Medtang

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อาชีพยาม ยาก่อนนอนกินอย่างไร หรือยาหลังอาหารทานอย่างไร

อาชีพยามจัดเป็นอาชีพหนึ่งที่พบว่ามีปัญหากับการรับประทานยาเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะยามที่ต้องอยู่เวรตอนกลางคืน ดังนั้นเมื่อถามว่ายาที่รับประทานตอนกลางคืน

นั้นจะต้องรับประทานอย่างไร พบว่ายาที่แพทย์สั่งให้รับประทา นตอนก่อนนอนตอน

กลางคืน ส่วนใหญ่นั้นพบว่าเป็นการสั่งเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยา เช่น ยาที่รับประทาน

แล้วทําให้ง่วงซึม จึงให้รับประทานก่อนนอนเพราะฉะนั้นยาที่ทําให้เกิดอาการง่วงซึมนั้น ถ้า

รับประทานตอนเริ่มทํางานก็อาจจะทําให้เป็นปัญหาในการทํางานได้ เช่น การทํางานกับ

เครื่องจักร การขับขี่ยานพาหนะ หรือโดยเฉพาะอาชีพยามนั้นอาจทําให้หลับยามได้ เป็น

ต้น เพราะฉะนั้นถ้ายาตัวใดที่ให้รับประทานก่อนนอนเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยาที่อาจ

เกิดกับผู้ป่วย ยากลุ่มนั้นควรรับประทานก่อนจะนอนหลับจริงๆ ตามแบบแผนแต่ละบุคคล

หากยามออกเวรตอนเช้า ก็อาจปรั บเวลายาก่อนนอนมารับประทานตอนเช้า สําหรับ

ประเด็นอื่นก็อาจจะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของยาหรือเพื่อเพิ่มความร่วมมือใน

การใช้ยาของผู้ป่วย ยากลุ่มนี้อาจจําเป็นต้องกําหนดเวลารับประทานที่ชัดเจนของการ

รับประทานยาก่อนนอน เช่น หนึ่งทุ่มหรือสองทุ่ม เป็นต้น กล่าวโด ยสรุป หากรับประทาน

ก่อนนอนวันละครั้ง ให้ถามแพทย์ หรือเภสัชกรว่าเหตุผลคืออะไร เช่น ทําให้ง่วงนอน ก็

ปรับตามเวลาที่ว่า หรือเป็นเวลาที่เหมาะสําหรับรับประทานยาประเภทนั้น ๆ ก็

รับประทานตามเวลานั้น แต่หากให้วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร และก่อนนอน เช่นนี้ไม่น่า


เกี่ยวข้องกับ การที่ยาทําให้ง่วง สามารถกําหนดตารางเวลารับประทานเป็นทุก 6 ชั่วโมงได้

และปรับให้สอดคล้องกับความสะดวก

สําหรับประเด็นในเรื่องของการรับประทานยาก่อนและหลังอาหารก็พบว่าจะ

คล้ายกับยาที่รับประทานก่อนนอนคือยาที่แพทย์สั่งให้รับประทานก่อนและหลังอาหาร

เพราะว่าเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยาหรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ยกตัวอย่าง

ยาลดน้ําตาลในเลือด อาจมีทั้งก่อน และหลังอาหาร เช่น กลัยพิไซด์ ให้รับประทานก่อน

อาหารเพื่อหวังผลให้ยาไปลดระดับน้ําตาลหลังรับประทานอาหาร หรือยาเมทฟอร์มิน ให้

รับประทานหลังอาหารเพื่อลดอาการข้างเคียงจากยา เป็นต้น ดังนั้นยาในกลุ่มดังกล่าวควร

ใช้มื้ออาหารมาเป็นข้อกําหนดในการรับประทานยาจะดีที่สุด แต่หากไม่สามารถใช้มื้อ

อาหารมากําหนดระยะเวลารับประทานได้สม่ําเสมอ หรือชัดเจน อาจกำหนดระยะเวลา

ทุก 6 หรือ 8 ชั่วโมงได้ แทนการรับประทานยาวันละ 4 หรือ 3 ครั้งตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น