Medtang

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564

ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลา มีคุณสมบัติอย่างไร

 ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลา มีคุณสมบัติอย่างไร

ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลาเป็นประเภทหนึ่งของยาเม็ดควบคุมการออกฤทธิ์ คือ การพัฒนารูปแบบเภสัชภัณฑ์ให้ปลดปล่อยตัวยาสำคัญออกมาตามความต้องการของผู้ออกแบบ อาจเป็นในรูปแบบ ที่ควบคุมให้แตกตัวและดูดซึมในอวัยวะเป้าหมาย หรืออาจเป็นการพัฒนาเพื่อให้ปลดปล่อยตัวยาออกมาในปริมาณที่สม่ำเสมอเป็นเวลานาน 

ตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลาหรือลักษณะเม็ดกลมขนาดเล็ก ในยาแคปซลููลที่เห็นนั้นคือยาในรปูแบบที่เรียกว่า เพลเลต (Pellet) ยาเม็ดเล็กๆในยาแคปซลูเหล่นี้ ถูกเคลือบด้วยสารที่ป้องกันการแตกตัวในกระเพาะอาหาร เพื่อให้เม็ดยา ไปแตกตัวในบริเวณที่มีความเป็นด่าง เช่นลำไส้เล็ก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ยา เหล่านั้น เช่น ยาโอมิพราโซล (Omeprazole) ที่ถูกบรรจุไว้เป็นยาที่ไม่คงตัว และถูกทำลายเมื่อสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหาร

และแน่นอนต่อเนื่องจากหัวข้อก่อนหน้านี้ ยาลักษณะไข่ปลานี้ก็ไม่สามารถเคี้ยวหรือบดได้ ดังนั้น ในกรณีที่ต้องให้ยาทางสายยาง (NG Tube) ทำได้โดยให้ถอดเปลือกแคปซูล เทเพลเลตยาใส่ในถ้วย กระจายด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ เช่นน้ำสับปะรด จากนั้นรีบกรอกลงในสายยางมีข้อสังเกตง่ายๆ ว่ายาตัวไหนห้ามบดเคี้ยว โดยท้ายชื่อยา มักมีอักษรลงท้ายตามมาเป็นภาษา อังกฤษว่า

DM, GP, DA, PSE, SR, SA, CR/CRT, LA, MR, TD/TR, XL, XR/ER, OROS®, Contin เป็นต้น

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น