Medtang

Custom Search

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564

ยาเม็ดเคลือบฟิล์มจะเคี้ยวหรือบดได้หรือไม่

 ยาเม็ดเคลือบฟิล์มจะเคี้ยวหรือบดได้หรือไม่

คำตอบคือ...... ไม่ได้..ครับ ความสำคัญของการ เคลือบฟิล์มในยาเม็ดเคลือบ ส่วนมากจะทำเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ที่สำไส้ เนื่องมาจากตัวยาระคายเคืองกระเพาะอาหารหรืออาจเสื่อมสลายโดยกรด ในกระเพาะอาหาร ดังนั้นการบดเคี้ยว หรือแม้กระทั่งการหักแบ่งยาเม็ดเคลือบฟิล์ม โดยเฉพาะโดยเฉพาะที่มุ่งหมายให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ จึงทำให้คุณสมบัตินั้นเสียไป ส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารไได้จากการเคี้ยวยา ดังกล่าวบ่อยครั้ง หรือกรดในกระเพาะก็จะทำลายฤทธิ์ของยาลง (อย่างไร ก็ตามหากเป็นผู้สูงอายุไม่ต้องห่วงเรื่องบดเคี้ยวเพราะยาแข็งมาก) มีปัจจัยสาเหตุ มากมายที่ส่งผลใหจำเป็นต้องบดยาให้ผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่รับประทานอาหาร หรือกลืนไม่ได้ ใส่ท่อสายยางให้อาหาร ยาเม็ดขนาดใหญ่ ผู้ป่วยที่ไม่ยอม รับประทานยา ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เป็นต้น อย่างไรก็ตามเป็นบทบาทของเภสัชกร ในการประสานกับบุคลากรการแพทย์ในโรงพยาบาลว่ายารายการใดบดได้ หรือรายการใดบดไม่ได้ เพื่อเลี่ยงไปใช้ในรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสมมากกว่า

รูปแบบยาที่ไม่ควรหักแบ่ง บด เคี้ยวหรือทำให้เม็ดยาแตก ได้แก่ 

ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน (extended-release tablet) เนื่องจาก เป็นยาเม็ดที่ออกแบบมาเพื่อให้ออกฤทธิ์โดยปลดปล่อยยาสู่ร่างกายทีละน้อยโดยการเคลือบฟิล์มเป็นตัวควบคุมการปลดปลอ่ยตัว ยาจากเม็ดยา ดังนั้นเมื่อบดเคี้ยวเม็ดยาจะทำให้การควบคุมการปลดปล่อยตัวยาเสียไป ยาก็จะทะลักออกมา จำนวนมาก ทำให้อาจเป็นพิษ หรือระยะเวลาในการควบคุมอาการสั้นลง ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

ยาเม็ดชนิดแตกตัวในลำไส้ (enteric-coated tablet) เป็น รูปแบบยาทป้องกัน การแตกตัวในกระเพาะอาหารแต่ให้แตกตัว  และดูดซึมในลำไส้เล็ก ก็เพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร  หรือป้องกันยาถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร • 

ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล (Sugar coating tablet) ยาบางชนิด  มีรสชาติไม่ดีจึงจำเป็นต้องเคลือบเพื่อกลบรสชาติของยาด้วย น้ำตาล การบดจะทำใหการกลบรสเสียไปทำให้ผู้ป่วยได้รับรสชาติ ที่ไม่ดีของยา เช่น ยา Ciprofloxacin อย่างไร ก็ตามหากเป็นยากลุ่มนี้ ในทางปฏิบัติหากเป็นผู้ป่วยที่ให้ผ่าน สายให้อาหารก็สามารถที่จะบดได้เพราะอย่างไรก็ไม่ได้รับรู้รสอยู่แล้ว 

สำหรับโรงพยาบาลจะมีการบดยาสำหรับผู้ป่วยที่คาสายยางให้อาหาร เป็นประจำทุกวัน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือการบดยาพร้อมกันหลายขนาน ซึ่งยาอาจไม่เข้ากันหรือไม่ถูกกันทางกายภาพและบ่อยครั้งโกร่งที่ใช้ บดยาจะใช้ซ้ำๆ เกิดการปนเปื้อน และอาจนำไปสู่การแพ้ยาสำหรับผู้ป่วย บางรายได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น