เมื่อไร แต่หากมีการเปิดใช้ หรือบ่อยครั้งไปโรงพยาบาลหรือร้านยา ได้รับยามาจากการ
แบ่งจากภาชนะเดิม เช่นยานับเม็ด หรือครีมที่ป้ายมาจากกระปุกใหญ่ ยาน้ําในขวด
พลาสติกเป็นส่วนมาก วันหมดอายุของยาก็จะเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่วันหมดอายุที่กําหนด
โดยบริษัทผู้ผลิต ซึ่งวันหมดอายุของยาเหล่านี้ห้องยาก็จะกําหนดวันหมดอายุขึ้นใหม่ โดย
นับจากวันที่แบ่งบรรจุโดยกําหนดว่ายาจะหมดอายุภายใน 1 ปีจากวันที่ทําการแบ่งบรรจุ
ซึ่งก็จะมีการระบุไว้เช่นกัน ดังนั้นหากเหลือยาเก็บไว้ที่บ้าน ไม่รู้ว่าจะหมดอายุเมื่อไร ไม่มี
การเขียนไว้ ก็อาจพิจารณาจากวันที่บนฉลากยาที่ระบุวันที่ได้รับมา หาก ยาเม็ดเกิน 1 ปี
หรือยาน้ําเกิน 6 เดือน ก็ให้ทิ้งไป ไม่ควรใช้ต่อ อย่างไรก็ตามหากพบว่าแม้ไม่ถึง 1 ปีหรือ
กําหนดเวลา แต่ยาเสื่อมสภาพ กร่อน ร่อน ยาน้ําสีเปลี่ยน มีกลิ่นผิดไป เหม็น เขย่าไม่เข้า
กันเป็นเนื้อเดียว หรือครีมแยกชั้น ก็ให้ทิ้งไป โดยมากยาเหล่านี้มักเป็นยาเหลือใช้ที่มีอยู่
ในครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์จ่ายมามากเกินความต้องการ ยาที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้
ตามที่แพทย์สั่ ง ยาที่ใช้ส าหรับรักษาตามอาการ แต่ปัจจุบันไม่มีอาการดังกล่าว เช่น
คลื่นไส้ อาเจียน หรือเป็นยาที่ได้มาซ้ าซ้อน หรือ มีคนให้มา เป็นต้น
“ยาเหลือใช้ ไม่ควรไว้ใจ ทุกครั้งที่ไป โรงพยาบาลใด น าไปให้ดู ได้รู้ทั้งหมด ลดยาตีกัน
ป้องกันยาเสื่อม ปลดเปลื้องอันตราย ปลอดภัยปลอดโรค”
นอกจากนี้สิ่งที่ต้อ งสังเกตุคือสภาพของยา เหล่านั้นจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
ยาเม็ด ที่เสื่อมสภาพจะแตกร่วน กะเทาะ สี ซีด ถ้าเป็นเม็ดเคลือบอาจเยิ้มเหนียว
ยาแคปซูล ที่หมดอายุจะบวม โป่ง พอง หรือจับกัน เป็นก้อน ยาในแคปซูลเปลี่ยนสี
ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาแก้ ท้องเสีย ถ้าตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็งเขย่าแรง ๆ
ก็ไม่กระจายตัว แสดงว่ายานั้นเสีย
ยาน้ำเชื่อม ถ้าหากขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มี กลิ่นบูดหรือเปรี้ยว แสดงว่ายานั้นหมดสภาพแล้ว
ยาน้ าอีมัลชั่น เช่น น้ํามันตับปลา หรือยาระบาย พารัฟฟิน ปกติแล้วสามารถแยกชั้นได้ โดย
ตัวยาที่เป็นน้ํามันจะลอยอยู่ด้านบน เป็น เหมือนครีมข้นเพราะมีสารที่ช่วยให้น้ําเข้ากับน้ํามันได้
ส่วนน้ําจะอยู่ด้านล่าง เมื่อเขย่าแล้วต้องรวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้าเขย่าแล้วก็ไม่รวมเป็น
เนื้อเดียวกัน แสดงว่ายาเสีย ให้ทิ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น