค่อย ๆ ปลดปล่อย แต่จะออกมาในครั้งเดียว ส่งผลให้ผู้ป่วย

อาจได้รับยามากเกินไปในครั้งเดียว มีผลกระทบต่อการรักษาและเป็นอันตราย หรือยาอาจ

ชื้นไม่ได้ผล อย่างไรก็ตามยาในรูปแบบนี้บางตัวก็สามารถหักแบ่งได้ เช่น ยา Theo-dur SR

200 mg สามารถแบ่งครึ่งเม็ดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการในการผลิตยาแต่ละตัว เภสัชกร

จะเป็นผู้ให้ข้อมูลว่ายารายการใดห้ามหักแบ่ง หรือห้ามบด หรือห้ามละลายน้ําก่อน

รับประทาน หากไม่มั่นใจจึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เข็มอินซูลิน จะต้องเปลี่ยนเข็มทุกครั้งหรือไม่ หรือหลังจากใช้ไปกี่ครั้ง

ตามคําแนะนําของสมาคมโรคเบาหวาน สหรัฐอเมริกา แนะน าการใช้เข็มจาก

กระบอกฉีกอินซูลินชนิดใช้ครั้งเดียว และจากชนิดปากกา เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดย

การนําเข็มกลับมาใช้ใหม่ทําให้เกิดความไม่แน่นอนของการไม่ปราศจ ากเชื้อ ซึ่งอาจจะเพิ่ม

ความเสี่ยงของการเกิดติดเชื้อได้มากขึ้น โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีการดูแลความสะอาดไม่ดี

พอ หากจะแนะนําให้ผู้ป่วยใช้เข็มมากกว่าหนึ่งครั้ง สิ่งที่เน้นคือ

1. ให้ทําความสะอาดบริเวณที่จะฉีดเป็นอย่างดี

2. หลังจากฉีดให้ใช้สําลีชุบน้ําเช็ดโดยรอบเข็มเบา ๆ

3. เมื่อใช้เสร็จแล้วหลังทําความสะอาดก็ควรปิดฝาเข็มทันที

4. ไม่ควรใช้เข็มเมื่อเข็มทื่อหรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเข็ม และเข็มมีการ

สัมผัสที่อื่นนอกจากผิวหนัง

5. สมาคมโรคเบาหวานสหรัฐอเมริกา ไม่แนะนําให้ทําความสะอาดเข็มด้วย

แอลกอฮอล์เนื่องจากจะทําให้ซิลิโคน ที่เคลือบไว้หลุดออกซึ่งทําให้เจ็บเวลาฉีดยา

และทําให้เข็มปนเปื้อน
 
ที่สําคัญห้ามใช้เข็มร่วมกับคนอื่น ๆ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่ถ่ายทอดทางเลือดได้


เช่น ตับอักเสบ เอดส์

ยาฉีดอินซูลิน หลังฉีดต้องนวดหรือไม่

ยาฉีดอินซูลิน หลังฉีดไม่ต้องนวดบริเวณที่ฉีด เพราะทําให้ยาดูดซึมเร็ว อาจส่งผลให้คนไข้

เกิดภาวะน้ําตาลต่ําได้ไวขึ้น และอินซูลิน บางขนานอาจสูญเสียคุณสมบัติของ ตัวอินซูลิน

ที่ต้องการให้ ค่อย ๆ ปลดปล่อย ตัวยา และควร เปลี่ยนที่ฉีดสลับไป มาเพื่อป้องกัน

การสลายของไขมันบริเวณโดยรอบตําแหน่งที่ฉีด

พาราเซตะมอลจากฉลากยาที่บอกว่ารับประทานเมื่อมีอาการ จะรับประทานอย่างไร

พาราเซตะมอล เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการปวด หรือมีไข้ ไม่ควร

ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 10 วัน ขนาดยา พาราเซตะมอล สําหรับผู้ใหญ่คือไม่

เกิน 4 กรัมต่อวัน หรือเมื่อคิดตามน้ําหนักตัว 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม

และไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง พาราเซตะมอลชนิดเม็ดทั้งที่มีในโรงพยาบาลหรือร้าน
 
ยา ส่วนใหญ่มีขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ดังนั้นผู้ ใหญ่จึงไม่ควรรับประทาน พาราเซตะ

มอล เกินกว่าครั้งละ 2 เม็ดและไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน สําหรับผู้หญิงที่มีรูปร่างเล็กน้ําหนัก

น้อยกว่า 50 กิโลกรัม อาจรับประทานเพียงครั้งละ 1 เม็ด 500 มิลลิกรัมก็เพียงพอ

บางครั้งจะเห็นบนฉลากยาเขียนว่า รับประทานครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง หาก

รับประทานตามฉลากยาอาจรับประทาน 8 – 12 เม็ดต่อวัน ซึ่ง 12 เม็ดจะเกินกว่าที่

แนะนํา (ไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน) ดังนั้นฉลากยาควรระบุให้ชัดเจนเลยว่า รับประทานครั้งละ

2 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง ติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หากรับประทานติดต่อกันนานๆ อาจเกิด

อันตรายจากการใช้ยาพาราเซตะมอล ที่พบได้มากที่สุด คือ พิษต่อตับ ทําให้ตับวาย
 

ตอนพ่นยามีความรู้สึกพ่นยาไม่เข้า หรือขนาดยาน้อยไป จะเพิ่มซ้ำได้หรือไม่

หากพ่นยาแล้วรู้สึกพ่นไม่เข้า หรือขนาดยาน้อย ไม่ควรเพิ่มซ้ําขนาดยาเองควรใช้

ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะการพ่นซ้ําอาจได้รับยา เกินขนาด อย่างไรก็ตามให้

พิจารณา หากเกิดอาการจับหืดรุนแรงหลังพ่นยา ก็สามารถที่จะพ่นเพิ่มได้ในขนาดที่แพทย์

สั่ง แต่หากไม่ดีขึ้น ให้รีบกลับไปโรงพยาบาล แนวทางแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้พ่นยาใน

ขนาดที่น้อยคือ ก่อนพ่นยาให้หายใจออกทางปากให้สุด เพื่อที่จะมีแรงในการสูดยาเข้า

ไปได้เพิ่มขึ้น

หลังพ่นยาบรรเทาอาการโรคหืด หากไม่บ้วนปากจะได้หรือไม่

ตัวยาพ่นมี 2 ประเภท คือแบบที่เป็นแบบสเตียรอยด์ และไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่ง

ผลข้างเคียงของยากลุ่มสเตียรอยด์ เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดการสะสมของยาบริเวณกระพุ้ง

แก้มหรือตามส่วนต่างๆ ในปาก ทําให้เกิด เชื้อราในปากได้จึงแนะนําให้บ้วนปากทุก

ครั้งหลังจากพ่นยา ในเด็กเล็กหากไม่ สามารถบ้วนปากได้แนะนําให้ดื่มน้ําตามหลังจากพ่นยาแล้ว

หากพ่นยาผ่านกระบอกยาควร ใช้ผ้าชุบน้ําเช็ดบริเวณใบหน้าตรงส่วนที่กระบอกยาครอบอยู่ด้วย

เพราะได้รับการสัมผัสยา ดังนั้นในทางปฏิบัติหากไม่สามารถระบุได้ว่ายาสูด ที่ใช้มีสเตียรอยด์

