Medtang

Custom Search

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

การรับประทานยาจำเป็นต้องดื่มน้ำตามหรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว การรับประทานยาควรดื่มน้ำตาม โดยเฉพาะการรับประทานยา

เม็ดทั้งนี้เพื่อเพิ่มการแตกตัวหรือการกระจายตัวของยาออกเป็นอนุภาคเล็กๆ ยาจะได้ดูด

ซึมได้ดี โดยเฉพาะยาแคบซูลที่มักพบว่ามักไม่ดื่มน้ำตาม เนื่องจากเปลือกลื่น หลายท่านจึง

กลืนสะดวกโดยไม่ดื่มน้ํา ส่งผลให้โอกาสที่แคปซูลจะเปื่อยยุ่ยก็จะยากขึ้น ดังนั้นอาจทําให้

ยาออกฤทธิ์ได้ช้า เพราะไม่สามารถกระจายตัวออกจากแคปซูล ยาเม็ดก็เช่นเดียวกัน

ทดสอบง่าย ๆ โยนยาลงไปในแก้วน้ํา 2 ใบ ใบหนึ่งมีน้ํามาก อีกใบน้ำอยู่ก้นถ้วย ลองดูการ

กระจายตัวของยาเปรียบเทียบกัน นอกจากนี้ยาบางรายการเช่น ยากลุ่มซัลฟา ไม่ว่าจะ

รับประทานในรูปยาเม็ด หรือยาน้ําสําหรับเด็ก ในขณะที่ใช้ยานี้อยู่ ควรดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อ

เพิ่มปริมาณปัสสาวะ ช่วยให้ไตทํางาน หรือขับยาได้ดี ลดความเป็นพิษต่อไตที่อาจเกิดขึ้น

ดังนั้นเพื่อลดอาการติดคอ เพิ่มการละลาย ลดความเป็นพิษต่อไต ทําให้ยาขับถ่ายออกได้ดี

หลังรับประทานยาจึงควรดื่มน้ำตามมากๆ

ยาก่อนอาหารและหลังอาหาร รับประทานรวมกันครั้งเดียวได้ไหม

ไม่ได้เนื่องจากยาที่รับประทานก่อนอาหารต้องรับประทานตอนท้องว่างเท่านั้น


รับประทานหลังอาหารไม่ได้ แต่ยาหลังอาหารถ้าไม่ได้รับประทานอาหารอาจจะ

รับประทานได้ในบางกรณี เนื่องจากยาที่ให้รับประทานหลังอาหารเพราะต้องการให้สะดวก

ต่อการรับประทานยา แต่ยกเว้นยาบางชนิดที่ต้อง รับประทานยาหลังรับประทานอาหาร

ทันที เช่น ยาแก้ปวดข้อเกือบทุกชนิด เนื่องจากยาอาจระคายเคืองกระเพาะอาหารหรือ

ทําให้เกิดโรคกระเพาะอาหารตามมาได้ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือไม่ควรนํายาต่างเวลามา

รวมกันแล้วรับประทานครั้งเดียว ซึ่งนอกเหนือจากเวลาไม่เหมาะสม ยังอาจเกิดการไม่เข้า

กันของยาได้

ยาก่อนอาหารมื้อกลางวัน หากนึกได้ตอนจะรับประทานข้าวเที่ยง จะทำอย่างไร

วิธีที่ถูกต้องในการรับประทานยาก่อนอาหาร คือ รับประทานยาก่อนรับประทาน
อาหารประมาณ 30-60 นาที หากลืมและนึกได้ก่อนรับประทาน อาหาร วิธีที่ส่งผลกระทบ

น้อยที่สุด คือรับประทาน ยาเดี๋ยวนั้น และเลื่อนเวลารับประทานอาหารออกไป อย่างน้อย

30 นาที แต่หากนึกได้ขณะรับประทานอาหาร ให้รับประทานยาหลังจากรับประทาน

อาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง เนื่องจากยาที่ต้องรับประทานก่อนอาหารเป็นยาที่ดูดซึม

ได้ดีที่สุดในขณะที่ท้องว่าง ดังนั้นจึงต้องรอให้อาหารนั้นย่อยก่อนให้หมดถึงจะรับประทาน
ยาได้ วิธีนี้ใช้ได้กับยาที่รับประทานก่อนอาหารทุกมื้อ

แต่ถ้าลืมรับประทานยาหลังอาหารอันนี้ไม่ยาก ก็ให้รับประทานทันทีที่นึกได้แต่

ถ้าอีก 1-2 ชั่วโมงใกล้ถึงมื้อถัดไปแล้วก็ให้เว้นมื้อนี้เสีย แล้วรับประทานมื้อถัดไปได้เลยโดย

ไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า วิธีนี้เหมาะกับยาที่รับประทาน วันละ 3-4 ครั้ง เพราะมัก

เป็นยาที่ออกฤทธิ์ไม่นาน และขนาดยาที่ใช้มักไม่เป็นขนาดสูงสุดที่สามารถให้ได้

รับประทานยาตอนท้องว่างหมายความว่าอย่างไร

ยาบางชนิดอาหารจะมีผลต่อการดูดซึมของยานั้น โดยทําให้มีการดูดซึมยาลดลง
หรือบางขนานจะไม่ทนกรดในกระเพาะ เช่น ยาปฏิชีวนะบางตัว ได้แก่ เพนิซิลลิน อิริโธร

มัยซิน เมื่อรับประทานหลังอาหาร อาหารจะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดออกมาย่อยอาหาร

เหล่านั้น กรดก็จะมีผลทําลายยาเหล่านี้ได้หากรับประทานหลังอาหาร หรือยา บางรายการ

จะจับกับสารอาหารทําให้ไม่ดูดซึม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาเหล่านี้พร้อม

หรือใกล้มื้ออาหาร แพทย์ หรือเภสัชกรจึงแนะนําให้รับประทานตอนท้องว่าง โดย

รับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือ รับประทานหลังอาหาร 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยา

ลดกรดเองก็อาจแนะนําให้รับประทานตอนท้องว่าง เพราะต้องการให้ยาเคลือบผนัง

กระเพาะได้ดี

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ฉลากยาบอก “รับประทานหลังอาหารทันที” รับประทานหลังนมแทนได้ไหม

ยารับประทานหลังอาหาร หากรับประทานพร้อมนม อาจมีทั้งทําได้ และทําไม่ได้

คําว่า อาหาร นั้นหมายถึงอะไรได้บ้าง โดยทั่วไปมักจะเข้าใจว่าคือ ข้าว เพียงอย่างเดียว

ซึ่งอาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน นอกจากข้าวแล้วจะรับประทานนม หรือ

ขนมปัง หรืออาหารประเภทใด ๆ ก็ได้ ทั้งสิ้น เพราะยาบางตัวมีผลระคายเคือง

กระเพาะอาหาร เราหวัง ใ ห้อาหารที่ รับประทานเข้าไปจะช่วยป้องกันกระเพาะ อาหาร

ลดการระคาย เคืองจากยาโดยตรง ดังนั้นจึงช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้

แต่มียาบางตัว เช่น ยาฆ่าเชื้อนอร์ฟลอกซา ซิน, ซิโปรฟลอกซาซิน และ โอฟลอกซาซิน

ไม่ควรรับประทานร่วมกับนม โดยนมจะลดการ ดูดซึมยา ให้รับประทานยาหลังอาหาร (ข้าว)

และดื่มน้ําเปล่าตาม บางครั้งนมก็ไปจับกับยา ทําให้เป็นโมเลกุลใหญ่ ไม่ดูดซึม

ดังนั้นบ่อยครั้ง อาจได้รับยาที่เภสัชกรแนะนําว่าให้ รับประทานหลังอาหาร

แต่ไม่ควรรับประทานพร้อมนมหรือยาลดกรด

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

มักลืมรับประทานยาบางครั้งก็ลืมวิธีใช้จะทำอย่างไรให้ไม่ลืม

สําหรับผู้ป่วยที่รับประทานยา เป็นครั้งคราว มักมีโอกาสลืมรับประทานยาง่าย

กว่าผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยา ต่อเนื่อง มีข้อเสนอแนะมากมาย อย่างไรก็ตามผู้ลืม

รับประทานยาจะเป็นผู้ที่บอกได้ดีว่า ที่ตนเองลืมมีสาเหตุจากอะไร หรือลืมอย่างไร ใช้วิธีที่

