Medtang
Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ยาที่เท/ตวงมาเกิน สามารถเทกลับได้หรือไม่
วิธีการที่จะลดหรือป้องกันปัญหาดังกล่าว ประการแรกขึ้นกับการเลือกอุปกรณ์ตวงยาที่สอดคล้องกับขนาดที่ต้องการ ประการต่อมา ช้อนชาหรือถ้วยตวงต้องสะอาด ประการที่สาม ค่อย ๆรินยา หากเท หรือตวงยามาเกินในขั้นตอนนี้สามารถที่จะริน/เทกลับได้ การดูดยาโดยใช้กระบอกจุ่มลงในขวดยา จะมองปริมาตรลำบาก จุ่มตื้นจุ่มลึกเท่าใด และหากดูดขึ้นดูดลง ก็เป็นความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน ดังนั้นจึงมักพบมีการแบ่งยาออกมาใส่ถ้วยตวงเพื่อใช้กระบอกดูดยา ก็ควรแบ่งมาตามปริมาตรหรือขนาดยาที่ต้องการแล้วใช้กระบอกดูดยาจากถ้วยแบ่ง ที่เหลือไม่ควรเทกลับในขวดยา ให้ทิ้งยา หลีกเลี่ยงการเทกลับลงไปในขวดเพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนและมีผลต่อความคงตัวของยาได้ แม้ว่าภาชนะที่ใช้ตวงจะมีการทำความสะอาดแล้ว สำหรับหลอดหยดที่ติดมากับยาน้ำสำหรับเด็กบางขนาน ใช้ดูดและหยดยาเมื่อต้องการ หลีกเลี่ยงการใช้หลอดหยดนั้นดูดยา หยอดยาใส่ปากเด็ก และนำมาปิดขวดแทนฝายาที่มีแต่เดิมเพราะเป็นการปนเปื้อน
ป้ายกำกับ:
เทยากลับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น