หรือไม่ หลังจากพ่น เรียบร้อยแล้ว และอาการจับหืดดีขึ้น ก็สามารถอมน้ําบ้วนปากได้


ยาเม็ดแบ่งครึ่ง รับประทาน เช้า-เย็น จะรับประทานครั้งเดียว 1 เม็ดตอนเช้า

ไม่ได้ครับ เนื่องจากอาจได้รับยาในขนาดที่มากไปในมื้อใดมื้อหนึ่ง และอีกมื้อ

ไม่ได้รับยา การที่ได้รับยาครึ่งเม็ดนั้น แพทย์ได้คํานวณแล้วครับว่าเป็นขนาดที่เหมาะสมใน

การรักษา หรือเป็นไปตามน้ําหนั กของผู้ป่วยครับ ส่วนการแบ่งใ ห้รับประทานเช้า -เย็น

เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ ยาตัวนั้นจะออกฤทธิ์ต่อเนื่อง เพราะหากรับประทานวันละครั้ง

อาจไม่สามารถควบคุมอาการในช่วงท้ายของวัน หรือในเวลากลางคืนครับ อย่างไรก็ตาม มี

ยาบางประเภท แพทย์สั่ง 1 เม็ด แต่ดูว่าเม็ดใหญ่กลืนลําบาก ผู้ป่วยจึงใช้มีดแบ่ง ซึ่งยาบาง

รายการก็ทําเช่นนี้ไม่ได้ เพราะมีผลทําลายรูปแบบยาที่เหมาะสม เนื่องจากยาบางรายการ

ต้องการให้ไปดูดซึมที่ลําใส้เล็กส่วนต้น การแบ่งครึ่งทําให้ยาไปแตกตัวที่กระเพาะอาหาร

แทน ซึ่งยาอาจไม่ทนกรดในกระเพาะอาหารก็ได้

ถ้าลืมรับประทานยาก่อนนอนบ่อย ๆ จะเลื่อนมาเป็นหลังมื้อเย็นได้หรือไม่

ยาหลายขนานเหมือนมีจังหวะเวลาของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ บาง

ขนานจะให้ผลดีต้องรับประทานก่อนนอน เพราะในขณะที่นอนหลับอาจมีการหลั่งฮอร์โมน

ที่ส่งผลต่อการดูดซึมยา ช่วยเพิ่มประสิทธิภา พของยา หรือเหตุผลอื่น ๆ ยาลด

โคเลสเตอรอล กลุ่มสตาติน เช่น ซิมวาสตาติน โลวาสตาติน มักแนะนําหรือสั่งให้

รับประทานวันละครั้งก่อนนอน กล่าวคือในระหว่างที่เรานอน ตับจะทําการผลิต

โคเลสเตอรอลจํานวนมากเข้าสู่ กระแสเลือด เรียกว่าปั๊มกันทั้งคืน การรับประทานยาลด
 
ไขมันก่อนนอน จึงเป็นการให้ยาไปออกฤทธิ์ได้ตรงจุดคือ ไปลดการสร้างโคเลสเตอรอล

โดยตรง การเลื่อนยามารับประทานหลังมื้อเย็น อาจทําให้ยาได้ผลไม่เต็มที่ แต่ยาในกลุ่มนี้

บางขนานก็ไม่ได้แนะนําให้รับประทานก่อนนอน เนื่องจากระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาที่

ยาวตลอดทั้งวัน เช่น โลซูวาสตาติน พราวาสตาติน นอกจากนี้ หากเป็นยาที่ต้อง

รับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร และก่อนนอน การเลื่อนเวลาก่อนนอน มาใกล้มื้อเย็น

ก็จะทําให้ได้รับยาเพิ่มเป็น 2 เท่า ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

ลืมรับประทานยา จะต้องทำอย่างไร

การลืมรับประทานยา จะมีหลักการบางอย่างที่แตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มยา

แต่หลักการกว้าง ๆ คือ หากลืมรับประทานยามื้อเช้าตอน 8.00 น. มื้ดถัดไปเป็นตอน

12.00 น. มานึกได้ก่อน 10.00 น. ก็สามารถรับประทานได้ทันทีในขนาดเท่าเดิม แต่หาก

นึกได้หลัง 10.00 น. หรือใกล้เที่ยงก็ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และเริ่มมื้อเที่ยงโดยที่ไม่ต้องเพิ่ม

ขนาดยาเป็น 2 เท่า เช่นเดียวกันกับการลืมมื้ออื่น ๆ สําหรับยาบางชนิดที่ให้ทุกรอบ

ระยะเวลา เช่น ทุก 4 ชั่วโมง ทุก 6 ชั่วโมง หากลืมโดยที่ระยะเวลาที่เหลือสําหรับมื้อถัดไป

มากกว่าครึ่งหนึ่งก็รับประทานเหมือนที่กล่าวข้างต้น แต่หากเหลือเวลาเพียง 1 ชั่วโมง และ

อยากได้ยาครบ อาจรับประทานทันทีที่นึกได้ และกําหนดเวลาทุก 4 หรือทุก 6 ชั่วโมงใหม่

โดยนับจากเวลาที่รับประทานครั้งหลังสุด

รับประทานก่อน /หลังอาหาร หากงดอาหารมื้อนั้น จะต้องรับประทานยา

ปัญหานี้จะพบมากในมื้อเช้า เนื่องจากคนเมือง หรือปัจจุบัน ชาวนาชาวไร่ ที่

ออกไปทํางานแต่เช้า มักจะไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ในกรณียาก่อนอาหารไม่เป็นไร

สามารถรับประทานได้เลย และดื่มน้ําตามพอควร สําหรับยาหลังอาหาร หากเป็นตัวยาที่ไม่

ระคายกระเพาะ ไม่ใช่ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ ก็สามารถที่จะรับประทานได้เลยเช่นกัน แต่

ถ้ารับประทานร่วมกับยาก่อนอาหาร ให้ทิ้งเวลาห่างจากยาก่อนอาหารสักครึ่งชั่วโมง เพราะ

ไม่มั่นใจว่ายาที่กินอยู่นั้นจะตีกันหรือเปล่า หลักการนี้ก็ใช้กับยาที่ต้องให้มื้ออื่นๆ แต่ต้องงด

เหมือนกัน กล่าวคืองด อาหารได้ แต่ห้ามงดยาครับ อย่างไรก็ตามยาหลังอาหาร อาจหา

อะไรรองท้องสักเล็กน้อยเช่น ขนมทุกประเภท หรือน้ําเต้าหู้ จากนั้น จึงรับประทานยา ก็

อาจลดผลข้างเคียงจากยาลงได้ครับ ที่สําคัญดื่มน้ําตามมากๆ หลักการนี้ใช้กับยามื้อเย็น

ของพระสงฆ์ด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

การรับประทานยาจำเป็นต้องดื่มน้ำตามหรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว การรับประทานยาควรดื่มน้ำตาม โดยเฉพาะการรับประทานยา

เม็ดทั้งนี้เพื่อเพิ่มการแตกตัวหรือการกระจายตัวของยาออกเป็นอนุภาคเล็กๆ ยาจะได้ดูด

ซึมได้ดี โดยเฉพาะยาแคบซูลที่มักพบว่ามักไม่ดื่มน้ำตาม เนื่องจากเปลือกลื่น หลายท่านจึง

กลืนสะดวกโดยไม่ดื่มน้ํา ส่งผลให้โอกาสที่แคปซูลจะเปื่อยยุ่ยก็จะยากขึ้น ดังนั้นอาจทําให้