เหมาะกับตนเอง ข้อเสนอแนะเช่น

1. จดเป็นข้อความเล็ก ๆ เตือนเอาไว้ว่าต้องรับประทานยาอะไรบ้าง โดยติด

บริเวณที่เห็นได้ง่ายเช่น ลูกบิ ดประตูก่อนออกจากบ้าน หรือบริเวณที่นั่ง

ทํางาน หรือที่มีกิจกรรมตลอดเวลา

2. หากมีมือถือ จะตั้งให้เตือนเหมือนนาฬิกาปลุกตามเวลาที่รับประทานยา

3. โยงเรื่องเวลารับประทานยากับกิจกรรมที่ต้องทําในช่วงเวลานั้น และท่องซ้ํา

ไปมา เพื่อบันทึกความจําตนเอง

4. ทําแบบบันทึกลักษณะปฏิทินยาโ ดยแบ่งช่องในแต่ละวันตามจํานวนครั้งที่

ต้องรับประทานยา แล้วกากบาทหรือทําเครื่องหมายทุกครั้งเมื่อรับประทาน

ยาในมื้อนั้น ๆ แล้ว

5. จัดยาเป็นรายสัปดาห์โดยใช้กล่องบรรจุยาที่มีจําหน่ายในลักษณะที่เป็นมื้อ

6. หาข้อมูลจากแพทย์ เภสัชกร ว่ายาดังกล่าวหากลืมรับประทาน จะก่อให้เกิด

ผลเสียอย่างไรตามมา เพื่อสร้างความตระหนัก ซึ่งอาจช่วยให้ลดการลืม

รับประทานยา

7. หาข้อมูล คําแนะนํา หรือวิธีการปฏิบัติ หากลืมรับประทานยาจะต้องทํา

อย่างไร

8. ไม่นํายามารวมกัน ให้เก็บยาในภาชนะที่ใส่มาหรือได้รับจากสถานพยาบาล

จะช่วยให้ลดการจดจําวิธีใช้ยา เพราะภาชนะจากสถานพ ยาบาลจะมีวิธีใช้

ยาอยู่ และยังลดการสับสน

9. หลีกเลี่ยงการนํายาออกจากซองทั้งหมดมากองรวมกัน เพราะจะจําไม่ได้ว่า

มาจากซองใด มักพบว่ามีการใส่กลับคืนคลาดเคลื่อน

ก็เป็นข้อเสนอแนะส่วนหนึ่ง ผู้ใช้ยาต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นปัจจัยที่มักทําให้ลืม และแก้ไข

ประเด็นนั้นเป็นสําคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือไม่ได้ จะทำอย่างไรจึงรับประทานยาได้ถูกต้อง

หลายท่านคงประสบปัญหามีญาติ เช่น คุณตา คุณยาย คุณปู่ คุณย่า พ่อ แม่ ที่

อายุมากๆ อ่านหนังสือไม่ออก หรือมองตัวหนังสือเล็กๆ ไม่เห็น ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักทําให้

การควบคุมโรคที่เป็นอยู่ไม่ดีนักหรือไม่ ทุเลา เนื่องจากรับประทานยาได้ไม่ถูกต้อง ซึ่งการ

รับประทานยาเป็นส่วนสําคัญในการรักษา

โรคต่างๆ ดังนั้นแนวทางแก้ไขเช่น

1) ให้มีคนจัดยาให้ผู้ป่วยรับประทาน เช่น ผู้ที่ดูแลใกล้ชิด หรืออยู่กับผู้ป่วย หรือ

อาจจัดยาใส่กล่องหรืออุปกรณ์ช่วย และทําสัญลักษณ์ที่เข้าใจตรงกันไว้ให้


2) เมื่อไปรับบริการจากสถานพยาบาลควรกําชับผู้ป่วยให้แจ้งแก่เภสัชกร หรือห้ องจ่ายยา

ว่าอ่านหนังสือไม่เข้าใจ หรือมองตัวหนังสือไม่ชัดเจน ซึ่ง หลายแห่งจะมีสัญลักษณ์เป็น

รูปภาพไว้แสดงความหมายของการรับประทานยา ขึ้นกับแต่ละโรงพยาบาลจัดทํา

เพื่อให้ผู้ป่วยในแ ต่ละแห่งเข้าใจตรงกัน ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างที่ส่วนใหญ่มักทําให้

เข้าใจตรงกัน สัญญลักษณ์ไก่และพระอาทิตย์ขึ้นหมายถึงเวลาเช้า พระ

อาทิตย์จ้า หมายถึงกลางวัน พระอาทิตย์สีดําตกน้ํา หมายถึงตอนเย็นแสงไม่มีแล้ว และ

เตียงนอน มีพระจันทร์ ดาว หมายถึงก่อนนอน



3) สัญญลักษณ์วงกลมหมายถึงยาเม็ด โดยมีขนาดที่รับประทานแตกต่างกันไป ตามที่ระบุ

ไว้ในกรอบ

อย่างไรก็ตามในระยะแรกผู้ที่ดูแลควรเป็นผู้จัดยาไว้ให้ ซึ่งอาจจัดแยกเป็นมื้อในแต่ละ

วันก่อนที่จะออกไปข้างนอกหรือทํางาน และเมื่อกลับมาก็พิจารณาว่ามียาเหลืออยู่หรือไม่

เพื่อให้คําแนะนําเพิ่มเติม สําหรับยาเม็ดหากไม่จําเป็นก็ไม่ควรแกะออกจากแผง เพราะจะ

ช่วยกันความชื้น หรือแสง หากยานั้นโดนความชื้นหรือแสงไม่ได้

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ยาปฏิชีวนะที่เป็นน้ำเชื่อมอยู่แล้วจะเก็บได้ 7 วันหรือไม่

ยาปฏิชีวนะสําหรับเด็กบางรายการจะเป็นยาน้ําเชื่อมอยู่แล้ว หากยังไม่เปิดใช้ก็

จะมีอายุตามที่ระบุบนฉลาก แต่หากเปิดใช้แล้วยาดังกล่าวจะมีอายุลดลงแต่นานกว่า 7 วัน

อย่างไรก็ตามหากได้รับการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานติดต่อกันตามขนาด

และเวลาที่ระบุไว้ ต่อเนื่องทุกวันจนหมดขวด เพื่อให้เกิดผลการรักษา

ที่ดี ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา หรือกลับเป็นใหม่ และรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งการสั่งจ่าย

แต่ละครั้งแพทย์ ได้พิจารณาแล้วว่าจําเป็นที่ต้องรับประทานเท่า จํานวนที่จ่าย

จึงไม่ควรเหลือเก็บ และไม่ต้องกังวล ว่าจะได้รับยามากเกินไป ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ

ที่ยัง ไม่เติมน้ํา เขย่าผงยาให้ฟูขึ้นมา และเติมน้ําสุกที่เย็นแล้วลงไปพอท่วมยา เขย่าให้ผงยา

กระจายให้ทั่ว จากนั้นเติมน้ําสุกลงปรับปริมาตรจนถึงขีดข้างขวดที่ระบุไว้ เขย่าให้ตัวยา

เข้ากันอีกครั้ง เก็บยาในตู้เย็น ยาจะมีอายุอยู่ได้ 7-14 วันขึ้นกับตัวยา และบริษัท ให้ดูที่

ฉลากเป็นสําคัญ


วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ไปร้านยารู้ได้อย่างไรว่าผู้ขายเป็นเภสัชกร

การเลือกเข้าร้านยา หากไม่ใช่ร้านประจํา การมองหาร้านยาคุณภาพ ที่มี สัญญลักษณ์ตามรูปที่ 1


จะเป็นหลักประกันคุณภาพการให้บริการได้เป็นอย่างดี เพราะจะ มีเภสัชกรประจํา

และเป็นผู้ให้บริการ สภาเภสัชกรรมกําหนดให้เภสัชกรควรสวมเสื้อกาวน์

ซึ่งมีสัญญลักษณ์สภาเภสัชกรรมเป็นวงรีสีเขียวอยู่ที่กระเป๋าอกเสื้อด้านซ้ายมือ (รูปที่ 2)


บางท่านก็อาจมีการปักชื่อบริเวณอก หรือหากต้องการซื้อยาจากร้านยาแผนปัจจุบันชั้น 1

ก็จะมีชื่อเภสัชกร ให้สังเกตจากป้าย ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการสีน้ําเงิน ซึ่งจะระบุชื่อเภสัชกรที่

ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แขวนอยู่หน้าร้าน เราสามารถสอบถามได้ว่า

เภสัชกรในขณะนี้อยู่ปฏิบัติการหรือไม่ หากไม่พบเภสัชกร สามารถแจ้งหรือร้องเรียนได้ที่

