ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยจํานวนไม่น้อยที่นิยมซื้อหรือใช้เฉพาะยาที่ผลิตจาก ต่างประเทศ หรือ
เรียกง่ายๆ ว่ายานอก มากกว่ายาที่ผลิตในประเทศ หรือยาไทย (local)
เรียกง่ายๆ ว่ายานอก มากกว่ายาที่ผลิตในประเทศ หรือยาไทย (local)
ก่อนอื่นขอทําความเข้าใจก่อนว่ายาที่ผลิตจากต่างประเทศมี 2 ความหมายคือ ยาต้นแบบ (original) ซึ่งเป็นยาที่บริษัทยาในต่างประเทศพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล กับ ยาที่ผลิตจากต่างประเทศโดยไม่ใช่ยาต้นแบบเป็นการผลิตเหมือนกันกับยาที่ผลิตใน ประเทศเรา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา
สหราชอาณาจักร หรือญี่ปุ่นก็มียาที่ผลิตในประเทศ ตนเองที่ไม่ใช่ยาต้นแบบ
สหราชอาณาจักร หรือญี่ปุ่นก็มียาที่ผลิตในประเทศ ตนเองที่ไม่ใช่ยาต้นแบบ
ดังนั้นคําว่ายาที่ผลิตจากต่างประเทศดีกว่ายาที่ผลิตในไทย จึงไม่ ถูกต้องเสมอไป และยาไทยเองก็ใช้
มาตรฐานการผลิตที่เป็นสากลเดียวกันกับต่างประเทศ และมีมาตรฐานกว่าหลายประเทศ
มาตรฐานการผลิตที่เป็นสากลเดียวกันกับต่างประเทศ และมีมาตรฐานกว่าหลายประเทศ
อย่างไรก็ตามยาต้นแบบ เป็นยาที่บริษัทยาต่างประเทศ พัฒนาขึ้น ผ่านการลงทุน และการ
ตลาดทั้งทางตรง และทางอ้อม ส่งผลให้มีการกระจาย และมีการทําให้เชื่อว่ายามีความจําเป็น
ในการใช้มากกว่ายาเดิมที่มีอยู่ และดีกว่ายาไทย
ตลาดทั้งทางตรง และทางอ้อม ส่งผลให้มีการกระจาย และมีการทําให้เชื่อว่ายามีความจําเป็น
ในการใช้มากกว่ายาเดิมที่มีอยู่ และดีกว่ายาไทย
โดยเฉพาะการอ้างแหล่งวัตถุดิบ เป็นต้น ประเด็นสําคัญคือ ยาต้นแบบเหล่านั้นเมื่อหมด สิทธิบัตร ก็จะทําให้แต่ละประเทศสามารถพัฒนาสูตรตํารับยาดังกล่าว เพื่อผลิตจําหน่ายได้ ยาที่จําเป็นต่อการรักษาพยาบาลหลายขนานหมดสิทธิบัตรดังกล่าว จึงทําให้แต่ละโรงงาน/ บริษัทสามารถดําเนินการผลิตได้ บ่อยครั้งแหล่งวัตถุดิบก็มาจากแหล่งเดียวกัน
อย่างไรก็ ตามการดําเนินการผลิตยาเหล่านี้ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากําหนดให้ยา หลายขนานจะต้องสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคโดยต้องทดสอบว่ายามีค่าชีวประสิทธิผลไม่ ต่างจากยาต้นแบบ คือในขนาดยาที่เท่ากัน ในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครที่แข็งแรง ระดับยาที่มีผลในการรักษาพยาบาลไม่แตกต่าง
อาจมีความจริงอยู่บ้างว่ายาบางรายการอาจมี กระบวนการผลิตที่เฉพาะ ซึ่งอาจส่งผลให้ยาออกฤทธิ์หรือ
ดูดซึมได้เร็วกว่า แต่สุดท้าย ปริมาณยาในพลาสมาที่พร้อมออกฤทธิ์ไม่แตกต่างกัน ภายใน
ระยะเวลาที่กําหนด
ดูดซึมได้เร็วกว่า แต่สุดท้าย ปริมาณยาในพลาสมาที่พร้อมออกฤทธิ์ไม่แตกต่างกัน ภายใน
ระยะเวลาที่กําหนด
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่ายานอกหรือยาไทยหากมีค่าชีวประสิทธิผลไม่ต่างกัน ผลการรักษาย่อมไม่ ต่างกัน อย่างไรก็ตามมีแนวปฏิบัติประการหนึ่งคือในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หากใช้ยารายการใด และสามารถคุมอาการได้ มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงบริษัทยาที่ใช้กลับไปกลับมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น