ยาออกฤทธิ์ได้ช้า เพราะไม่สามารถกระจายตัวออกจากแคปซูล ยาเม็ดก็เช่นเดียวกัน

ทดสอบง่าย ๆ โยนยาลงไปในแก้วน้ํา 2 ใบ ใบหนึ่งมีน้ํามาก อีกใบน้ำอยู่ก้นถ้วย ลองดูการ

กระจายตัวของยาเปรียบเทียบกัน นอกจากนี้ยาบางรายการเช่น ยากลุ่มซัลฟา ไม่ว่าจะ

รับประทานในรูปยาเม็ด หรือยาน้ําสําหรับเด็ก ในขณะที่ใช้ยานี้อยู่ ควรดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อ

เพิ่มปริมาณปัสสาวะ ช่วยให้ไตทํางาน หรือขับยาได้ดี ลดความเป็นพิษต่อไตที่อาจเกิดขึ้น

ดังนั้นเพื่อลดอาการติดคอ เพิ่มการละลาย ลดความเป็นพิษต่อไต ทําให้ยาขับถ่ายออกได้ดี

หลังรับประทานยาจึงควรดื่มน้ำตามมากๆ

ยาก่อนอาหารและหลังอาหาร รับประทานรวมกันครั้งเดียวได้ไหม

ไม่ได้เนื่องจากยาที่รับประทานก่อนอาหารต้องรับประทานตอนท้องว่างเท่านั้น


รับประทานหลังอาหารไม่ได้ แต่ยาหลังอาหารถ้าไม่ได้รับประทานอาหารอาจจะ

รับประทานได้ในบางกรณี เนื่องจากยาที่ให้รับประทานหลังอาหารเพราะต้องการให้สะดวก

ต่อการรับประทานยา แต่ยกเว้นยาบางชนิดที่ต้อง รับประทานยาหลังรับประทานอาหาร

ทันที เช่น ยาแก้ปวดข้อเกือบทุกชนิด เนื่องจากยาอาจระคายเคืองกระเพาะอาหารหรือ

ทําให้เกิดโรคกระเพาะอาหารตามมาได้ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือไม่ควรนํายาต่างเวลามา

รวมกันแล้วรับประทานครั้งเดียว ซึ่งนอกเหนือจากเวลาไม่เหมาะสม ยังอาจเกิดการไม่เข้า

กันของยาได้

ยาก่อนอาหารมื้อกลางวัน หากนึกได้ตอนจะรับประทานข้าวเที่ยง จะทำอย่างไร

วิธีที่ถูกต้องในการรับประทานยาก่อนอาหาร คือ รับประทานยาก่อนรับประทาน
อาหารประมาณ 30-60 นาที หากลืมและนึกได้ก่อนรับประทาน อาหาร วิธีที่ส่งผลกระทบ

น้อยที่สุด คือรับประทาน ยาเดี๋ยวนั้น และเลื่อนเวลารับประทานอาหารออกไป อย่างน้อย

30 นาที แต่หากนึกได้ขณะรับประทานอาหาร ให้รับประทานยาหลังจากรับประทาน

อาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง เนื่องจากยาที่ต้องรับประทานก่อนอาหารเป็นยาที่ดูดซึม

ได้ดีที่สุดในขณะที่ท้องว่าง ดังนั้นจึงต้องรอให้อาหารนั้นย่อยก่อนให้หมดถึงจะรับประทาน
ยาได้ วิธีนี้ใช้ได้กับยาที่รับประทานก่อนอาหารทุกมื้อ

แต่ถ้าลืมรับประทานยาหลังอาหารอันนี้ไม่ยาก ก็ให้รับประทานทันทีที่นึกได้แต่

ถ้าอีก 1-2 ชั่วโมงใกล้ถึงมื้อถัดไปแล้วก็ให้เว้นมื้อนี้เสีย แล้วรับประทานมื้อถัดไปได้เลยโดย

ไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า วิธีนี้เหมาะกับยาที่รับประทาน วันละ 3-4 ครั้ง เพราะมัก

เป็นยาที่ออกฤทธิ์ไม่นาน และขนาดยาที่ใช้มักไม่เป็นขนาดสูงสุดที่สามารถให้ได้

รับประทานยาตอนท้องว่างหมายความว่าอย่างไร

ยาบางชนิดอาหารจะมีผลต่อการดูดซึมของยานั้น โดยทําให้มีการดูดซึมยาลดลง
หรือบางขนานจะไม่ทนกรดในกระเพาะ เช่น ยาปฏิชีวนะบางตัว ได้แก่ เพนิซิลลิน อิริโธร

มัยซิน เมื่อรับประทานหลังอาหาร อาหารจะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดออกมาย่อยอาหาร

เหล่านั้น กรดก็จะมีผลทําลายยาเหล่านี้ได้หากรับประทานหลังอาหาร หรือยา บางรายการ

จะจับกับสารอาหารทําให้ไม่ดูดซึม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาเหล่านี้พร้อม

หรือใกล้มื้ออาหาร แพทย์ หรือเภสัชกรจึงแนะนําให้รับประทานตอนท้องว่าง โดย

รับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือ รับประทานหลังอาหาร 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยา

ลดกรดเองก็อาจแนะนําให้รับประทานตอนท้องว่าง เพราะต้องการให้ยาเคลือบผนัง

กระเพาะได้ดี

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ฉลากยาบอก “รับประทานหลังอาหารทันที” รับประทานหลังนมแทนได้ไหม

ยารับประทานหลังอาหาร หากรับประทานพร้อมนม อาจมีทั้งทําได้ และทําไม่ได้

คําว่า อาหาร นั้นหมายถึงอะไรได้บ้าง โดยทั่วไปมักจะเข้าใจว่าคือ ข้าว เพียงอย่างเดียว

ซึ่งอาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน นอกจากข้าวแล้วจะรับประทานนม หรือ

ขนมปัง หรืออาหารประเภทใด ๆ ก็ได้ ทั้งสิ้น เพราะยาบางตัวมีผลระคายเคือง

กระเพาะอาหาร เราหวัง ใ ห้อาหารที่ รับประทานเข้าไปจะช่วยป้องกันกระเพาะ อาหาร

ลดการระคาย เคืองจากยาโดยตรง ดังนั้นจึงช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้

แต่มียาบางตัว เช่น ยาฆ่าเชื้อนอร์ฟลอกซา ซิน, ซิโปรฟลอกซาซิน และ โอฟลอกซาซิน

ไม่ควรรับประทานร่วมกับนม โดยนมจะลดการ ดูดซึมยา ให้รับประทานยาหลังอาหาร (ข้าว)

และดื่มน้ําเปล่าตาม บางครั้งนมก็ไปจับกับยา ทําให้เป็นโมเลกุลใหญ่ ไม่ดูดซึม

ดังนั้นบ่อยครั้ง อาจได้รับยาที่เภสัชกรแนะนําว่าให้ รับประทานหลังอาหาร

แต่ไม่ควรรับประทานพร้อมนมหรือยาลดกรด

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

มักลืมรับประทานยาบางครั้งก็ลืมวิธีใช้จะทำอย่างไรให้ไม่ลืม

สําหรับผู้ป่วยที่รับประทานยา เป็นครั้งคราว มักมีโอกาสลืมรับประทานยาง่าย

กว่าผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยา ต่อเนื่อง มีข้อเสนอแนะมากมาย อย่างไรก็ตามผู้ลืม