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกแห่ง โดยให้ระบุชื่อเภสัชกรที่ไม่พบ วัน เวลา ที่ไปใช้

บริการ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย และจริยธรรม
 

หากเก็บยาในตู้เย็น จะใช้ได้เกินวันหมดอายุไหม

ไม่ได้ การเก็บยาไว้ในตู้เย็นไม่ได้ช่วยยืดอายุของยา การเก็บยาในตู้เย็น เป็น

เงื่อนไขสําหรับยาบางรายการ แต่ไม่ทุกรายการที่ต้องเก็บในตู้เย็น สําหรับยาที่กําหนดให้

เก็บไว้ในตู้เย็นนั้นเนื่องจากยาเหล่านั้นอาจเสื่อมสลายได้หากอยู่ในอุณหภูมิที่สูงเกินกว่า

กําหนด นอกจากนี้ยาบางชนิดต้องหลีกเลี่ยงการเก็บในตู้เย็น เนื่องจากอาจทําให้เกิดปัญหา

ต่างๆ เช่น เกิดการตกตะกอน ทําให้ยาไม่คงตัว สีเปลี่ยน เกิดการทําลายยา ได้ เช่น ยา

น้ำเชื่อมอาจมีปัญหาการตกผลึกของน้ําตาลหากเก็บไว้ในตู้เย็น ดังนั้นทุกครั้งที่ได้รับยาควร

สอบถามเรื่องการเก็บรักษายาที่ได้รับกับเภสัชกรทุกครั้งเพื่อให้ยามีคุณภาพตลอดช่วงของ

การรักษา ยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น แต่เก็บไว้ข้างนอก ไม่สามารถที่จะคาดการณ์วันหมดอายุ
 
ได้ ยกเว้นยาบางชนิดที่มีการทดสอบความคงตัว เช่น ยาฉีดอินซูลิน ต้องเก็บในตู้เย็น หาก

เก็บไว้ที่ภายนอก ไม่โดนความร้อน หรือแสงแดด ก็จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 เดือน

เป็นส่วนมาก

ยาผงเติมน้ำจะหมดอายุอย่างไร เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาวิตามิน

ยาผงเติมน้ํา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาวิตามิน หากยังไม่ได้ผสมจะมีอายุถึงวันที่ กําหนด

(สังเกตจากฉลากยาเหมือนยาทั่วไป ) แต่หลังผสมน้ําแล้วโดยทั่วไปจะเก็บที่

อุณหภูมิห้องได้ 7 วัน แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้นาน 14 วัน อย่างไรก็ตามจะขึ้นกับ สูตร

ตํารับของแต่ละบริษัท ซึ่งหากมีการระบุที่แตกต่างไปจากนี้ ก็ให้ยึดถือข้อมูลของบริษัทเป็น

หลัก เภสัชกรจึงควรเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการ และที่สําคัญอีกประการคือ ปริมาตร

สุดท้ายหลังจากเติมน้ํา จะต้องไม่เกินตําแหน่งที่ระบุบนฉลาก หรือที่ขวด ไม่ใช่เติมน้ํา

ตามใจชอบ หรือเติมจนถึงคอขวด เพราะจะทําให้ได้รับยาน้อยกว่าที่ควร และยาอาจเสื่อม

ได้ไวกว่าปกติ
 

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

อายุยาเหลืออีก 1-2 เดือน จึงหมดอายุ จะยังคงใช้ยานั้นได้หรือไม่

หากตอบตามหลักการยาดังกล่าวยังคงใช้ได้ เพราะยายังไม่หมดอายุ อย่างไรก็ตามขึ้นกับ

เงื่อนไขการเก็บยานั้น ๆ ด้วย เช่น ยาต้องเก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส จึงมี

อายุถึงวันที่ระบุไว้ แต่ถ้าตู้หรือชั้นที่เก็บยามีอุณหภูมิสูงกว่า ยาก็อาจมีอายุสั้นลง ยาครีม

บางตัวต้องเก็บในที่เย็น หรือตู้เย็น แต่เก็บไว้ที่ห้องปกติ ยาก็จะหมดอายุก่อนวันที่ระบุ แต่

ไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าวันไหน แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเช่น สี กลิ่น

รส กร่อน เยิ้ม บูด แยกชั้น เขย่าไม่กระจาย เป็นต้น ก็ไม่ควรใช้เหล่านั้น ดังนั้นเวลาที่ได้ยา

มาจากโรงพยาบาล คลินิก ร้านยา ก็ควรรับประทานต่อเนื่องจนหมด ยกเว้นยาที่ให้

รับประทานเมื่อมีอาการ เช่น ปวดหัว คลื่นใส้ หรือให้อ่าน ข้อมูลจากฉลากยาสําหรับยา

บางรายการ ซึ่งเมื่อเติมน้ําแล้ว อายุยาจะจํากัด สั้นลง ไม่เป็นไปตามวันหมดอายุเดิม

สิ่งที่อยากแนะนําอีกประการหนึ่งคือ เมื่อต้องกลับไปรับการรักษาพยาบาล หรือรับยา

รักษาอย่างต่อเนื่อง ควรนํายาที่รับประทานอยู่ประจํา ไม่ว่าจะได้จากที่ไหน หรือเหลือมา

แต่เมื่อไร นําติดตัวไปด้วย เพื่อให้เภสัชกร ได้ตรวจสอบ และบันทึกข้อมูลเพื่อส่งต่อแพทย์

เป็นการลดปัญหาการให้ยาซ้ําซ้อน ยาตีกัน หรือสั่งยาในขนาดที่ไม่เป็นไปตามที่เคยใช้ หรือ

เสี่ยงต่อการได้รับยามากเกิน และทําให้ยาเหลือใช้ เก็บไว้เป็นความเสี่ยง



ยาที่แบ่งนับเม็ด แบ่งบรรจุ หรือยาที่เปิดใช้แล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าหมดอายุ

วันหมดอายุยาจะบอกว่ายาที่ยังไม่ได้ใช้ หรือยังอยู่ในภาชนะเดิมนั้นจะหมดอายุ

เมื่อไร แต่หากมีการเปิดใช้ หรือบ่อยครั้งไปโรงพยาบาลหรือร้านยา ได้รับยามาจากการ

แบ่งจากภาชนะเดิม เช่นยานับเม็ด หรือครีมที่ป้ายมาจากกระปุกใหญ่ ยาน้ําในขวด

พลาสติกเป็นส่วนมาก วันหมดอายุของยาก็จะเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่วันหมดอายุที่กําหนด

โดยบริษัทผู้ผลิต ซึ่งวันหมดอายุของยาเหล่านี้ห้องยาก็จะกําหนดวันหมดอายุขึ้นใหม่ โดย

นับจากวันที่แบ่งบรรจุโดยกําหนดว่ายาจะหมดอายุภายใน 1 ปีจากวันที่ทําการแบ่งบรรจุ

ซึ่งก็จะมีการระบุไว้เช่นกัน ดังนั้นหากเหลือยาเก็บไว้ที่บ้าน ไม่รู้ว่าจะหมดอายุเมื่อไร ไม่มี

การเขียนไว้ ก็อาจพิจารณาจากวันที่บนฉลากยาที่ระบุวันที่ได้รับมา หาก ยาเม็ดเกิน 1 ปี

หรือยาน้ําเกิน 6 เดือน ก็ให้ทิ้งไป ไม่ควรใช้ต่อ อย่างไรก็ตามหากพบว่าแม้ไม่ถึง 1 ปีหรือ

กําหนดเวลา แต่ยาเสื่อมสภาพ กร่อน ร่อน ยาน้ําสีเปลี่ยน มีกลิ่นผิดไป เหม็น เขย่าไม่เข้า

กันเป็นเนื้อเดียว หรือครีมแยกชั้น ก็ให้ทิ้งไป โดยมากยาเหล่านี้มักเป็นยาเหลือใช้ที่มีอยู่

ในครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์จ่ายมามากเกินความต้องการ ยาที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้

ตามที่แพทย์สั่ ง ยาที่ใช้ส าหรับรักษาตามอาการ แต่ปัจจุบันไม่มีอาการดังกล่าว เช่น

คลื่นไส้ อาเจียน หรือเป็นยาที่ได้มาซ้ าซ้อน หรือ มีคนให้มา เป็นต้น

“ยาเหลือใช้ ไม่ควรไว้ใจ ทุกครั้งที่ไป โรงพยาบาลใด น าไปให้ดู ได้รู้ทั้งหมด ลดยาตีกัน

