ยาเหน็บช่องคลอด ทำมาจากเบสพวกโพลีเอทิลีนกลัยคอล (polyethelene glycol:PEG) สามารถรับประทานได้ ดังนั้นการนำยาฆ่าเชื้อรา รูปแบบเหน็บช่องคลอดมาให้ผู้ป่วยใช้อมสามารถรักษาการติดเชื้อราในช่องปาก (Oral Candidiasis)ได้ เนื่องจากยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ โดยอาศัยการอมยาไวภ้ายในปาก ให้ตัวยาสัมผัสกับผิวภายในปากชชั่วระยะหนึ่ง และเพื่อให้การรักษาที่ได้ผลดีขึ้นอาจต้องอมยาบ่อยๆวันละ 3-5 ครั้ง
Medtang
วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564
ยาเหน็บช่องคลอดทำไมมีการสั่งให้เอามาอมด้วย
วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564
ยาฉีดทำไมมีทั้งประเภทที่เป็นน้ำ และเป็นผง
ยาฉีดเป็นรูปแบบยาที่มีความพิเศษมากกว่ายารูปแบบอื่นๆ เพราะจะต้องฉีดเข้าร่างกายผ่านผิวหนัง ผ่านเนื้อเยื่อที่บอบบาง ดังนั้นการผลิตจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ยาปราศจากการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ และสิ่งแปลกปลอมต่างๆซึ่งต้องอาศัย บุคลากรที่มีความชำนาญ ผ่านการ ฝึกฝนมาอย่างดีและมีทัศนคติที่ดีในด้านการควบคุมกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มรับวัตถุดิบเข้ามาจนกระทั่งได้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ยาฉีดที่เป็นยาน้ำต้องมีความคงตัวดี สำหรับยาฉีดที่เป็นผงมักมีความคงตัวในรูปสารละลายต่ำ หากผสมแล้วมีระยะเวลาการใช้งานภายใน 24-48 ชั่วโมงเป็นส่วนมาก ยาฉีดที่เป็นผงบางชนิดเมื่อเติมน้ำกลั่นเพื่อละลาย ตัวยาจะมีฤทธิ์อยู่ได้เพียง1ชั่วโมง
ดังนั้นการเตรียมเป็นรูปยาน้ำหรือผงจึงขึ้นกับความคงตัวของตัวยาสำคัญยาฉีดจะบรรจอยู่ในภาชนะบรรจทุเี่ป็นหลอด (ampule) และขวด(vial) ยาที่บรรจุในหลอดจะเป็นยานน้ำซึ่งใช้ฉีดครั้งเดียว(single dose) ถ้าใช้ไม่หมดต้องทิ้งไป เพราะเมื่อหลอดยาถูกหักแล้วจะไม่ สามารถรักษาให้อยู่ในสภาพปราศจากเชื้อได้ หลอดยาที่มีวงสีรอบคอหลอดยา แสดงว่าหลอดยานั้นจะหักได้ง่ายไม่ต้องใช้เลื่อยยา สำหรับยาฉีดที่บรรจุ ในขวดจะมีทั้งชนิดที่เป็นผงและยานน้ำมีทั้งแบบใช้ครั้งเดียว (singledose) และใช้หลายครั้ง(multidose) ยาที่เป็นผงจะมีความคงตัวต่ำ จุกขวดจะเป็นยางและมีแผ่นโลหะยึดรอบริมของขอบจุกยางไว้กันปากขวด ส่วนกลางของจกุยางจะบางเพื่อให้ง่ายต่อการแทงเข็มตรงส่วนกลางของจุกยางจะมีแผ่น โลหะ หรือฝาพลาสติกปิดไว้อีกครั้งหนึ่ง ก่อนดูดยาออกจากขวดต้องเปิดแผ่นโลหะหรือฝาพลาสติกออก บนหลอดยาหรอืขวดยาจะมีชื่อยา ปริมาณยา วิถีทางให้ยา วันหมดอายุของยาอยู่
ยาฉีดบางชนิดที่เป็นผงจะบอกชื่อ และปริมาณของตัวทำละลายยาไว้ด้วย หากยาที่ละลายแล้วใช้ไม่หมด และมีอายุที่จะเก็บไว้ ใช้ได้ให้เขียนฉลากติดขวดไวเกี่ยวกับความเข้มข้นของยา วัน เดือน ปี ที่ละลาย ผู้ละลาย และเก็บยาไว้ในที่ที่เหมาะสมตามฉลากยาที่แนบมากับยาด้วยเพื่อ เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา
วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564
ทำไมยาจึงมีบรรจุภัณฑ์หลากหลาย บ้างเป็นฟอยล์ บ้างเป็นแผงใส