รับประทานยาจะเป็นผู้ที่บอกได้ดีว่า ที่ตนเองลืมมีสาเหตุจากอะไร หรือลืมอย่างไร ใช้วิธีที่

เหมาะกับตนเอง ข้อเสนอแนะเช่น

1. จดเป็นข้อความเล็ก ๆ เตือนเอาไว้ว่าต้องรับประทานยาอะไรบ้าง โดยติด

บริเวณที่เห็นได้ง่ายเช่น ลูกบิ ดประตูก่อนออกจากบ้าน หรือบริเวณที่นั่ง

ทํางาน หรือที่มีกิจกรรมตลอดเวลา

2. หากมีมือถือ จะตั้งให้เตือนเหมือนนาฬิกาปลุกตามเวลาที่รับประทานยา

3. โยงเรื่องเวลารับประทานยากับกิจกรรมที่ต้องทําในช่วงเวลานั้น และท่องซ้ํา

ไปมา เพื่อบันทึกความจําตนเอง

4. ทําแบบบันทึกลักษณะปฏิทินยาโ ดยแบ่งช่องในแต่ละวันตามจํานวนครั้งที่

ต้องรับประทานยา แล้วกากบาทหรือทําเครื่องหมายทุกครั้งเมื่อรับประทาน

ยาในมื้อนั้น ๆ แล้ว

5. จัดยาเป็นรายสัปดาห์โดยใช้กล่องบรรจุยาที่มีจําหน่ายในลักษณะที่เป็นมื้อ

6. หาข้อมูลจากแพทย์ เภสัชกร ว่ายาดังกล่าวหากลืมรับประทาน จะก่อให้เกิด

ผลเสียอย่างไรตามมา เพื่อสร้างความตระหนัก ซึ่งอาจช่วยให้ลดการลืม

รับประทานยา

7. หาข้อมูล คําแนะนํา หรือวิธีการปฏิบัติ หากลืมรับประทานยาจะต้องทํา

อย่างไร

8. ไม่นํายามารวมกัน ให้เก็บยาในภาชนะที่ใส่มาหรือได้รับจากสถานพยาบาล

จะช่วยให้ลดการจดจําวิธีใช้ยา เพราะภาชนะจากสถานพ ยาบาลจะมีวิธีใช้

ยาอยู่ และยังลดการสับสน

9. หลีกเลี่ยงการนํายาออกจากซองทั้งหมดมากองรวมกัน เพราะจะจําไม่ได้ว่า

มาจากซองใด มักพบว่ามีการใส่กลับคืนคลาดเคลื่อน

ก็เป็นข้อเสนอแนะส่วนหนึ่ง ผู้ใช้ยาต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นปัจจัยที่มักทําให้ลืม และแก้ไข

ประเด็นนั้นเป็นสําคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือไม่ได้ จะทำอย่างไรจึงรับประทานยาได้ถูกต้อง

หลายท่านคงประสบปัญหามีญาติ เช่น คุณตา คุณยาย คุณปู่ คุณย่า พ่อ แม่ ที่

อายุมากๆ อ่านหนังสือไม่ออก หรือมองตัวหนังสือเล็กๆ ไม่เห็น ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักทําให้

การควบคุมโรคที่เป็นอยู่ไม่ดีนักหรือไม่ ทุเลา เนื่องจากรับประทานยาได้ไม่ถูกต้อง ซึ่งการ

รับประทานยาเป็นส่วนสําคัญในการรักษา

โรคต่างๆ ดังนั้นแนวทางแก้ไขเช่น

1) ให้มีคนจัดยาให้ผู้ป่วยรับประทาน เช่น ผู้ที่ดูแลใกล้ชิด หรืออยู่กับผู้ป่วย หรือ

อาจจัดยาใส่กล่องหรืออุปกรณ์ช่วย และทําสัญลักษณ์ที่เข้าใจตรงกันไว้ให้


2) เมื่อไปรับบริการจากสถานพยาบาลควรกําชับผู้ป่วยให้แจ้งแก่เภสัชกร หรือห้ องจ่ายยา

ว่าอ่านหนังสือไม่เข้าใจ หรือมองตัวหนังสือไม่ชัดเจน ซึ่ง หลายแห่งจะมีสัญลักษณ์เป็น

รูปภาพไว้แสดงความหมายของการรับประทานยา ขึ้นกับแต่ละโรงพยาบาลจัดทํา

เพื่อให้ผู้ป่วยในแ ต่ละแห่งเข้าใจตรงกัน ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างที่ส่วนใหญ่มักทําให้

เข้าใจตรงกัน สัญญลักษณ์ไก่และพระอาทิตย์ขึ้นหมายถึงเวลาเช้า พระ

อาทิตย์จ้า หมายถึงกลางวัน พระอาทิตย์สีดําตกน้ํา หมายถึงตอนเย็นแสงไม่มีแล้ว และ

เตียงนอน มีพระจันทร์ ดาว หมายถึงก่อนนอน



3) สัญญลักษณ์วงกลมหมายถึงยาเม็ด โดยมีขนาดที่รับประทานแตกต่างกันไป ตามที่ระบุ

ไว้ในกรอบ

อย่างไรก็ตามในระยะแรกผู้ที่ดูแลควรเป็นผู้จัดยาไว้ให้ ซึ่งอาจจัดแยกเป็นมื้อในแต่ละ

วันก่อนที่จะออกไปข้างนอกหรือทํางาน และเมื่อกลับมาก็พิจารณาว่ามียาเหลืออยู่หรือไม่

เพื่อให้คําแนะนําเพิ่มเติม สําหรับยาเม็ดหากไม่จําเป็นก็ไม่ควรแกะออกจากแผง เพราะจะ

ช่วยกันความชื้น หรือแสง หากยานั้นโดนความชื้นหรือแสงไม่ได้

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ยาปฏิชีวนะที่เป็นน้ำเชื่อมอยู่แล้วจะเก็บได้ 7 วันหรือไม่

ยาปฏิชีวนะสําหรับเด็กบางรายการจะเป็นยาน้ําเชื่อมอยู่แล้ว หากยังไม่เปิดใช้ก็

จะมีอายุตามที่ระบุบนฉลาก แต่หากเปิดใช้แล้วยาดังกล่าวจะมีอายุลดลงแต่นานกว่า 7 วัน

อย่างไรก็ตามหากได้รับการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานติดต่อกันตามขนาด

และเวลาที่ระบุไว้ ต่อเนื่องทุกวันจนหมดขวด เพื่อให้เกิดผลการรักษา

ที่ดี ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา หรือกลับเป็นใหม่ และรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งการสั่งจ่าย

แต่ละครั้งแพทย์ ได้พิจารณาแล้วว่าจําเป็นที่ต้องรับประทานเท่า จํานวนที่จ่าย

จึงไม่ควรเหลือเก็บ และไม่ต้องกังวล ว่าจะได้รับยามากเกินไป ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ

ที่ยัง ไม่เติมน้ํา เขย่าผงยาให้ฟูขึ้นมา และเติมน้ําสุกที่เย็นแล้วลงไปพอท่วมยา เขย่าให้ผงยา

กระจายให้ทั่ว จากนั้นเติมน้ําสุกลงปรับปริมาตรจนถึงขีดข้างขวดที่ระบุไว้ เขย่าให้ตัวยา

เข้ากันอีกครั้ง เก็บยาในตู้เย็น ยาจะมีอายุอยู่ได้ 7-14 วันขึ้นกับตัวยา และบริษัท ให้ดูที่