ป้องกันยาเสื่อม ปลดเปลื้องอันตราย ปลอดภัยปลอดโรค”

 

นอกจากนี้สิ่งที่ต้อ งสังเกตุคือสภาพของยา เหล่านั้นจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง เช่น

ยาเม็ด ที่เสื่อมสภาพจะแตกร่วน กะเทาะ สี ซีด ถ้าเป็นเม็ดเคลือบอาจเยิ้มเหนียว

ยาแคปซูล ที่หมดอายุจะบวม โป่ง พอง หรือจับกัน เป็นก้อน ยาในแคปซูลเปลี่ยนสี

ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาแก้ ท้องเสีย ถ้าตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็งเขย่าแรง ๆ

ก็ไม่กระจายตัว แสดงว่ายานั้นเสีย


ยาน้ำเชื่อม ถ้าหากขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มี กลิ่นบูดหรือเปรี้ยว แสดงว่ายานั้นหมดสภาพแล้ว

ยาน้ าอีมัลชั่น เช่น น้ํามันตับปลา หรือยาระบาย พารัฟฟิน ปกติแล้วสามารถแยกชั้นได้ โดย

ตัวยาที่เป็นน้ํามันจะลอยอยู่ด้านบน เป็น เหมือนครีมข้นเพราะมีสารที่ช่วยให้น้ําเข้ากับน้ํามันได้

ส่วนน้ําจะอยู่ด้านล่าง เมื่อเขย่าแล้วต้องรวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้าเขย่าแล้วก็ไม่รวมเป็น

เนื้อเดียวกัน แสดงว่ายาเสีย ให้ทิ้ง

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ยาหมดอายุ หมายความว่าอย่างไร และจะดูได้จากตำแหน่งไหน

วันหมดอายุของยา หมายถึง วันที่คาดว่าตัวยาสําคัญที่ใช้ในการรักษาโรคของยา

นั้นๆ เหลือปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณที่กําหนดในสูตรตํารับนั้น ๆ ดังนั้นเพื่อ

ประสิทธิภาพ และปลอดภัยในการใช้ยา เราควรระบุได้ว่ายาต่างๆที่เราได้รับนั้นหมดอายุ

หรือยัง หรือจะหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพเมื่อไร เนื่องจากหากใช้ยาที่หมดอายุหรือเสื่อม

คุณภาพแล้ว นอกจากจะไม่มีผลในการรักษา ยังอาจทําให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

การสังเกตวันหมดอายุของยา เป็นหลักการเดียวกันกับอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ใน

ชีวิตประจําวันที่เราคุ้นเคย สําหรับยาสําเร็จรูป โดยทั่วไปการกําหนดวันหมดอายุจะขึ้นกับ

ประเภทของยา เช่น ยาเม็ดจะไม่เกิน 5 ปี และยาน้ํา 2-3 ปี นับจากวันผลิต อย่างไรก็ตาม

การกําหนดอายุยา อาจแตกต่างไปจากนี้ได้ โดยผู้ผลิตจะพิจารณาจากสารเคมีที่ใช้ ข้อมูล

การทดสอบความคงตัว หรือส่วนประกอบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท ซึ่งเราจะพบ

วันผลิต (Manufacturing date หรือ MFD.date) และวันหมดอายุ (Exp.date, Exp,Expiring,

Use by หรือ Use before)

บางครั้งก็อาจใช้คําว่า ยาสิ้นอายุ สามารถดูข้อมูลเหล่านี้จากกล่องบรรจุ ฉลากยา หรือบน

แผงยา ตําแหน่งมักเป็นบริเวณด้านใต้กล่อง หรือด้านล่างฉลาก โดยการอ่านวันหมดอายุ

แบบไทย ๆ จะเริ่มจากวัน เดือน ปี อาจจะ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ก็ได้ แต่ถ้ามีเฉพาะ เดือน และ ปี

ให้นับวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ

ดังตัวอย่าง  เช่น จากรูป EXP 08 2012 หมายถึง

ยาหมดอายุเดือน สิงหาคม (ไม่ระบุวันที่ จะนับถึงสิ้นเดือน)

ปี ค.ศ. 2012 หรือ พ.ศ. 2555

ลองพิจารณาวันหมดอายุ

Exp. Date 27/2/2554 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............

EXP.DATE 17.2.13 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............

Exp 04/14 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............

(คําตอบ วันที่ 27 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554, วันที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

หรือ พ.ศ. 2556, วันที่ 30 เดือน เมษายน ค.ศ. 2014 หรือ พ.ศ. 2557)

จำเป็นไหมว่าต้องมีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิตู้เย็น




อาจไม่จําเป็นขนาดนั้น เนื่องจากยาที่แนะนําให้ใส่ในตู้เย็นหลายรายการไม่ได้

เข้มงวดมากว่าห้ามเกิน 8 องศาเซลเซียส ในทางกลับกันควรป้องกันว่าช่องธรรมดา

อุณหภูมิต้องไม่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยอาจสังเกตจากน้ําที่แช่ไว้ว่ามีเปลี่ยนเป็น

น้ําแข็งหรือไม่ ซึ่งอาจทําให้ยาบางชนิดเสื่อมสภาพ เช่นอินซูลิน หลีกเลี่ยงการตั้งระดับ

อุณหภูมิภายในตู้เย็นเป็นระดับเย็นสูงสุด เพราะนอกจากเปลืองกระแสไฟฟ้า ก็อาจทําให้

อุณหภูมิต่ํากว่าที่ควรเป็นอย่างไรก็ตามหากสามารถจัดหาเทอร์โมมิเตอร์ได้ ก็เป็นสิ่งที่ช่วย

ให้ระบุได้ว่าตู้เย็นนั้นมีอุณหภูมิในช่วงที่เหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะหากต้องเก็บรักษายา

เป็นเวลานาน ซึ่งช่วงที่ต้องการคืออยู่ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส การดูแลจะให้เหมาะ

ควรอยู่ที่ 5 องศาเซลเซียส เพราะสามารถบวก /ลบ ได้ เท่ากับ 3 องศาเซลเซียส เป็นการ

ป้องกันความเสี่ยงของอุณหภูมิที่สูง หรือต่ำเกิน
 

เก็บยาในตู้เย็น ต้องจัดเก็บตำแหน่งไหนจึงเหมาะสม

บริเวณ ชั้นวางด้านใน ตู้เย็นอุณหภูมิจะคงที่มากกว่าบริเวณขอบประตูตู้เย็น

หลักการทั่วไปจึงไม่ควรเก็บยาที่ประตูตู้เย็น อย่างไรก็ตามการเก็บยาที่บ้านมักไม่เก็บนาน

เหมือนที่โรงพยาบาล ตําแหน่งการเก็บยาจึงไม่เข้มงวดมาก เพราะยาที่เก็บมักมีเงื่อนไข

อายุหลังเปิดใช้ทั้งสิ้น เช่นยาหยอดตาหลังเปิดใช้แล้วเก็บได้เพียง 1 เดือน อินซูลินหลังเปิด
 
ใช้แล้ว ก็เก็บได้นานเพียง 4-6สัปดาห์เป็นส่วนมาก ยาผงเติมน้ำสําหรับรับประทานมักเก็บ

เพียง 7-14 วัน แต่หากเป็นกรณีที่ต้องเก็บยาเป็นระยะเวลานาน เช่น ได้รับการจ่ายยา

อินซูลินมาสําหรับการฉีดเป็นเวลา 3 เดือน การเก็บยาอินซูลินดังกล่าวอย่างถูกต้องก็จะมี

ความสําคัญ ควรหาภาชนะมาจัดเก็บยาอินซูลินเหล่านั้น ง่ายในการหยิบ ลดการปนเปื้อน

จากไอของอาหาร และเพื่อแยกจากอาหารที่เก็บในตู้เย็น โดยเฉพาะอาหารปรุงสุกประเภท

ต่าง ๆ เนื่องจากในขณะที่เก็บอาหารปรุงสุกเหล่านั้นมักมีอุณหภูมิสูง และชั้นที่เหมาะจึงมัก

เป็นชั้นที่อยู่ใกล้ตําแหน่งที่มีช่องความเย็น และไม่วางไว้หน้าช่องดังกล่าวตรง ๆ ไม่เก็บที่

ประตูตู้เย็น

ยาแช่เย็น หากที่บ้านไม่มีตู้เย็นจะทำอย่างไร

ยาที่จ่ายให้ผู้ป่วยกลับบ้าน มีเพียงไม่กี่ประเภ ทที่ต้องเก็บในตู้เย็น เช่น วัคซีน

อินซูลิน ยาหยอดตาที่เปิดใช้แล้ว ยาผงเติมน้ำสําหรับเด็กชนิดรับประทาน อย่างไรก็ตามมี

