Medtang

Custom Search

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยาอมใต้ลิ้น กลืนแทนได้ไหม ห้ามกลืนน้าลายด้วยหรือไม่

การบริหารยาอมใต้ลิ้นห้ามเคี้ยว หรือกลืนเม็ดยาทั้งเม็ดลงไปในกระเพาะอาหาร แต่จะใช้วิธีการปล่อยให้ยาค่อยๆ ละลายและดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นจนหมด และไม่ควรกลืนหรือบ้วนน้ำลายทิ้ง ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้ยาดูดซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นและออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและมากที่สุด การกลืนน้ำลายจะทำให้ยาที่จะดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นลดน้อยลงซึ่งอาจทำให้การใช้ยาไม่ได้ผล เมื่อวางยาใต้ลิ้นเพื่อลดการกระตุ้นน้ำลาย ให้ทำปากนิ่ง ไม่ควรขยับปาก หรือเคลื่อนไหวลิ้นไปมา ตัวอย่างยาอมใต้ลิ้น เช่น ยาอมใต้ลิ้นไอโสซอร์ไบด์ ไดไนเตรต ขนาด 5 มิลลิกรัมที่ใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลันจากภาวะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน เมื่ออมยาใต้ลิ้นยาที่ละลายจะถูกดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดใต้ลิ้นและไปยังหัวใจโดยตรงจึงทำให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ากลืนยาทั้งเม็ดจะต้องใช้เวลานานกว่าที่ยาจะไปยังเส้นเลือดหัวใจ เพราะยาต้องผ่านกระบวนการดูดซึม และหลังจากการดูดซึมก็ต้องส่งผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอนก่อนที่ยาจะถูกส่งไปยังตำแหน่งที่ออกฤทธิ์


ยาอมใต้ลิ้นดังกล่าว เมื่ออมใต้ลิ้นจะรู้สึกซ่าเล็กน้อย แต่หากมีอาการรุนแรง เช่น ปวดหัว หน้าแดง มึนงง ใจสั่น หรือหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เวียนศรีษะ สับสน ให้แจ้งแพทย์

จากฉลากจะเห็นเครื่องหมายสามเหลี่ยม และระบุว่าต้องติดตาม ยารายการใดที่มีเครื่องหมายดังกล่าวจะต้องสังเกตตนเอง ว่าภายหลังรับประทานยาแล้วเกิดอาการผิดปกติหรือไม่ หากเกิดอาการดังกล่าวให้กับไปโรงพยาบาลแจ้งแพทย์ เภสัชกร เพื่อแก้ไข เภสัชกรจะรายงานไปสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อเป็นข้อมูลความปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น