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านบรรจุภัณฑ์ในอดีตยาส่วนมากจะบรรจุในขวด กระป๋องโดยบรรจุ 500-1,000 เม็ด มักมีปัญหาเรื่อง ความสะอาด การปนเปื้อน การเสื่อมสลาย เนื่องจากยาบางขนานเปิดแล้วกว่าจะใช้หมดก็เป็นเวลานาน เช่น ยาแอสไพริน จะได้กลิ่นน้ำส้มสายชูฉุน หรือยาอะมิโนฟิลลิน ที่เป็นยาขยายหลอดลมก็จะได้กลิ่นเหมือนเยี่ยวอูฐ เป็นต้น เรื่องการปนเปื้อนจะพบได้มากเนื่องจาก การนับจะมีการเทลงภาชนะกลับไปกลับมาหลายครั้ง ผู้ป่วยก็เสี่ยงต่อการแพ้ยาที่อาจปนเปื้อนมาโดยไม่รู้นอกจากนี้ยาอาจไม่ทนความชื้น ไม่ทนแสง จึงทำให้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งก็กลายเป็นเอกลักษณ์ของ ยาและมีข้อดีที่สามารถระบุชื่อยาได้ตลอดจนรุ่นผลิต และวันหมดอายุ
วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564
ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลา มีคุณสมบัติอย่างไร
ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลา มีคุณสมบัติอย่างไร
ยาแคปซูลที่ข้างในมีตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลาเป็นประเภทหนึ่งของยาเม็ดควบคุมการออกฤทธิ์ คือ การพัฒนารูปแบบเภสัชภัณฑ์ให้ปลดปล่อยตัวยาสำคัญออกมาตามความต้องการของผู้ออกแบบ อาจเป็นในรูปแบบ ที่ควบคุมให้แตกตัวและดูดซึมในอวัยวะเป้าหมาย หรืออาจเป็นการพัฒนาเพื่อให้ปลดปล่อยตัวยาออกมาในปริมาณที่สม่ำเสมอเป็นเวลานาน
ตัวยาที่เป็นแบบไข่ปลาหรือลักษณะเม็ดกลมขนาดเล็ก ในยาแคปซลููลที่เห็นนั้นคือยาในรปูแบบที่เรียกว่า เพลเลต (Pellet) ยาเม็ดเล็กๆในยาแคปซลูเหล่นี้ ถูกเคลือบด้วยสารที่ป้องกันการแตกตัวในกระเพาะอาหาร เพื่อให้เม็ดยา ไปแตกตัวในบริเวณที่มีความเป็นด่าง เช่นลำไส้เล็ก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ยา เหล่านั้น เช่น ยาโอมิพราโซล (Omeprazole) ที่ถูกบรรจุไว้เป็นยาที่ไม่คงตัว และถูกทำลายเมื่อสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหาร
และแน่นอนต่อเนื่องจากหัวข้อก่อนหน้านี้ ยาลักษณะไข่ปลานี้ก็ไม่สามารถเคี้ยวหรือบดได้ ดังนั้น ในกรณีที่ต้องให้ยาทางสายยาง (NG Tube) ทำได้โดยให้ถอดเปลือกแคปซูล เทเพลเลตยาใส่ในถ้วย กระจายด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ เช่นน้ำสับปะรด จากนั้นรีบกรอกลงในสายยางมีข้อสังเกตง่ายๆ ว่ายาตัวไหนห้ามบดเคี้ยว โดยท้ายชื่อยา มักมีอักษรลงท้ายตามมาเป็นภาษา อังกฤษว่า
DM, GP, DA, PSE, SR, SA, CR/CRT, LA, MR, TD/TR, XL, XR/ER, OROS®, Contin เป็นต้น
วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564
ยาเม็ดเคลือบฟิล์มจะเคี้ยวหรือบดได้หรือไม่
ยาเม็ดเคลือบฟิล์มจะเคี้ยวหรือบดได้หรือไม่
คำตอบคือ...... ไม่ได้..ครับ ความสำคัญของการ เคลือบฟิล์มในยาเม็ดเคลือบ ส่วนมากจะทำเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ที่สำไส้ เนื่องมาจากตัวยาระคายเคืองกระเพาะอาหารหรืออาจเสื่อมสลายโดยกรด ในกระเพาะอาหาร ดังนั้นการบดเคี้ยว หรือแม้กระทั่งการหักแบ่งยาเม็ดเคลือบฟิล์ม โดยเฉพาะโดยเฉพาะที่มุ่งหมายให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ จึงทำให้คุณสมบัตินั้นเสียไป ส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารไได้จากการเคี้ยวยา ดังกล่าวบ่อยครั้ง หรือกรดในกระเพาะก็จะทำลายฤทธิ์ของยาลง (อย่างไร ก็ตามหากเป็นผู้สูงอายุไม่ต้องห่วงเรื่องบดเคี้ยวเพราะยาแข็งมาก) มีปัจจัยสาเหตุ มากมายที่ส่งผลใหจำเป็นต้องบดยาให้ผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่รับประทานอาหาร หรือกลืนไม่ได้ ใส่ท่อสายยางให้อาหาร ยาเม็ดขนาดใหญ่ ผู้ป่วยที่ไม่ยอม รับประทานยา ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เป็นต้น อย่างไรก็ตามเป็นบทบาทของเภสัชกร ในการประสานกับบุคลากรการแพทย์ในโรงพยาบาลว่ายารายการใดบดได้ หรือรายการใดบดไม่ได้ เพื่อเลี่ยงไปใช้ในรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสมมากกว่า