ฉลากเป็นสําคัญ


วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ไปร้านยารู้ได้อย่างไรว่าผู้ขายเป็นเภสัชกร

การเลือกเข้าร้านยา หากไม่ใช่ร้านประจํา การมองหาร้านยาคุณภาพ ที่มี สัญญลักษณ์ตามรูปที่ 1


จะเป็นหลักประกันคุณภาพการให้บริการได้เป็นอย่างดี เพราะจะ มีเภสัชกรประจํา

และเป็นผู้ให้บริการ สภาเภสัชกรรมกําหนดให้เภสัชกรควรสวมเสื้อกาวน์

ซึ่งมีสัญญลักษณ์สภาเภสัชกรรมเป็นวงรีสีเขียวอยู่ที่กระเป๋าอกเสื้อด้านซ้ายมือ (รูปที่ 2)


บางท่านก็อาจมีการปักชื่อบริเวณอก หรือหากต้องการซื้อยาจากร้านยาแผนปัจจุบันชั้น 1

ก็จะมีชื่อเภสัชกร ให้สังเกตจากป้าย ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการสีน้ําเงิน ซึ่งจะระบุชื่อเภสัชกรที่

ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แขวนอยู่หน้าร้าน เราสามารถสอบถามได้ว่า

เภสัชกรในขณะนี้อยู่ปฏิบัติการหรือไม่ หากไม่พบเภสัชกร สามารถแจ้งหรือร้องเรียนได้ที่

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกแห่ง โดยให้ระบุชื่อเภสัชกรที่ไม่พบ วัน เวลา ที่ไปใช้

บริการ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย และจริยธรรม
 

หากเก็บยาในตู้เย็น จะใช้ได้เกินวันหมดอายุไหม

ไม่ได้ การเก็บยาไว้ในตู้เย็นไม่ได้ช่วยยืดอายุของยา การเก็บยาในตู้เย็น เป็น

เงื่อนไขสําหรับยาบางรายการ แต่ไม่ทุกรายการที่ต้องเก็บในตู้เย็น สําหรับยาที่กําหนดให้

เก็บไว้ในตู้เย็นนั้นเนื่องจากยาเหล่านั้นอาจเสื่อมสลายได้หากอยู่ในอุณหภูมิที่สูงเกินกว่า

กําหนด นอกจากนี้ยาบางชนิดต้องหลีกเลี่ยงการเก็บในตู้เย็น เนื่องจากอาจทําให้เกิดปัญหา

ต่างๆ เช่น เกิดการตกตะกอน ทําให้ยาไม่คงตัว สีเปลี่ยน เกิดการทําลายยา ได้ เช่น ยา

น้ำเชื่อมอาจมีปัญหาการตกผลึกของน้ําตาลหากเก็บไว้ในตู้เย็น ดังนั้นทุกครั้งที่ได้รับยาควร

สอบถามเรื่องการเก็บรักษายาที่ได้รับกับเภสัชกรทุกครั้งเพื่อให้ยามีคุณภาพตลอดช่วงของ

การรักษา ยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น แต่เก็บไว้ข้างนอก ไม่สามารถที่จะคาดการณ์วันหมดอายุ
 
ได้ ยกเว้นยาบางชนิดที่มีการทดสอบความคงตัว เช่น ยาฉีดอินซูลิน ต้องเก็บในตู้เย็น หาก

เก็บไว้ที่ภายนอก ไม่โดนความร้อน หรือแสงแดด ก็จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 เดือน

เป็นส่วนมาก

ยาผงเติมน้ำจะหมดอายุอย่างไร เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาวิตามิน

ยาผงเติมน้ํา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาวิตามิน หากยังไม่ได้ผสมจะมีอายุถึงวันที่ กําหนด

(สังเกตจากฉลากยาเหมือนยาทั่วไป ) แต่หลังผสมน้ําแล้วโดยทั่วไปจะเก็บที่

อุณหภูมิห้องได้ 7 วัน แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้นาน 14 วัน อย่างไรก็ตามจะขึ้นกับ สูตร

ตํารับของแต่ละบริษัท ซึ่งหากมีการระบุที่แตกต่างไปจากนี้ ก็ให้ยึดถือข้อมูลของบริษัทเป็น

หลัก เภสัชกรจึงควรเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการ และที่สําคัญอีกประการคือ ปริมาตร

สุดท้ายหลังจากเติมน้ํา จะต้องไม่เกินตําแหน่งที่ระบุบนฉลาก หรือที่ขวด ไม่ใช่เติมน้ํา

ตามใจชอบ หรือเติมจนถึงคอขวด เพราะจะทําให้ได้รับยาน้อยกว่าที่ควร และยาอาจเสื่อม

ได้ไวกว่าปกติ
 

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

อายุยาเหลืออีก 1-2 เดือน จึงหมดอายุ จะยังคงใช้ยานั้นได้หรือไม่

หากตอบตามหลักการยาดังกล่าวยังคงใช้ได้ เพราะยายังไม่หมดอายุ อย่างไรก็ตามขึ้นกับ

เงื่อนไขการเก็บยานั้น ๆ ด้วย เช่น ยาต้องเก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส จึงมี

อายุถึงวันที่ระบุไว้ แต่ถ้าตู้หรือชั้นที่เก็บยามีอุณหภูมิสูงกว่า ยาก็อาจมีอายุสั้นลง ยาครีม

บางตัวต้องเก็บในที่เย็น หรือตู้เย็น แต่เก็บไว้ที่ห้องปกติ ยาก็จะหมดอายุก่อนวันที่ระบุ แต่

ไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าวันไหน แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเช่น สี กลิ่น

รส กร่อน เยิ้ม บูด แยกชั้น เขย่าไม่กระจาย เป็นต้น ก็ไม่ควรใช้เหล่านั้น ดังนั้นเวลาที่ได้ยา

มาจากโรงพยาบาล คลินิก ร้านยา ก็ควรรับประทานต่อเนื่องจนหมด ยกเว้นยาที่ให้

รับประทานเมื่อมีอาการ เช่น ปวดหัว คลื่นใส้ หรือให้อ่าน ข้อมูลจากฉลากยาสําหรับยา

บางรายการ ซึ่งเมื่อเติมน้ําแล้ว อายุยาจะจํากัด สั้นลง ไม่เป็นไปตามวันหมดอายุเดิม

สิ่งที่อยากแนะนําอีกประการหนึ่งคือ เมื่อต้องกลับไปรับการรักษาพยาบาล หรือรับยา

รักษาอย่างต่อเนื่อง ควรนํายาที่รับประทานอยู่ประจํา ไม่ว่าจะได้จากที่ไหน หรือเหลือมา

แต่เมื่อไร นําติดตัวไปด้วย เพื่อให้เภสัชกร ได้ตรวจสอบ และบันทึกข้อมูลเพื่อส่งต่อแพทย์

เป็นการลดปัญหาการให้ยาซ้ําซ้อน ยาตีกัน หรือสั่งยาในขนาดที่ไม่เป็นไปตามที่เคยใช้ หรือ

เสี่ยงต่อการได้รับยามากเกิน และทําให้ยาเหลือใช้ เก็บไว้เป็นความเสี่ยง



ยาที่แบ่งนับเม็ด แบ่งบรรจุ หรือยาที่เปิดใช้แล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าหมดอายุ