เพียง วัคซีน และอินซูลินที่ยังไม่เปิดใช้เท่านั้นที่จําเป็นต้องเก็บในตู้เย็น ต่อเนื่อง ดังนั้นหาก

ไม่มีตู้เย็น ให้พึ่งเพื่อนบ้าน หรือพึ่งสถานีอนามัย สถานบริการปฐมภูมิ กรณีที่ไม่ใช่ยา 2

รายการดังกล่าว ให้หาบริเวณที่เย็นที่สุดของบ้านในการเก็บยาเหล่านั้นได้ สําหรับยาหยอด

ตาหากใช้เป็นครั้งคราว หากไม่มีตู้เย็นเมื่ออาการดีขึ้นหรือหายแล้ว ก็อาจไม่จําเป็นต้องเก็บ

ไว้ สําหรับยาบางรายการเช่น ยาเหน็บทวารหนัก ที่เป็นขี้ผึ้ง ยาดังกล่าวไม่จําเป็นต้องเก็บ

ในตู้เย็น แต่ก่อนใช้ควรแช่เย็น หรือแช่น้ําแข็ง เพื่อให้ขี้ผึ้งภายในแข็งตัวสามารถเหน็บช่อง

ต่าง ๆ ของร่างกายได้ง่าย หากไม่มั่นใจ ให้สอบถามเภสัชกรว่ายารายการใดจําเป็นต้องเก็บ

เงื่อนไขอย่างไร

หากต้องเดินทางจะนำอินซูลินไปด้วยได้อย่างไร

การเก็บยาอินซูลินที่นําติดตัวไป ด้วยขณะเดินทางนั้น ไม่จําเป็นต้องแช่เย็นยา อินซูลินก็ได้

เนื่องจากยาสามารถเก็บไว้ที่ อุณหภูมิห้องได้นาน 1 เดือน อย่างไรก็ตามระหว่างการเดินทาง

ควรเก็บยาอินซูลินในถุงหรือกระเป๋าถือที่ติดตัว โดยไม่ควรเก็บใน กระเป๋าเดินทางที่ต้องเก็บ

ไว้ในห้องสัมภาระของยานพาหนะ ซึ่งมีโอกาสจะสัมผัสกับ อากาศร้อนหรือเย็นเกินไปได้

ขณะที่อยู่ในห้องสัมภาระ ไม่ควรใส่กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง เพราะยาอาจสัมผัสกับอุณหภูมิสูง

จากร่างกาย และหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ ๆ มีการเขย่า หรือสั่นอย่างรุนแรง แต่หากการเดินทาง

เป็นระยะยาวไกล หรือต้องสัมผัสกับแสงแดด โดย ตรง แม้ว่าจะอยู่ในกระเป๋าถือ ก็เสี่ยงต่อ

อุณหภูมิที่สูง การเก็บในภาชนะเล็ก ๆ ที่ เหมาะสมมีฝาปิด และอาจมีถุงซิปใส่น้ําแช่จนแข็ง

บรรจุร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความเย็น ก็น่าจะเหมาะสมกว่าการเก็บในกระเป๋าถือแต่เพียงอย่างเดียว

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ถ้านำยาอินซูลินออกมาไว้ที่ข้างนอกตู้เย็น 1 วัน ยาจะเสียไหม

หากจัดเก็บยาอินซูลินไว้ในบริเวณที่เป็นอุณหภูมิห้อง (25-30 เซลเซียส) ยาจะมี

อายุนาน 1 เดือน แต่ก็มีอินซูลินบางบริษัทที่ระบุว่าสามารถเก็บได้นาน 6 สัปดาห์ ควร

สอบถามเภสัชกรที่จ่ายยาให้แก่ท่าน ดังนั้นถ้านํายาอินซูลินออกมาไว้นอกตู้เย็น 1 วัน จึง

ยังไม่มีผลต่อคุณภาพของยา แต่เนื่องจากอุณหภูมิของบ้านเรามักสูงกว่า 25 เซลเซียส การ

เก็บไว้นอกตู้เย็นจึงไม่เหมาะสมเท่าไร แนะนําให้เก็บยาอินซูลินในตู้เย็นช่องธรรมดาคือ

2- 8 เซลเซียส (ห้ามแช่อินซูลินในช่องแช่แข็งเนื่องจากทําให้ตัวยาเสื่อมสภาพ หรือเก็บในชั้น

เก็บผักเพราะอาจปนเปื้อนง่าย) แต่หากเผลอไปแช่ในช่องแช่แข็ง ให้รีบนํายากลับลงมาแช่

ตู้เย็นช่องธรรมดาทันทีที่นึกได้ หากเก็บไว้นานจนกลายเป็นน้ําแข็ง อาจสูญเสียสภาพ หรือ

ความแรงของยาให้ทิ้งไป ในกรณีที่ยาสัมผัสถูกแสงแดดโดยตรงหรืออยู่ในที่ร้อนจัด ยาอาจ

เสื่อมสภาพได้ ควรทิ้งทันที แล้วเปิดใช้ขวดใหม่ สําหรับยา อินซูลินที่ยังไม่ได้ถูกเปิดใช้

หากเก็บไว้นอก ตู้เย็น ก็จะเก็บได้นานแค่ 1 เดือนเหมือนเปิดใช้แล้ว ดังนั้นอินซูลินที่ยังไม่ได้

เปิดใช้จึงควร เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาตามที่กล่าวแล้ว

อุณหภูมิที่เก็บยา มีแบ่งออกเป็นกี่ช่วง อย่างไร

ยาหลายชนิดจะมีการเสื่อมสลายเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม สามารถแบ่ง อุณหภูมิ
ที่เก็บรักษายาอย่างกว้าง ๆ ได้ 3 ช่วง จะรู้ว่าควรเก็บใ นช่วงไหน อย่างไร ได้จาก ข้อมูล
บนภาชนะบรรจุ อย่างไรก็ตามจําเป็นที่จะต้องรู้ว่าแต่ละช่วงหมายความว่าอย่างไร
ได้แก่

1. ช่วงแช่แข็ง (freezer) เป็นอุณหภูมิระหว่าง -25 ถึง -10 องศาเซลเซียส เป็น อุณหภูมิช่อง
แช่แข็ง ยาที่เก็บส่วนมากเป็นวัคซีน เช่น วัคซีนโปลิโอ ชนิดรับประทาน ปกติ แล้วสถานพยาบาล
โรงพยาบาล จะเป็นผู้เก็บรักษาเป็นส่วนมาก

2. ช่วงตู้เย็น (refrigerator) เป็นอุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ยาที่ ระบุว่าเก็บในตู้เย็น
จะเก็บที่ชั้นปกติ หรือชั้นกลางตู้ ไม่เก็บที่ฝาตู้เย็นเพราะอุณหภูมิไม่คงที่ หรือเก็บช่องแช่แข็ง หรือชั้น
ใต้ช่องแช่แข็งเพราะอาจเย็นจัดเกินไป เช่น อินซูลิน ยาหยอดตาที่เปิดใช้แล้ว เป็นต้น

3. ช่วงอุณหภูมิห้อง (room temperature) เป็นอุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส หรือไม่ควร
เกิน 30 องศาเซลเซียส ซึ่งจะแตกต่างจากอุณหภูมิปกติบ้านเรา และโดยทั่วไป บ้านเรือน ที่พักอาศัย
 มักไม่มีการเปิดเครื่องปรับอากาศในเวลากลางวัน ดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่ต้องเก็บยาในที่ไม่ร้อน
ไม่ชื้น หรือแสงแดดส่องไม่ถึง

ลืมยาไว้ในรถยนต์ จอดกลางแจ้ง เป็นเวลาหลายชั่วโมง ยาจะยังคงใช้ได้หรือไม่

การเก็บยาในรถยนต์ที่จอดตากแดดในเวลากลางวันเปรียบได้กับการเก็บยาไว้ใน สภาวะแวดล้อมที่

ร้อนจัด ซึ่งทําให้ยาเสื่อมสภาพได้ จึงไม่ควรนํามาใช้ต่อ ไม่ว่าจะเป็นยา เม็ด ยาน้ำ หรือรูปแบบ

ต่าง ๆ เพราะไม่มีใครบอกได้ว่ายาเสื่อมไปแล้วอย่างไร นอกจากการวิเคราะห์หาตัวยาสําคัญ

