Medtang

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ยาราคาแพงดีกว่ายาราคาถูกจริงหรือไม่

ความเชื่อดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นกระแสที่ระบบการรักษาพยาบาล หรือ ระบบ การตลาดยา

สร้างขึ้น ยาราคาแพงอาจไม่ใช่ยาต้นแบบก็ได้ หลายท่านคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องการยาที่

มีราคาแพง เนื่องจากคาดว่ายาเหล่านี้จะดีกว่ายาราคาถูกอา จทําให้หายจาก โรคหรือ

ควบคุมโรคได้ดีกว่า บางท่านอาจถือคติที่ว่า “ของถูกและดีไม่มีในโรค ” ยาก็ เช่นกันเชื่อว่า

ยิ่งแพงก็น่าจะรักษาโรคได้ดีกว่า ในความเป็นจริงแล้วยาราคาแพงหรือยา ราคาถูกแต่หากเป็น

ยาชนิดเดียวกัน อยู่ในรูปเกลือเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน โดยเฉพาะยา บางรายการที่มีการทดสอบ

ว่ามีค่าชีวประสิทธิผลไม่ต่างกันแล้ว ก็สามารถรักษาโรคได้ไม่ ต่างกัน เพราะมีระดับยาใน

พลาสมาของตัวยาสําคัญไม่ต่างกัน แต่ที่แพงกว่านั้นเป็น ค่าการ ค้นคิดของยาต้นแบบ นโยบาย

บริษัท ค่าประกอบการ ค่าจ้าง การลงทุน การทําการตลาด หรือเป็นยานําเข้ามาจากต่างประเทศ

นอกจากนี้ในการจัดหายามาไว้บริการ เภสัชกรจะทํา หน้าที่ด้านการสนับสนุนข้อมูลความน่าเชื่อถือ

 และประสิทธิภาพของยาทั้งในส่วนทางการ รักษา และความคุ้มค่า ต่อคณะกรรมการเภสัชกรรม

และการบําบัด หรือเรียกง่าย ๆว่า คณะกรรมการยา พิจารณาว่ายารายการใดที่ควรนํามาให้บริการ

สอดคล้องกับกลุ่มผู้ป่วย หรือความรับผิดชอบเฉพาะของโรงพยาบาลหรือไม่ รวมทั้งในขั้นตอน

การจัดซื้อก็เน้นการ ประกันคุณภาพ โดยยาเหล่านั้นต้องผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรอง

มาตรฐานการผลิต ยาจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเมื่อรับยาจากผู้ส่ง เภสัชกร

จะพิจารณา ใบวิเคราะห์ควบคุมคุณภาพ หากเป็นไปตามข้อกําหนดในเภสัชตํารับสากล จึงรับยา

ไว้ใน คลังยา สิ่งหนึ่งที่ต้องคํานึงมากกว่าคือ ในการรักษาโรคหนึ่งๆ ไม่จําเป็นต้องได้รับยาราคา

แพงแต่ควรได้รับยาหรือการรักษาที่ตรงกับสภาวะ หรือโรคที่เป็นอยู่นั่นเป็นเหตุผลสําคัญ มากกว่า

ราคายาเสียอีก เพรา ะบ่อยครั้งอาจได้ยาราคาแพง แต่ไม่มีข้อมูลวิชาการชัดเจน หรือยังเป็น

ข้อถกเถียงโต้แย้งในหมู่นักวิชาการ ว่ายานั้นมีผลในการรักษาดีกว่ายาหลอก หรือคุ้มค่ากว่าจริง

หรือไม่ เช่น การใช้กลูโคซามีน ในโรคกระดูกและข้ออักเสบ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น