วันหมดอายุยาจะบอกว่ายาที่ยังไม่ได้ใช้ หรือยังอยู่ในภาชนะเดิมนั้นจะหมดอายุ

เมื่อไร แต่หากมีการเปิดใช้ หรือบ่อยครั้งไปโรงพยาบาลหรือร้านยา ได้รับยามาจากการ

แบ่งจากภาชนะเดิม เช่นยานับเม็ด หรือครีมที่ป้ายมาจากกระปุกใหญ่ ยาน้ําในขวด

พลาสติกเป็นส่วนมาก วันหมดอายุของยาก็จะเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่วันหมดอายุที่กําหนด

โดยบริษัทผู้ผลิต ซึ่งวันหมดอายุของยาเหล่านี้ห้องยาก็จะกําหนดวันหมดอายุขึ้นใหม่ โดย

นับจากวันที่แบ่งบรรจุโดยกําหนดว่ายาจะหมดอายุภายใน 1 ปีจากวันที่ทําการแบ่งบรรจุ

ซึ่งก็จะมีการระบุไว้เช่นกัน ดังนั้นหากเหลือยาเก็บไว้ที่บ้าน ไม่รู้ว่าจะหมดอายุเมื่อไร ไม่มี

การเขียนไว้ ก็อาจพิจารณาจากวันที่บนฉลากยาที่ระบุวันที่ได้รับมา หาก ยาเม็ดเกิน 1 ปี

หรือยาน้ําเกิน 6 เดือน ก็ให้ทิ้งไป ไม่ควรใช้ต่อ อย่างไรก็ตามหากพบว่าแม้ไม่ถึง 1 ปีหรือ

กําหนดเวลา แต่ยาเสื่อมสภาพ กร่อน ร่อน ยาน้ําสีเปลี่ยน มีกลิ่นผิดไป เหม็น เขย่าไม่เข้า

กันเป็นเนื้อเดียว หรือครีมแยกชั้น ก็ให้ทิ้งไป โดยมากยาเหล่านี้มักเป็นยาเหลือใช้ที่มีอยู่

ในครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์จ่ายมามากเกินความต้องการ ยาที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้

ตามที่แพทย์สั่ ง ยาที่ใช้ส าหรับรักษาตามอาการ แต่ปัจจุบันไม่มีอาการดังกล่าว เช่น

คลื่นไส้ อาเจียน หรือเป็นยาที่ได้มาซ้ าซ้อน หรือ มีคนให้มา เป็นต้น

“ยาเหลือใช้ ไม่ควรไว้ใจ ทุกครั้งที่ไป โรงพยาบาลใด น าไปให้ดู ได้รู้ทั้งหมด ลดยาตีกัน

ป้องกันยาเสื่อม ปลดเปลื้องอันตราย ปลอดภัยปลอดโรค”

 

นอกจากนี้สิ่งที่ต้อ งสังเกตุคือสภาพของยา เหล่านั้นจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง เช่น

ยาเม็ด ที่เสื่อมสภาพจะแตกร่วน กะเทาะ สี ซีด ถ้าเป็นเม็ดเคลือบอาจเยิ้มเหนียว

ยาแคปซูล ที่หมดอายุจะบวม โป่ง พอง หรือจับกัน เป็นก้อน ยาในแคปซูลเปลี่ยนสี

ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาแก้ ท้องเสีย ถ้าตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็งเขย่าแรง ๆ

ก็ไม่กระจายตัว แสดงว่ายานั้นเสีย


ยาน้ำเชื่อม ถ้าหากขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มี กลิ่นบูดหรือเปรี้ยว แสดงว่ายานั้นหมดสภาพแล้ว

ยาน้ าอีมัลชั่น เช่น น้ํามันตับปลา หรือยาระบาย พารัฟฟิน ปกติแล้วสามารถแยกชั้นได้ โดย

ตัวยาที่เป็นน้ํามันจะลอยอยู่ด้านบน เป็น เหมือนครีมข้นเพราะมีสารที่ช่วยให้น้ําเข้ากับน้ํามันได้

ส่วนน้ําจะอยู่ด้านล่าง เมื่อเขย่าแล้วต้องรวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้าเขย่าแล้วก็ไม่รวมเป็น

เนื้อเดียวกัน แสดงว่ายาเสีย ให้ทิ้ง

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ยาหมดอายุ หมายความว่าอย่างไร และจะดูได้จากตำแหน่งไหน

วันหมดอายุของยา หมายถึง วันที่คาดว่าตัวยาสําคัญที่ใช้ในการรักษาโรคของยา

นั้นๆ เหลือปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณที่กําหนดในสูตรตํารับนั้น ๆ ดังนั้นเพื่อ

ประสิทธิภาพ และปลอดภัยในการใช้ยา เราควรระบุได้ว่ายาต่างๆที่เราได้รับนั้นหมดอายุ

หรือยัง หรือจะหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพเมื่อไร เนื่องจากหากใช้ยาที่หมดอายุหรือเสื่อม

คุณภาพแล้ว นอกจากจะไม่มีผลในการรักษา ยังอาจทําให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

การสังเกตวันหมดอายุของยา เป็นหลักการเดียวกันกับอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ใน

ชีวิตประจําวันที่เราคุ้นเคย สําหรับยาสําเร็จรูป โดยทั่วไปการกําหนดวันหมดอายุจะขึ้นกับ

ประเภทของยา เช่น ยาเม็ดจะไม่เกิน 5 ปี และยาน้ํา 2-3 ปี นับจากวันผลิต อย่างไรก็ตาม

การกําหนดอายุยา อาจแตกต่างไปจากนี้ได้ โดยผู้ผลิตจะพิจารณาจากสารเคมีที่ใช้ ข้อมูล

การทดสอบความคงตัว หรือส่วนประกอบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท ซึ่งเราจะพบ

วันผลิต (Manufacturing date หรือ MFD.date) และวันหมดอายุ (Exp.date, Exp,Expiring,

Use by หรือ Use before)

บางครั้งก็อาจใช้คําว่า ยาสิ้นอายุ สามารถดูข้อมูลเหล่านี้จากกล่องบรรจุ ฉลากยา หรือบน

แผงยา ตําแหน่งมักเป็นบริเวณด้านใต้กล่อง หรือด้านล่างฉลาก โดยการอ่านวันหมดอายุ

แบบไทย ๆ จะเริ่มจากวัน เดือน ปี อาจจะ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ก็ได้ แต่ถ้ามีเฉพาะ เดือน และ ปี

ให้นับวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ

ดังตัวอย่าง  เช่น จากรูป EXP 08 2012 หมายถึง

ยาหมดอายุเดือน สิงหาคม (ไม่ระบุวันที่ จะนับถึงสิ้นเดือน)

ปี ค.ศ. 2012 หรือ พ.ศ. 2555

ลองพิจารณาวันหมดอายุ

Exp. Date 27/2/2554 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............

EXP.DATE 17.2.13 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............

Exp 04/14 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............

