Medtang

Custom Search

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จะรู้ได้อย่างไรว่า ยาตัวไหนหักแบ่งได้ หรือไม่ได้ หรือบดได้ไหม

โดยส่วนใหญ่ไม่แนะนําให้หักยาหรือบดยา เพราะยาอาจเสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้นทั้ง

จากแสงและความชื้น นอกจากนี้การหักแบ่งยา ยังทําให้ได้รับยาในขนาดที่ไม่เท่ากันในแต่

ละครั้งได้ อย่างไรก็ตามมียาบางประเภทที่ห้ามบด ห้ามแบ่งโดยเป็นยาที่อยู่ในรูปแบบออก

ฤทธิ์นานหรือค่อย ๆ ปลดปล่อยตัวยา ข้อสังเกตของยากลุ่มนี้ก็คือ มักจะมีสัญลักษณ์เป็น

ตัวอักษร Modified release (MR), extended release (ER), Sustained release

(SR), Controlled-release (CR) ด้านหลังชื่อยา เป็นสิ่งบ่งบอกว่ายาดังกล่าวอยู่ในรูปที่

ค่อย ๆ ปลดปล่อยตัวยา ยากลุ่มนี้ได้รับการผลิตขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการรับประทาน

ของผู้ป่วยโดยลดจํานวนครั้งต่อวันที่ต้องรับประทานยา เช่น ปกติต้องรับประทาน 3 มื้อ ก็

ลดลงเหลือมื้อเดียวต่อวัน แต่ให้ผลการรักษาเทียบเท่ากัน เป็นต้น หรืออยู่ในรูปแบบที่

พร้อมละลายทันทีเช่นยาทางจิตเวช ดังนั้น หากบดหรือหักยาอาจทําให้การปลดปล่อยยา

เปลี่ยนแปลง ยาจะไม่อยู่ในรูปค่อย ๆ ปลดปล่อย แต่จะออกมาในครั้งเดียว ส่งผลให้ผู้ป่วย

อาจได้รับยามากเกินไปในครั้งเดียว มีผลกระทบต่อการรักษาและเป็นอันตราย หรือยาอาจ

ชื้นไม่ได้ผล อย่างไรก็ตามยาในรูปแบบนี้บางตัวก็สามารถหักแบ่งได้ เช่น ยา Theo-dur SR

200 mg สามารถแบ่งครึ่งเม็ดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการในการผลิตยาแต่ละตัว เภสัชกร

จะเป็นผู้ให้ข้อมูลว่ายารายการใดห้ามหักแบ่ง หรือห้ามบด หรือห้ามละลายน้ําก่อน

รับประทาน หากไม่มั่นใจจึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น