ชื่อสามัญก็คือ ชื่อจริงของตัวยาที่ใช้เรียกเพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ทั่วโลก หรือระหว่าง
บุคลากรการแพทย์ ส่วนใหญ่จะเรียกตามชื่อสารเคมีที่นํามาทํายา จึงเรียกชื่อได้ค่อนข้างยาก อย่างไร
ก็ตามก็ควรรู้จักไว้บ้าง อย่างเช่น ยาแก้ปวดหัว ตัวร้อน หรือยาลดไข้ ที่มีการใช้มาก เพราะไม่ระคาย
กระเพาะ มีชื่อสามัญว่า "พาราเซตะมอล " หรือ “พาราอะเซตามิโนฟีนอล ” (ชื่อหลังไม่ต้องจํายาวไป)
มีชื่อการค้าที่หลากหลายตามที่เราได้ยินจากการโฆษณา หรือ ยาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้ออักเสบ
ที่ใช้บ่อยและค่อนข้างปลอดภัยมีชื่อสามัญว่า "ไอบูโปรเฟน" (ชื่อนี้น่าจํา เพราะหากต้องการยาคลาย
เส้น แก้อักเสบกล้ามเนื้อ สามารถแจ้งเภสัชกร หรือร้านยาว่ามีความประสงค์จะซื้อยานี้ ดีกว่าที่ไปซื้อ
ยาชุดตามร้านยาทั่วไป ที่ส่งผลอันตรายร้ายแรง) ยารักษาโรคเชื้อราที่มีการเรียกหาบ่อยมีชื่อสามัญ
เช่น "คีโตโคนาโซล" เป็นต้น การที่เราต้องเรียกชื่อยาให้ถูกต้องตรงตามชื่อสามัญ โดยไม่เรียกหาตาม
ชื่อการค้านั้นมีข้อดี คือ
1) การเรียกยาชื่อสามัญจะทําให้ เราไม่ยึดติดกับยี่ห้อ
2) ป้องกันการ ใช้ยาซ้ำซ้อนเพราะการจํายี่ห้อบางครั้งไม่รู้ว่าเป็นยาอะไร ยี่ห้อยาทั้ง 2 รายการที่เราไป
ซื้อ อาจเป็นยาที่มีชื่อสามัญเดียวกัน หรือรักษาโรคเหมือนกันได้
3) ป้องกันการไดรับยาเกินขนาดจากยาชนิดเดียวกัน ต่างชื่อการค้า
4) ป้องกันการแพ้ยาซ้ําซาก เพราะชื่อการค้าโรงพยาบาลหนึ่ง อาจไม่รู้จักที่อีกโรงพยาบาล เพราะใช้
ยาต่างบริษัทกันก็เป็นได้ และ
5) ลดการสูญเสียเงินจากความไม่รู้ว่าเป็นยาตัวเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น