(คําตอบ วันที่ 27 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554, วันที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

หรือ พ.ศ. 2556, วันที่ 30 เดือน เมษายน ค.ศ. 2014 หรือ พ.ศ. 2557)

จำเป็นไหมว่าต้องมีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิตู้เย็น




อาจไม่จําเป็นขนาดนั้น เนื่องจากยาที่แนะนําให้ใส่ในตู้เย็นหลายรายการไม่ได้

เข้มงวดมากว่าห้ามเกิน 8 องศาเซลเซียส ในทางกลับกันควรป้องกันว่าช่องธรรมดา

อุณหภูมิต้องไม่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยอาจสังเกตจากน้ําที่แช่ไว้ว่ามีเปลี่ยนเป็น

น้ําแข็งหรือไม่ ซึ่งอาจทําให้ยาบางชนิดเสื่อมสภาพ เช่นอินซูลิน หลีกเลี่ยงการตั้งระดับ

อุณหภูมิภายในตู้เย็นเป็นระดับเย็นสูงสุด เพราะนอกจากเปลืองกระแสไฟฟ้า ก็อาจทําให้

อุณหภูมิต่ํากว่าที่ควรเป็นอย่างไรก็ตามหากสามารถจัดหาเทอร์โมมิเตอร์ได้ ก็เป็นสิ่งที่ช่วย

ให้ระบุได้ว่าตู้เย็นนั้นมีอุณหภูมิในช่วงที่เหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะหากต้องเก็บรักษายา

เป็นเวลานาน ซึ่งช่วงที่ต้องการคืออยู่ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส การดูแลจะให้เหมาะ

ควรอยู่ที่ 5 องศาเซลเซียส เพราะสามารถบวก /ลบ ได้ เท่ากับ 3 องศาเซลเซียส เป็นการ

ป้องกันความเสี่ยงของอุณหภูมิที่สูง หรือต่ำเกิน
 

เก็บยาในตู้เย็น ต้องจัดเก็บตำแหน่งไหนจึงเหมาะสม

บริเวณ ชั้นวางด้านใน ตู้เย็นอุณหภูมิจะคงที่มากกว่าบริเวณขอบประตูตู้เย็น

หลักการทั่วไปจึงไม่ควรเก็บยาที่ประตูตู้เย็น อย่างไรก็ตามการเก็บยาที่บ้านมักไม่เก็บนาน

เหมือนที่โรงพยาบาล ตําแหน่งการเก็บยาจึงไม่เข้มงวดมาก เพราะยาที่เก็บมักมีเงื่อนไข

อายุหลังเปิดใช้ทั้งสิ้น เช่นยาหยอดตาหลังเปิดใช้แล้วเก็บได้เพียง 1 เดือน อินซูลินหลังเปิด
 
ใช้แล้ว ก็เก็บได้นานเพียง 4-6สัปดาห์เป็นส่วนมาก ยาผงเติมน้ำสําหรับรับประทานมักเก็บ

เพียง 7-14 วัน แต่หากเป็นกรณีที่ต้องเก็บยาเป็นระยะเวลานาน เช่น ได้รับการจ่ายยา

อินซูลินมาสําหรับการฉีดเป็นเวลา 3 เดือน การเก็บยาอินซูลินดังกล่าวอย่างถูกต้องก็จะมี

ความสําคัญ ควรหาภาชนะมาจัดเก็บยาอินซูลินเหล่านั้น ง่ายในการหยิบ ลดการปนเปื้อน

จากไอของอาหาร และเพื่อแยกจากอาหารที่เก็บในตู้เย็น โดยเฉพาะอาหารปรุงสุกประเภท

ต่าง ๆ เนื่องจากในขณะที่เก็บอาหารปรุงสุกเหล่านั้นมักมีอุณหภูมิสูง และชั้นที่เหมาะจึงมัก

เป็นชั้นที่อยู่ใกล้ตําแหน่งที่มีช่องความเย็น และไม่วางไว้หน้าช่องดังกล่าวตรง ๆ ไม่เก็บที่

ประตูตู้เย็น

ยาแช่เย็น หากที่บ้านไม่มีตู้เย็นจะทำอย่างไร

ยาที่จ่ายให้ผู้ป่วยกลับบ้าน มีเพียงไม่กี่ประเภ ทที่ต้องเก็บในตู้เย็น เช่น วัคซีน

อินซูลิน ยาหยอดตาที่เปิดใช้แล้ว ยาผงเติมน้ำสําหรับเด็กชนิดรับประทาน อย่างไรก็ตามมี

เพียง วัคซีน และอินซูลินที่ยังไม่เปิดใช้เท่านั้นที่จําเป็นต้องเก็บในตู้เย็น ต่อเนื่อง ดังนั้นหาก

ไม่มีตู้เย็น ให้พึ่งเพื่อนบ้าน หรือพึ่งสถานีอนามัย สถานบริการปฐมภูมิ กรณีที่ไม่ใช่ยา 2

รายการดังกล่าว ให้หาบริเวณที่เย็นที่สุดของบ้านในการเก็บยาเหล่านั้นได้ สําหรับยาหยอด

ตาหากใช้เป็นครั้งคราว หากไม่มีตู้เย็นเมื่ออาการดีขึ้นหรือหายแล้ว ก็อาจไม่จําเป็นต้องเก็บ

ไว้ สําหรับยาบางรายการเช่น ยาเหน็บทวารหนัก ที่เป็นขี้ผึ้ง ยาดังกล่าวไม่จําเป็นต้องเก็บ

ในตู้เย็น แต่ก่อนใช้ควรแช่เย็น หรือแช่น้ําแข็ง เพื่อให้ขี้ผึ้งภายในแข็งตัวสามารถเหน็บช่อง

ต่าง ๆ ของร่างกายได้ง่าย หากไม่มั่นใจ ให้สอบถามเภสัชกรว่ายารายการใดจําเป็นต้องเก็บ

เงื่อนไขอย่างไร

หากต้องเดินทางจะนำอินซูลินไปด้วยได้อย่างไร

การเก็บยาอินซูลินที่นําติดตัวไป ด้วยขณะเดินทางนั้น ไม่จําเป็นต้องแช่เย็นยา อินซูลินก็ได้

เนื่องจากยาสามารถเก็บไว้ที่ อุณหภูมิห้องได้นาน 1 เดือน อย่างไรก็ตามระหว่างการเดินทาง

ควรเก็บยาอินซูลินในถุงหรือกระเป๋าถือที่ติดตัว โดยไม่ควรเก็บใน กระเป๋าเดินทางที่ต้องเก็บ

ไว้ในห้องสัมภาระของยานพาหนะ ซึ่งมีโอกาสจะสัมผัสกับ อากาศร้อนหรือเย็นเกินไปได้

ขณะที่อยู่ในห้องสัมภาระ ไม่ควรใส่กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง เพราะยาอาจสัมผัสกับอุณหภูมิสูง

จากร่างกาย และหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ ๆ มีการเขย่า หรือสั่นอย่างรุนแรง แต่หากการเดินทาง

เป็นระยะยาวไกล หรือต้องสัมผัสกับแสงแดด โดย ตรง แม้ว่าจะอยู่ในกระเป๋าถือ ก็เสี่ยงต่อ

อุณหภูมิที่สูง การเก็บในภาชนะเล็ก ๆ ที่ เหมาะสมมีฝาปิด และอาจมีถุงซิปใส่น้ําแช่จนแข็ง

บรรจุร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความเย็น ก็น่าจะเหมาะสมกว่าการเก็บในกระเป๋าถือแต่เพียงอย่างเดียว

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ถ้านำยาอินซูลินออกมาไว้ที่ข้างนอกตู้เย็น 1 วัน ยาจะเสียไหม

หากจัดเก็บยาอินซูลินไว้ในบริเวณที่เป็นอุณหภูมิห้อง (25-30 เซลเซียส) ยาจะมี

อายุนาน 1 เดือน แต่ก็มีอินซูลินบางบริษัทที่ระบุว่าสามารถเก็บได้นาน 6 สัปดาห์ ควร

สอบถามเภสัชกรที่จ่ายยาให้แก่ท่าน ดังนั้นถ้านํายาอินซูลินออกมาไว้นอกตู้เย็น 1 วัน จึง