นอกจากนี้แม้ว่าจะมีที่จอดรถเฉพาะ ภายในอาคาร ไม่ตาก แดด ก็หลีกเลี่ยงการเก็บยาในลิ้นชัก

หน้ารถ เพราะมีอุณหภูมิที่สูงแม้จอดใต้อาคาร หรือใน ระหว่างการขับขี่ คิดว่าคงเคยเข้าไปนั่งในรถ

ที่จอดตากแดดทิ้งไว้ ท่านรู้สึกอย่างไร ยาเองก็ ได้รับความร้อนตรงๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งมีผลให้ยา

เสื่อมสภาพก่อนกําหนด แม้ว่าไม่สามารถ จะบอกได้จากลักษณะภายนอก แนะนําไม่ให้ใช้ ดังกล่าว

โดยเฉพาะหากเป็นยาสําคัญที่ใช้ รักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น เพราะ

นอกจากไม่ได้ผล ก็อาจ เป็นอันตรายจากยาที่เปลี่ยนแปลงไป

ยาที่ต้องเก็บพ้นแสง สามารถแกะใส่กล่องได้ไหม

ในกรณีที่ยาบรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันแสงได้อยู่แล้ว ให้เก็บยาดังกล่าวไว้ใน ภาชนะที่บรรจุ

ห้ามเอายาออกนอกภาชนะ ห้ามแกะเม็ดยาออกจากแผงอลูมิเนียม ในกรณี ที่ยาบรรจุอยู่ในภาชนะ

ที่ไม่สามารถป้องกันแสงได้ ทางห้องยาจะใส่ยาไว้ให้ในซองสี ชา เวลาหยิบยาออกมารับประทาน

เรียบร้อยแล้ว ก็นํายาเก็บไว้ในซองสีชาตามเดิม ไม่ควร แกะเม็ดยาใส่กล่องไว้ อย่างไรก็ตามหาก

ต้องจัดยาไว้ล่วงหน้าสําหรับผู้สูงอายุ สามารถ กระทําได้โดยไม่ควรจัดเตรียมไว้นานกว่า 1 สัปดาห์

หากเป็นไปได้ยาที่อยู่ในแผง ให้คงไว้ เหมือนเดิม และควรเตรียมโดยหากล่องพลาสติกสําเร็จรูปมา

แยกเป็นรายวัน หรือรายมื้อเพราะนอกจากแสง แล้วยา อาจมีผลกระทบจาก ความชื้น ยาหลายขนาน

หากโดนความชื้นก็ทําให้เสื่อมสภาพได้เช่นกัน เช่น ยาบางรายการ ในกลุ่ม ยาลดความดันโลหิต/

ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ/ยาจิตเวช/ยาธัยรอยด์ เป็นต้น


ยาบางชนิดทำไมต้องใส่ซองสีน้ำตาล และไม่เก็บในซองได้หรือไม่

ยาหลายชนิดเมื่อถูกแสงจ้า หรือแสงแดดเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาจทําให้ยา เสื่อมสภาพ

การรักษาอาจไม่ได้ผล เช่น ยาบางรายการในกลุ่มวิตามิน/ยาลดความดันโลหิต สูง/ยาปฏิชีวนะ/

ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบภาชนะที่ใช้ป้องกันแสง ขึ้นมา เช่น ขวด/

แอมพูล/ขวดยาฉีดที่มีสีชา กล่องกระ ดาษทึบ แผงอลูมิเนียม หรือแผงยา แบบกดเม็ดยาออก

(บลิสเตอร์) ที่มีความทึบแสง และซองทึบหรือสีชา เป็นต้น เมื่อไปรับ ยาที่โรงพยาบาล ร้านยา

ทางห้องยา /เภสัชกร จะระบุว่า “ควรเก็บยาให้พ้นแสง ” ไว้ให้ที่ ฉลากยาสําหรับยาที่ต้องเก็บใน

ภาชนะป้องกันแสง

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

หากตั้งครรภ์ /หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ เมื่อไรจึงต้องบอกหมอ /จำป็นหรือไม่ที่ต้องบอก

มีความจําเป็นต้องบอกหมอทั้งสองกรณี ในกรณีแรกหากตั้งครรภ์ จะต้องแจ้งให้

แพทย์หรือเภสัชกร ทราบทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานพยาบาลต่าง ๆ

หรือไปซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคหรือรักษาอาการ

ทั่วไปนั้นอาจมีผลกับลูกน้อยในครรภ์ได้ทุกระยะการตั้งครรภ์ โดยยาบางชนิดอาจรุนแรงถึง

ขั้นทําให้ลูกน้อยเกิดความพิการได้

อีกกรณีคือ ถ้าวางแผนที่จะตั้งครรภ์ก็มีความจําเป็นที่ต้องบอกแพทย์และเภสัช

กรเช่นเดียวกันเนื่องจาก ยาบางชนิด เช่น ยารักษาสิว (isotretinoin) อาจมีการสะสมอยู่

ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จําเป็นต้องหยุดยาล่วงหน้าก่อนที่จะตั้งครรภ์ หรือในกรณีที่

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความจําเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาลดความดันโลหิต
 
ยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น แพทย์ ต้องมีการวางแผนในการรักษา ร่วมกับผู้ป่วยอย่าง

ต่อเนื่อง แพทย์จะพิจารณาว่า จําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงยาหรือหยุดยาหรือไม่ เพื่อป้องกัน

ทารกในครรภ์ไม่ให้เกิดความผิดปกติหรือพิการได้

ข้อมูลขั้นต่ำ ที่ควรรู้เมื่อไปรับยา หรือซื้อยา

นอกเหนือจากการตัอง ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อตนเอง ชนิดของยา วิธีใช้

และจํานวนสอดคล้องกับกําหนดนัดครั้งต่อไปแล้ว เป็นสิทธิที่ผู้รับบริการทุกรายควรได้รับ

หรือควรสอบถามเพิ่มเติม คือ ชื่อยา ซึ่งบ่อยครั้งอาจจําไม่ได้ แต่ก็ สามารถบันทึก หรือเก็บ

ซองนั้นไว้ หากพบว่าเกิดอาการข้างเคียงรุนแรงจะได้ทราบชื่อยา สิ่งที่ควรดําเนินการ

สอบถามอีกคือ ข้อควรระวังในการใช้ยานั้น ๆ เช่น หลังรับประทานยา ลดความดันโลหิต

บางประเภทให้นั่งพัก หรือนอนนิ่ง สัก 10 นาที เพื่อป้องกันหน้ามืด หรือล้มลงเนื่องจาก

ความดันโลหิตลดต่ําทันที หรือรับประทาน ยาจิตเวชบางอย่าง ห้ามรับประทานอาหารที่มี

นมเนยมาก หรือรับประทานยาขับปัสสาวะ ฟูโรซีไมด์ แล้ว ควรรับประทาน กล้วย ส้ม

แตงโมเพิ่มเติม หรือหากเกิดอาการแพ้ยาจะต้องรีบหยุดยา แล้วนํายากลับไปพบแพทย์

เวลารับยา จะต้องตรวจสอบข้อมูลอะไรบ้าง


1. ชื่อ และนามสกุล ต้องอ่านหน้าซองยาทุกครั้งและทุกซองว่า ใช่ยาของเราหรือไม่

บางครั้งอาจเกิดเหตุการณ์เช่นชื่อเหมือนกันแต่คนละนามสกุล ทําให้รับยาไปผิด

คนได้ อาจรับประทานยาผิดและเกิดอันตราย

 2. ชนิดยาและวิธีรับประทานยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาอย่างต่อเนื่องในโรค

เรื้อรัง อาจจําเป็นต้องดูว่ายาที่ได้และวิธี รับประทานเหมือนกับทุกครั้งที่ได้รับ

หรือไม่ หรือถ้าได้รับยาหรือพบว่า วิธีรับประทานยามีการเปลี่ยนแปลงจากครั้ง

ก่อนหน้านี้ ควรแจ้งให้เภสัชกรหรือแพทย์ทราบทันที ซึ่งอาจเกิดจากแพทย์

ปรับเปลี่ยนยาแล้วไม่ได้แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ หรืออาจมีการจ่ายยาผิดชนิดได้

3. ประวัติแพ้ยา ในกรณีผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาควรแจ้งให้ แพทย์ เภสัชกรทราบทุก

ครั้ง เพื่อป้องกันการจ่ายยาหรือกลุ่มยาหรือยาต่างกลุ่มแต่สามารถแพ้ข้ามกันกับ

ยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ เพราะหากแพ้ยาซ้ํา อาการมักรุนแรงกว่าครั้งแรก ๆ