รูปแบบยาที่ไม่ควรหักแบ่ง บด เคี้ยวหรือทำให้เม็ดยาแตก ได้แก่
ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน (extended-release tablet) เนื่องจาก เป็นยาเม็ดที่ออกแบบมาเพื่อให้ออกฤทธิ์โดยปลดปล่อยยาสู่ร่างกายทีละน้อยโดยการเคลือบฟิล์มเป็นตัวควบคุมการปลดปลอ่ยตัว ยาจากเม็ดยา ดังนั้นเมื่อบดเคี้ยวเม็ดยาจะทำให้การควบคุมการปลดปล่อยตัวยาเสียไป ยาก็จะทะลักออกมา จำนวนมาก ทำให้อาจเป็นพิษ หรือระยะเวลาในการควบคุมอาการสั้นลง ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
ยาเม็ดชนิดแตกตัวในลำไส้ (enteric-coated tablet) เป็น รูปแบบยาทป้องกัน การแตกตัวในกระเพาะอาหารแต่ให้แตกตัว และดูดซึมในลำไส้เล็ก ก็เพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือป้องกันยาถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร •
ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล (Sugar coating tablet) ยาบางชนิด มีรสชาติไม่ดีจึงจำเป็นต้องเคลือบเพื่อกลบรสชาติของยาด้วย น้ำตาล การบดจะทำใหการกลบรสเสียไปทำให้ผู้ป่วยได้รับรสชาติ ที่ไม่ดีของยา เช่น ยา Ciprofloxacin อย่างไร ก็ตามหากเป็นยากลุ่มนี้ ในทางปฏิบัติหากเป็นผู้ป่วยที่ให้ผ่าน สายให้อาหารก็สามารถที่จะบดได้เพราะอย่างไรก็ไม่ได้รับรู้รสอยู่แล้ว
สำหรับโรงพยาบาลจะมีการบดยาสำหรับผู้ป่วยที่คาสายยางให้อาหาร เป็นประจำทุกวัน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือการบดยาพร้อมกันหลายขนาน ซึ่งยาอาจไม่เข้ากันหรือไม่ถูกกันทางกายภาพและบ่อยครั้งโกร่งที่ใช้ บดยาจะใช้ซ้ำๆ เกิดการปนเปื้อน และอาจนำไปสู่การแพ้ยาสำหรับผู้ป่วย บางรายได้
วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564
ยาเม็ดฟู่ (Effervescent tablets)
ยาเม็ดฟู่เป็นยาที่จะต้องละลายในน้ำรอจนฟองฟู่หมดค่อยรับประทาน ลักษณะสำคัญของยาเม็ดชนิดนี้ก็คือ เมื่อหย่อนเม็ดยาลงในน้ำจะเกิดฟอง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นจากเม็ดยา ฟองก๊าซจะช่วยให้เม็ดยาแตกตัว และละลายได้อย่างรวดเร็ว ฟองก๊าซดังกล่าวเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่าง สารฟองฟู่ประเภทเกลือคาร์บอเนต หรือไบคาร์บอเนต กับกรดอ่อนบางชนิด เช่น กรดซิตริก หรือ กรดตาร์ตาริก เหตุผลที่ต้องทำยาในรูปแบบนี้เนื่องจาก ขนาดตัวยาสำคัญมีปริมาณมาก และยาบางชนิดเช่น แคลเซียม คาร์บอเนต ที่เป็นยาเสริมแคลเซียม จะละลายในภาวะเป็นกรดของกระเพาะอาหารและ ปลดปล่อยฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากนั้นจึงดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