ยังไม่มีผลต่อคุณภาพของยา แต่เนื่องจากอุณหภูมิของบ้านเรามักสูงกว่า 25 เซลเซียส การ

เก็บไว้นอกตู้เย็นจึงไม่เหมาะสมเท่าไร แนะนําให้เก็บยาอินซูลินในตู้เย็นช่องธรรมดาคือ

2- 8 เซลเซียส (ห้ามแช่อินซูลินในช่องแช่แข็งเนื่องจากทําให้ตัวยาเสื่อมสภาพ หรือเก็บในชั้น

เก็บผักเพราะอาจปนเปื้อนง่าย) แต่หากเผลอไปแช่ในช่องแช่แข็ง ให้รีบนํายากลับลงมาแช่

ตู้เย็นช่องธรรมดาทันทีที่นึกได้ หากเก็บไว้นานจนกลายเป็นน้ําแข็ง อาจสูญเสียสภาพ หรือ

ความแรงของยาให้ทิ้งไป ในกรณีที่ยาสัมผัสถูกแสงแดดโดยตรงหรืออยู่ในที่ร้อนจัด ยาอาจ

เสื่อมสภาพได้ ควรทิ้งทันที แล้วเปิดใช้ขวดใหม่ สําหรับยา อินซูลินที่ยังไม่ได้ถูกเปิดใช้

หากเก็บไว้นอก ตู้เย็น ก็จะเก็บได้นานแค่ 1 เดือนเหมือนเปิดใช้แล้ว ดังนั้นอินซูลินที่ยังไม่ได้

เปิดใช้จึงควร เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาตามที่กล่าวแล้ว

อุณหภูมิที่เก็บยา มีแบ่งออกเป็นกี่ช่วง อย่างไร

ยาหลายชนิดจะมีการเสื่อมสลายเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม สามารถแบ่ง อุณหภูมิ
ที่เก็บรักษายาอย่างกว้าง ๆ ได้ 3 ช่วง จะรู้ว่าควรเก็บใ นช่วงไหน อย่างไร ได้จาก ข้อมูล
บนภาชนะบรรจุ อย่างไรก็ตามจําเป็นที่จะต้องรู้ว่าแต่ละช่วงหมายความว่าอย่างไร
ได้แก่

1. ช่วงแช่แข็ง (freezer) เป็นอุณหภูมิระหว่าง -25 ถึง -10 องศาเซลเซียส เป็น อุณหภูมิช่อง
แช่แข็ง ยาที่เก็บส่วนมากเป็นวัคซีน เช่น วัคซีนโปลิโอ ชนิดรับประทาน ปกติ แล้วสถานพยาบาล
โรงพยาบาล จะเป็นผู้เก็บรักษาเป็นส่วนมาก

2. ช่วงตู้เย็น (refrigerator) เป็นอุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ยาที่ ระบุว่าเก็บในตู้เย็น
จะเก็บที่ชั้นปกติ หรือชั้นกลางตู้ ไม่เก็บที่ฝาตู้เย็นเพราะอุณหภูมิไม่คงที่ หรือเก็บช่องแช่แข็ง หรือชั้น
ใต้ช่องแช่แข็งเพราะอาจเย็นจัดเกินไป เช่น อินซูลิน ยาหยอดตาที่เปิดใช้แล้ว เป็นต้น

3. ช่วงอุณหภูมิห้อง (room temperature) เป็นอุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส หรือไม่ควร
เกิน 30 องศาเซลเซียส ซึ่งจะแตกต่างจากอุณหภูมิปกติบ้านเรา และโดยทั่วไป บ้านเรือน ที่พักอาศัย
 มักไม่มีการเปิดเครื่องปรับอากาศในเวลากลางวัน ดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่ต้องเก็บยาในที่ไม่ร้อน
ไม่ชื้น หรือแสงแดดส่องไม่ถึง

ลืมยาไว้ในรถยนต์ จอดกลางแจ้ง เป็นเวลาหลายชั่วโมง ยาจะยังคงใช้ได้หรือไม่

การเก็บยาในรถยนต์ที่จอดตากแดดในเวลากลางวันเปรียบได้กับการเก็บยาไว้ใน สภาวะแวดล้อมที่

ร้อนจัด ซึ่งทําให้ยาเสื่อมสภาพได้ จึงไม่ควรนํามาใช้ต่อ ไม่ว่าจะเป็นยา เม็ด ยาน้ำ หรือรูปแบบ

ต่าง ๆ เพราะไม่มีใครบอกได้ว่ายาเสื่อมไปแล้วอย่างไร นอกจากการวิเคราะห์หาตัวยาสําคัญ

นอกจากนี้แม้ว่าจะมีที่จอดรถเฉพาะ ภายในอาคาร ไม่ตาก แดด ก็หลีกเลี่ยงการเก็บยาในลิ้นชัก

หน้ารถ เพราะมีอุณหภูมิที่สูงแม้จอดใต้อาคาร หรือใน ระหว่างการขับขี่ คิดว่าคงเคยเข้าไปนั่งในรถ

ที่จอดตากแดดทิ้งไว้ ท่านรู้สึกอย่างไร ยาเองก็ ได้รับความร้อนตรงๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งมีผลให้ยา

เสื่อมสภาพก่อนกําหนด แม้ว่าไม่สามารถ จะบอกได้จากลักษณะภายนอก แนะนําไม่ให้ใช้ ดังกล่าว

โดยเฉพาะหากเป็นยาสําคัญที่ใช้ รักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น เพราะ

นอกจากไม่ได้ผล ก็อาจ เป็นอันตรายจากยาที่เปลี่ยนแปลงไป

ยาที่ต้องเก็บพ้นแสง สามารถแกะใส่กล่องได้ไหม

ในกรณีที่ยาบรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันแสงได้อยู่แล้ว ให้เก็บยาดังกล่าวไว้ใน ภาชนะที่บรรจุ

ห้ามเอายาออกนอกภาชนะ ห้ามแกะเม็ดยาออกจากแผงอลูมิเนียม ในกรณี ที่ยาบรรจุอยู่ในภาชนะ

ที่ไม่สามารถป้องกันแสงได้ ทางห้องยาจะใส่ยาไว้ให้ในซองสี ชา เวลาหยิบยาออกมารับประทาน

เรียบร้อยแล้ว ก็นํายาเก็บไว้ในซองสีชาตามเดิม ไม่ควร แกะเม็ดยาใส่กล่องไว้ อย่างไรก็ตามหาก

ต้องจัดยาไว้ล่วงหน้าสําหรับผู้สูงอายุ สามารถ กระทําได้โดยไม่ควรจัดเตรียมไว้นานกว่า 1 สัปดาห์

หากเป็นไปได้ยาที่อยู่ในแผง ให้คงไว้ เหมือนเดิม และควรเตรียมโดยหากล่องพลาสติกสําเร็จรูปมา

แยกเป็นรายวัน หรือรายมื้อเพราะนอกจากแสง แล้วยา อาจมีผลกระทบจาก ความชื้น ยาหลายขนาน

หากโดนความชื้นก็ทําให้เสื่อมสภาพได้เช่นกัน เช่น ยาบางรายการ ในกลุ่ม ยาลดความดันโลหิต/

ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ/ยาจิตเวช/ยาธัยรอยด์ เป็นต้น