นั้นๆ เหลือปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณที่กําหนดในสูตรตํารับนั้น ๆ ดังนั้นเพื่อ
ประสิทธิภาพ และปลอดภัยในการใช้ยา เราควรระบุได้ว่ายาต่างๆที่เราได้รับนั้นหมดอายุ
หรือยัง หรือจะหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพเมื่อไร เนื่องจากหากใช้ยาที่หมดอายุหรือเสื่อม
คุณภาพแล้ว นอกจากจะไม่มีผลในการรักษา ยังอาจทําให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
การสังเกตวันหมดอายุของยา เป็นหลักการเดียวกันกับอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ใน
ชีวิตประจําวันที่เราคุ้นเคย สําหรับยาสําเร็จรูป โดยทั่วไปการกําหนดวันหมดอายุจะขึ้นกับ
ประเภทของยา เช่น ยาเม็ดจะไม่เกิน 5 ปี และยาน้ํา 2-3 ปี นับจากวันผลิต อย่างไรก็ตาม
การกําหนดอายุยา อาจแตกต่างไปจากนี้ได้ โดยผู้ผลิตจะพิจารณาจากสารเคมีที่ใช้ ข้อมูล
การทดสอบความคงตัว หรือส่วนประกอบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท ซึ่งเราจะพบ
วันผลิต (Manufacturing date หรือ MFD.date) และวันหมดอายุ (Exp.date, Exp,Expiring,
Use by หรือ Use before)
บางครั้งก็อาจใช้คําว่า ยาสิ้นอายุ สามารถดูข้อมูลเหล่านี้จากกล่องบรรจุ ฉลากยา หรือบน
แผงยา ตําแหน่งมักเป็นบริเวณด้านใต้กล่อง หรือด้านล่างฉลาก โดยการอ่านวันหมดอายุ
แบบไทย ๆ จะเริ่มจากวัน เดือน ปี อาจจะ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ก็ได้ แต่ถ้ามีเฉพาะ เดือน และ ปี
ให้นับวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ
ดังตัวอย่าง เช่น จากรูป EXP 08 2012 หมายถึง
ยาหมดอายุเดือน สิงหาคม (ไม่ระบุวันที่ จะนับถึงสิ้นเดือน)
ปี ค.ศ. 2012 หรือ พ.ศ. 2555
ดังตัวอย่าง เช่น จากรูป EXP 08 2012 หมายถึง
ยาหมดอายุเดือน สิงหาคม (ไม่ระบุวันที่ จะนับถึงสิ้นเดือน)
ปี ค.ศ. 2012 หรือ พ.ศ. 2555
ลองพิจารณาวันหมดอายุ
Exp. Date 27/2/2554 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............
EXP.DATE 17.2.13 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............
Exp 04/14 หมายถึง ยาหมดอายุ วันที่........เดือน...................พ.ศ. .............
(คําตอบ วันที่ 27 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554, วันที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013
หรือ พ.ศ. 2556, วันที่ 30 เดือน เมษายน ค.ศ. 2014 หรือ พ.ศ. 2557)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น