4. จํานวนยา เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับยาอาจควรต้องดูจํานวนที่หน้าซองว่าได้รับครบ

และตรงตามกําหนดการได้รับยาครั้งหน้าหรือไม่ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานยา

ได้อย่างต่อเนื่องจนถึงวันนัด และไม่เป็นการเสียเวลาหากยาไม่ครบแล้วต้องมา

ติดต่อทางโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

ยาที่ตกตะกอนแปลว่าเสื่อมหรือไม่ จะบอกได้อย่างไรว่ายาน้าเสื่อมคุณภาพ

ไม่จำเป็นครับ จะมียาน้ำบางประเภท เช่น ยาน้ำแขวนตะกอน (suspension) ได้แก่ ยาคาลาไมน์ ที่เป็นยาแก้ผดผื่นคัน ยาน้ำลดกรดที่มีจำหน่ายในหลายชื่อ ที่เมื่อตั้งทิ้งไว้จะสังเกตเห็นว่ามีการแยกชั้นเกิดขึ้น แต่เมื่อเขย่าสักครู่ยาจะกลับมาเป็นเนื้อเดียวกันได้ แสดงว่ายาไม่เสื่อม สาเหตุที่ต้องทำเป็นยาน้ำแขวนตะกอน คือตัวยาสำคัญมักไม่ละลายน้ำ หรือไม่คงตัว หรืออาจมีรสชาติไม่อร่อย วิธีสังเกตง่ายๆ สำหรับยาน้ำแขวนตะกอนว่าเสื่อมหรือไม่ คือให้ลองเขย่าแรงๆสักครู่ หากยากลับมาเป็นเนื้อเดียวกันแสดงว่ายังใช้ได้ แต่หากยาไม่กลับมาเป็นเนื้อเดียวกันหรือตะกอนยังเกาะกันแน่นที่ก้น แสดงว่ายาเสื่อมแล้วให้ทิ้งไป นอกจากนี้ยาน้ำบางประเภท เช่น ทิงเจอร์ ยาธาตุน้ำแดง ยาแก้ไอน้ำดำ ยาน้ำแผนโบราณ ยาน้ำสตรีต่าง ๆ เป็นต้น ยาเหล่านี้มักมีตะกอนเบา ๆ ของตัวยาที่เป็นสมุนไพร หรือสารสกัดของสมุนไพร แขวนลอยอยู่ ส่งผลให้มีลักษณะขุ่น ไม่ใส เป็นลักษณะของยา ไม่ใช่ยาเสื่อม ในการเก็บยาเหล่านี้การดูตะกอนอาจบอกไม่ได้ว่ายาเสื่อมหรือไม่ ต้องใช้การสังเกตอื่น ๆ เช่น สี หรือ กลิ่น หรือรส เปลี่ยนไปจากเดิม แต่ยาน้ำบางประเภทที่แต่เดิมเป็นยาน้ำใส เช่น ยาน้ำขับลมเด็ก หรือเป็นยาน้ำเชื่อมเช่น พาราเซตะมอลน้ำเชื่อม ยาน้ำเชื่อมแก้ไอ หากเก็บไว้แล้วพบว่ามีตะกอนเกิดขึ้น หรือขุ่น หรือเหมือนมีเยื่อเบาๆ ลอยอยู่ หรือสี กลิ่น รสเปลี่ยนไป แสดงว่ายาเสื่อมสภาพหรือยาเสียแล้วให้ทิ้งทันที

ยาตัวเดียวกัน ต้องมีสีและรูปร่างเหมือนกันหรือไม่

ยาชนิดเดียวกัน ขนาดเดียวกัน ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะมีสีเหมือนกัน หรือแม้สีจะเหมือนกัน แต่รูปร่างหน้าตาเม็ดยาอาจไม่เหมือนกัน เนื่องจากบริษัทที่ผลิตยานั้นเป็นคนละบริษัทกัน ดังนั้น ลักษณะเม็ดยาและสีจึงแตกต่างกัน อย่างเช่น ยาแก้ปวดลดไข้ตัวหนึ่งในท้องตลาดมีมากมายหลากหลายสี หลากหลายรูปร่าง ทั้งๆที่เป็นยาชนิดเดียวกัน ขนาดเดียวกัน



ยาชนิดเดียวกัน และความแรงเท่ากัน จะเห็นได้ว่าหน้าตารูปร่าง ขนาด สี แตกต่างกันมาก การที่ผู้ป่วยซื้อยารับประทานเองทั้งจากร้านยาหรือคลินิก รวมทั้งรับยาจากโรงพยาบาลด้วยนั้น หากยาที่ได้รับในแต่ละแห่งนั้นบังเอิญเป็นยาชนิดเดียวกัน อาจทำให้ได้รับยาเกินขนาด ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงหรือพิษจากยานั้นๆ ได้ ดังนั้นในการมาโรงพยาบาลทุกครั้ง จึงควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำติดตัวมาด้วยทุกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการจ่ายยาซ้ำซ้อน

ยาฉีดดีกว่ายาเม็ดจริงไหม

หลายท่านเวลาไม่สบายมักต้องการรักษาด้วยยาฉีดมากกว่ายาเม็ด เนื่องจาก
เหตุผลที่ว่ายาฉีดออกฤทธิ์เร็ว ไปตรงจุดที่เป็นมากกว่า หายเร็วกว่า และแรงกว่ายาเม็ด ลด

ระยะเวลาการรักษาได้ดีกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ถูกต้องทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้วยาทั้งสอง
รูปแบบหากมีระดับยาเท่ากัน ก็จะออกฤทธิ์ได้เท่ากัน แต่ที่ฉีดแล้วหายจากอาการในเวลาที่

เร็วกว่า เนื่องจากยาฉีดไม่ต้องดูดซึมเหมือนยารับประทานแต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์นั้น

เท่ากัน เมื่อหม ดฤทธิ์ยาก็ต้องฉีดอีกอยู่ดี ไม่ได้ฉีดครั้งเดียวแล้วทําให้หายจากอาการ

เจ็บป่วยตลอดไป ดังนั้นระยะเวลาการรักษาจึงเท่ากับกับการรับประทานยา แต่ต้องเจ็บตัว

มากกว่า ซึ่งการที่ผู้ให้การรักษาจะเลือกใช้ยาฉีดหรือยาเม็ดในการรักษาแก่ผู้ป่วยรายหนึ่งๆ

นั้น มีข้อพิจารณาคือ

- ความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยมีอาการมากหรือน้อย ต้องรักษารีบด่วนหรือไม่ หาก

มีอาการไม่มาก หรือไม่เฉียบพลัน ก็ ไม่จําเป็นต้องรักษาด้วยยาฉีด การได้รับยา

รับประทานก็เพียงพอแล้วที่จะทําให้หายจากโรคนั้นๆ

- สภาวะร่างกายของผู้ป่วย โดยต้องดูว่ารับประทานได้หรือไม่ เมื่อรับประทา นยา

ไปแล้วร่างกายสามารถดูดซึมยาได้ดีหรือไม่ หากมีปัญหาด้านการดูดซึมก็

จําเป็นต้องได้รับยาฉีดเพื่อรักษา เมื่อสภาวะเหล่านี้หายไปก็สามารถเปลี่ยนเป็น

ยารับประทานได้

ดังนั้นยาฉีดหรือยารับประทานยาชนิดใดจะดีกว่ากันจึงขึ้นอยู่กับสภาวะโรค

ความรุนแรงของแต่ละคนว่าเหมาะกับการใช้ยาแบบใด ในบางสถานการณ์ยาฉีดอาจดีกว่า

ยารับประทาน บางครั้งยารับประทานอาจดีกว่ายาฉีด โดยเฉพาะในกรณีการเกิด
 
ข้างเคียง หรือการแพ้ยา ยาฉีดก็อาจทําให้แพ้ได้รุนแรงมากกว่าเพราะยาเข้าสู่กระแสเลือด


ได้โดยตรง จึงไม่จําเป็นว่ายาฉีดต้องดีกว่ายารับประทานเสมอไป
 
 

ยาต่างประเทศดีกว่ายาที่ผลิตในไทยหรือไม่

ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยจํานวนไม่น้อยที่นิยมซื้อหรือใช้เฉพาะยาที่ผลิตจาก ต่างประเทศ หรือ
เรียกง่ายๆ ว่ายานอก มากกว่ายาที่ผลิตในประเทศ หรือยาไทย (local) 

