มีทั้งที่ควรจํา หรือไม่จําเป็นต้องจําชื่อยาก็ได้ ที่ไม่จําเป็นต้องจําเพราะผู้ป่วยมักมียาหลายขนาน และชื่อก็เป็นภาษาต่างประเทศ ยากในการจํา แต่ควรจำว่ายาที่รับประทานโดยรวมใช้รักษาอะไร หรือ อาจเน้นเฉพาะขนานที่มีความสําคัญว่าชื่ออะไร ใช้รักษาอะไร สิ่งที่ควรจะ มากกว่าคือหลังใช้ยา จะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร เช่น รับประทานยาแก้อักเสบข้อ ควรดื่มน้ําตามมากๆ หรือรับประทานยา ขับปัสสาวะ เม็ดสีส้ม (ไฮโดรคลอโรไทอะไซด) แล้วต้องรับประทานผลไม้เช่น กล้วย ส้ม อย่างน้อยวันละ 1-2 ผล เป็นต้น
แต่หากยาใดที่เคยใช้ หรือรับประทานแล้วเกิดอาการแพ้ยา หรืออาการข้างเคียงจนไม่สามารถรับประทานต่อ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากมีการแพ้ซ้ํา จึงต้องจําชื่อยานั้น ๆ ให้ได และทุกครั้งที่ไปรับบริการที่โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือแม้แต่ร้านยา ต้องแจ้งว่าเคยแพ้ยา หรือไม่เคย และหากเคย ยานั้นมี ชื่ออะไร หรือยื่นบัตรแพ้ยา ที่ได้รับจากโรงพยาบาล จําไว้นะครับ “แพ้ยาซ้ำ อาจตายได้”
กรณีที่มียามากมาย ควรสอบถามเภสัชกรให้ชัดเจน โดยให้เภสัชกรเขียนเอกสาร คําอธิบายให้ เวลาไปโรงพยาบาลควรนํายาที่มีใส่ถุง เพื่อนําไปให้เภสัชกรช่วยตรวจสอบว่ายาเหล่านั้นสามารถนํามาใช้ได้หรือไม่ จําเป็นต้องใช้ต่อหรือเปล่า ยาที่มีเหลืออยู่เกิดเนื่องจากอะไร ผู้ป่วยรับประทานถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นการนํายาที่มีอยปัจจุบันทั้งหมดติดตัวไป ไม่ว่าจะได้มาจากแหล่งใด จะมีประโยชน์อีกหลายประการ ได้แก่
1. แพทย์ก็จะไม่จ่ายยาที่เรามี เราก็ไม่ต้องจ่ายเงินค่ายาเพื่อได้ยาซ้ําเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ ประเทศสามารถประหยัดงบประมาณเรื่องยาไปได้
2. แพทย์ หรือเภสัชกร เห็นยาเดิมก็จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการจ่ายยาที่เกิด อันตรกริยาต่อกัน หรือยาตีกัน เพราะยาบางชนิดหากรับประทานร่วมกัน ฤทธิ์ยาจะ ขัดแย้งกันเอง ในขณะที่ยาบางชนิดจะเสริมฤทธิ์ส่งผลให้ฤทธิ์ของยามากเกินจนเป็นพิษ
เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด หากใช้ร่วมกับยาแก้ปวด/แก้ อักเสบกล้ามเนื้อ จะเพิ่มความเสี่ยงตอเลือดออกได้ง่าย
3. เภสัชกรช่วยตรวจสอบอายุยา การเสื่อมสภาพ
4. ป้องกันการแพ้ยาซ้ำซ้อน หากนํายาที่แพ้ติดตัวมาได้ แพทย์จะไม่จ่ายยาหรือกลุ่มยาที่แพ้ให้อีก
5. ในการซักถามผู้ป่วย เภสัชกรอาจสามารถระบุปัจจัยสาเหตุของปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา และวางแผนร่วมกันกบผู้ป่วยในการจัดการปัญหาอย่างเหมาะสม
ชื่อสามัญก็คือ ชื่อจริงของตัวยาที่ใช้เรียกเพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ทั่วโลก หรือระหว่าง
บุคลากรการแพทย์ ส่วนใหญ่จะเรียกตามชื่อสารเคมีที่นํามาทํายา จึงเรียกชื่อได้ค่อนข้างยาก อย่างไร
ก็ตามก็ควรรู้จักไว้บ้าง อย่างเช่น ยาแก้ปวดหัว ตัวร้อน หรือยาลดไข้ ที่มีการใช้มาก เพราะไม่ระคาย
กระเพาะ มีชื่อสามัญว่า "พาราเซตะมอล " หรือ “พาราอะเซตามิโนฟีนอล ” (ชื่อหลังไม่ต้องจํายาวไป)
มีชื่อการค้าที่หลากหลายตามที่เราได้ยินจากการโฆษณา หรือ ยาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้ออักเสบ
ที่ใช้บ่อยและค่อนข้างปลอดภัยมีชื่อสามัญว่า "ไอบูโปรเฟน" (ชื่อนี้น่าจํา เพราะหากต้องการยาคลาย
เส้น แก้อักเสบกล้ามเนื้อ สามารถแจ้งเภสัชกร หรือร้านยาว่ามีความประสงค์จะซื้อยานี้ ดีกว่าที่ไปซื้อ
ยาชุดตามร้านยาทั่วไป ที่ส่งผลอันตรายร้ายแรง) ยารักษาโรคเชื้อราที่มีการเรียกหาบ่อยมีชื่อสามัญ
เช่น "คีโตโคนาโซล" เป็นต้น การที่เราต้องเรียกชื่อยาให้ถูกต้องตรงตามชื่อสามัญ โดยไม่เรียกหาตาม
ชื่อการค้านั้นมีข้อดี คือ
1) การเรียกยาชื่อสามัญจะทําให้ เราไม่ยึดติดกับยี่ห้อ
2) ป้องกันการ ใช้ยาซ้ำซ้อนเพราะการจํายี่ห้อบางครั้งไม่รู้ว่าเป็นยาอะไร ยี่ห้อยาทั้ง 2 รายการที่เราไป
ซื้อ อาจเป็นยาที่มีชื่อสามัญเดียวกัน หรือรักษาโรคเหมือนกันได้
3) ป้องกันการไดรับยาเกินขนาดจากยาชนิดเดียวกัน ต่างชื่อการค้า
4) ป้องกันการแพ้ยาซ้ําซาก เพราะชื่อการค้าโรงพยาบาลหนึ่ง อาจไม่รู้จักที่อีกโรงพยาบาล เพราะใช้
ยาต่างบริษัทกันก็เป็นได้ และ
5) ลดการสูญเสียเงินจากความไม่รู้ว่าเป็นยาตัวเดียวกัน