ก่อนอื่นขอทําความเข้าใจก่อนว่ายาที่ผลิตจากต่างประเทศมี 2 ความหมายคือ ยาต้นแบบ (original) ซึ่งเป็นยาที่บริษัทยาในต่างประเทศพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล กับ ยาที่ผลิตจากต่างประเทศโดยไม่ใช่ยาต้นแบบเป็นการผลิตเหมือนกันกับยาที่ผลิตใน ประเทศเรา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา
สหราชอาณาจักร หรือญี่ปุ่นก็มียาที่ผลิตในประเทศ ตนเองที่ไม่ใช่ยาต้นแบบ

 ดังนั้นคําว่ายาที่ผลิตจากต่างประเทศดีกว่ายาที่ผลิตในไทย จึงไม่ ถูกต้องเสมอไป และยาไทยเองก็ใช้
มาตรฐานการผลิตที่เป็นสากลเดียวกันกับต่างประเทศ และมีมาตรฐานกว่าหลายประเทศ

อย่างไรก็ตามยาต้นแบบ เป็นยาที่บริษัทยาต่างประเทศ พัฒนาขึ้น ผ่านการลงทุน และการ
ตลาดทั้งทางตรง และทางอ้อม ส่งผลให้มีการกระจาย และมีการทําให้เชื่อว่ายามีความจําเป็น
ในการใช้มากกว่ายาเดิมที่มีอยู่ และดีกว่ายาไทย 

โดยเฉพาะการอ้างแหล่งวัตถุดิบ เป็นต้น ประเด็นสําคัญคือ ยาต้นแบบเหล่านั้นเมื่อหมด สิทธิบัตร ก็จะทําให้แต่ละประเทศสามารถพัฒนาสูตรตํารับยาดังกล่าว เพื่อผลิตจําหน่ายได้ ยาที่จําเป็นต่อการรักษาพยาบาลหลายขนานหมดสิทธิบัตรดังกล่าว จึงทําให้แต่ละโรงงาน/ บริษัทสามารถดําเนินการผลิตได้ บ่อยครั้งแหล่งวัตถุดิบก็มาจากแหล่งเดียวกัน 

อย่างไรก็ ตามการดําเนินการผลิตยาเหล่านี้ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากําหนดให้ยา หลายขนานจะต้องสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคโดยต้องทดสอบว่ายามีค่าชีวประสิทธิผลไม่ ต่างจากยาต้นแบบ คือในขนาดยาที่เท่ากัน ในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครที่แข็งแรง ระดับยาที่มีผลในการรักษาพยาบาลไม่แตกต่าง 

อาจมีความจริงอยู่บ้างว่ายาบางรายการอาจมี กระบวนการผลิตที่เฉพาะ ซึ่งอาจส่งผลให้ยาออกฤทธิ์หรือ
ดูดซึมได้เร็วกว่า แต่สุดท้าย ปริมาณยาในพลาสมาที่พร้อมออกฤทธิ์ไม่แตกต่างกัน ภายใน
ระยะเวลาที่กําหนด

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่ายานอกหรือยาไทยหากมีค่าชีวประสิทธิผลไม่ต่างกัน ผลการรักษาย่อมไม่ ต่างกัน อย่างไรก็ตามมีแนวปฏิบัติประการหนึ่งคือในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หากใช้ยารายการใด และสามารถคุมอาการได้ มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงบริษัทยาที่ใช้กลับไปกลับมา

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ยาราคาแพงดีกว่ายาราคาถูกจริงหรือไม่

ความเชื่อดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นกระแสที่ระบบการรักษาพยาบาล หรือ ระบบ การตลาดยา

สร้างขึ้น ยาราคาแพงอาจไม่ใช่ยาต้นแบบก็ได้ หลายท่านคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องการยาที่

มีราคาแพง เนื่องจากคาดว่ายาเหล่านี้จะดีกว่ายาราคาถูกอา จทําให้หายจาก โรคหรือ

ควบคุมโรคได้ดีกว่า บางท่านอาจถือคติที่ว่า “ของถูกและดีไม่มีในโรค ” ยาก็ เช่นกันเชื่อว่า

ยิ่งแพงก็น่าจะรักษาโรคได้ดีกว่า ในความเป็นจริงแล้วยาราคาแพงหรือยา ราคาถูกแต่หากเป็น

ยาชนิดเดียวกัน อยู่ในรูปเกลือเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน โดยเฉพาะยา บางรายการที่มีการทดสอบ

ว่ามีค่าชีวประสิทธิผลไม่ต่างกันแล้ว ก็สามารถรักษาโรคได้ไม่ ต่างกัน เพราะมีระดับยาใน

พลาสมาของตัวยาสําคัญไม่ต่างกัน แต่ที่แพงกว่านั้นเป็น ค่าการ ค้นคิดของยาต้นแบบ นโยบาย

บริษัท ค่าประกอบการ ค่าจ้าง การลงทุน การทําการตลาด หรือเป็นยานําเข้ามาจากต่างประเทศ

นอกจากนี้ในการจัดหายามาไว้บริการ เภสัชกรจะทํา หน้าที่ด้านการสนับสนุนข้อมูลความน่าเชื่อถือ

 และประสิทธิภาพของยาทั้งในส่วนทางการ รักษา และความคุ้มค่า ต่อคณะกรรมการเภสัชกรรม

และการบําบัด หรือเรียกง่าย ๆว่า คณะกรรมการยา พิจารณาว่ายารายการใดที่ควรนํามาให้บริการ

สอดคล้องกับกลุ่มผู้ป่วย หรือความรับผิดชอบเฉพาะของโรงพยาบาลหรือไม่ รวมทั้งในขั้นตอน

การจัดซื้อก็เน้นการ ประกันคุณภาพ โดยยาเหล่านั้นต้องผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรอง

มาตรฐานการผลิต ยาจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเมื่อรับยาจากผู้ส่ง เภสัชกร

จะพิจารณา ใบวิเคราะห์ควบคุมคุณภาพ หากเป็นไปตามข้อกําหนดในเภสัชตํารับสากล จึงรับยา

ไว้ใน คลังยา สิ่งหนึ่งที่ต้องคํานึงมากกว่าคือ ในการรักษาโรคหนึ่งๆ ไม่จําเป็นต้องได้รับยาราคา

แพงแต่ควรได้รับยาหรือการรักษาที่ตรงกับสภาวะ หรือโรคที่เป็นอยู่นั่นเป็นเหตุผลสําคัญ มากกว่า

ราคายาเสียอีก เพรา ะบ่อยครั้งอาจได้ยาราคาแพง แต่ไม่มีข้อมูลวิชาการชัดเจน หรือยังเป็น

ข้อถกเถียงโต้แย้งในหมู่นักวิชาการ ว่ายานั้นมีผลในการรักษาดีกว่ายาหลอก หรือคุ้มค่ากว่าจริง

หรือไม่ เช่น การใช้กลูโคซามีน ในโรคกระดูกและข้ออักเสบ เป็นต้น

ทำไมถึงแบ่งยาให้แก่เพื่อนที่มีอาการเดียวกันไม่ได้

เนื่องจากเพื่อนอาจมีอาการเดียวกันก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าอาการหรือโรค

ดังกล่าวเกิดจากสาเหตุ หรือเชื้อเดียวกัน แต่อาจเกิดจากสาเหตุหรือเชื้อโรคต่างกัน

การรักษาก็ต้องต่างกันไปด้วย เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ส่วนบน โดยโรคนี้มักมีอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ คอแดง น้ํามูกไหล เหมือน ๆ กัน แต่สาเหตุ

ของโรคอาจต่างกัน โดยเกิดจากเชื้อ แบคทีเรียไม่ เกินร้อยละ15 ซึ่งจําเป็นต้องได้รับยา

ปฏิชีวนะ (antibiotic) แต่อีกร้อยละ 85 ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หายเองได้โดยไม่ต้อง

ใช้ยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้การได้รับยาปฏิชีวนะ หรือยาที่ เกินความจําเป็น นอกจากไม่มีผลต่อ

การหายของโรคเร็วขึ้นแล้ว ยังทําให้เกิดอันตรายจากอาการข้างเคียงของยานั้นๆอีกด้วย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อาการเดียวกันไม่จําเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมือนกัน จึงไม่ควรแบ่ง

ยาให้กับเพื่อนโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เพราะเพื่อนอาจแพ้ ได้ยาไม่ตรงโรค และคนที่แบ่ง

ยาให้ก็จะขาดยาไม่เพียงพอ ส่งผลให้เชื้อดื้อยา ทําให้เรื้อรังได้ด้วย