ดังนั้น หากอยู่ในรูปแบบยาเม็ดทั่วไป เมื่อรับประทานจึงอาจทำให้อืดแน่นท้อง โดย เฉพาะผู้สูงอายุที่กระเพาะอาหารมีความเป็นด่างเพิ่มมากขึ้น ยาจึงไม่ค่อย แตกตัว หรือละลายในกระเพาะอาหารและสุดท้ายมักเป็นสาเหตุของอาการ ท้องผูกได้การทำยาแคลซียม คาร์บอเนต ในรูปเม็ดฟู่จึงช่วยให้ยาอยู่ในรูป สารละลาย ปรับแต่งรสให้น่ารับประทาน เพิ่มการดูดซึมได้ดีไม่ปลดปล่อย ก๊าซในกระเพาะ ลดอาการท้องอืด หรือท้องผูกในผู้สูงอายุนอกจากนี้ยากลุ่ม วิตามินบางขนานที่ไม่ทนกรด การทำเป็นเม็ดฟู่จะช่วยให้สารละลายที่ได้มีผล สะเทินความเป็นกรดในกระเพาะลดการทำลายฤทธิ์ยาจากกรดในกระเพาะ ได้ข้อควรระวังอันหนึ่งของยาเม็ดฟู่คือ ภาชนะที่ใช้เก็บจะเป็นภาชนะที่กัน ความชื้นได้ เช่น แผงยาแบบกดเม็ด (blister pack) หรือแผงอลูมิเนียม
เนื่องจากยาเม็ดชนิดนี้มักจะชื้นง่ายซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ยาเสีย ดังนั้นจึง แนะนำให้ระวังอย่าเก็บยาไว้ในที่ชื้น และระวังการฉีกขาดของแผงยาเพราะ จะทำให้ความชื้นเข้าไป ส่งผลให้ยาเสื่อมสภาพ
ยาเม็ดเคลือบ (Coated tablets)
การเคลือบเม็ดยาประกอบด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีความสวยงาม กลบรสหรือกลิ่นที่ไม่น่ารับประทานของตัวยา สะดวกในการกลืน เป็นเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต หรือเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ที่ลำไส้ อันเนื่องมาจากตัวยาบางขนาน จะระคายเคืองกระเพาะอาหารหรืออาจเสื่อมสลาย โดยกรดในกระเพาะอาหาร
ยิ่งไปกว่านั้นแล้วด้วยเทคโนโลยีการเคลือบ ยังสามารถทำ ให้ยาเม็ดเคลือบสามารถควบคุมการปลดปล่อยตัวยาให้ ปลดปล่อยอย่างช้าๆ และออกฤทธิ์ได้นาน เพื่อลดจำนวนครั้งที่ต้องกินยา ให้น้อยลงด้วยครับ
ยาอมใต้ลิ้นและกระพุ้งแก้ม (Sublingual and buccal tablets)
ยาอมใต้ลิ้นและกระพุ้งแก้ม (Sublingual and buccal tablets)
ยาอมใต้ลิ้น จะใช้สำหรับอมหรือวางไว้ใต้ลิ้น ยาที่นิยมทำในรูปแบบนี้ มักเป็นยาที่ใช้ในโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่นยาแก้ปวดเค้นอกอัน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบ
ยาอม (Lozenges)
ยาอม (Lozenges)
หากบอกว่ายาอมเป็นยาเม็ดที่อร่อยที่สุด ก็คงไม่มีใครปฏิเสธ ยาอมมักจะใช้สeหรับการรักษาเฉพาะที่ เช่น ในบริเวณปากและคอ ได้แก่ ยาชาเฉพาะที่ ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ ส่วนมากที่มีจeหน่ายในท้องตลาดมักเป็นยาอมแก้เจ็บคอระคายคอแก้ไอ หรือทำให้มีอาการชา บรรเทาอาการระคายหรือเจ็บคอโดยยาจะค่อยๆละลาย ออกมาอย่างช้าๆ ด้วยน้ำลายในช่องปาก
ยาอมเป็นยาที่มีรสชาติน่ารับประทาน นอกเหนือจากตัวยาแล้ว ส่วนประกอบของยาชนนิดนี้ก็เป็นสาร ประเภทน้ำตาลชนดิต่างๆ เช่น กลูโคส ซอร์บิทอล และแมนนิทอล เนื่องจากสามารถละลายน้ำได้ดีและยังมีรสชาติดีอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการ ไม่ใช่รักษาที่สาเหตุ บ่อยครั้งจำเป็นที่ต้อง ได้รับยารับประทานอื่นๆ ที่รักษาต้นเหตุร่วมด้วย เช่น ยาปฏิชีวนะ สำหรับเม็ดอมหรือลูกอมต่างๆ ก็เป็นรูปแบบเดียวกันนี้ เพียงแต่ไม่มีตัวยาผสมอยู่
วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564
ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว (Chewable tablets)
ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว (Chewable tablets)
ในบางกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนเม็ดยาหรือบางครั้งเม็ดยา อาจมีนาดใหญ่มาก เช่น ยาเม็ดที่ใช้ลดกรดในกระเพาะอาหาร การใช้ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว จะช่วยให้สามารถรับประทานยาได้ง่ายขึ้น
ยาเม็ดชนิดนี้จะถูกทำให้แตกตัวด้วยการเคี้ยวในปากก่อน หลังจากน้ำยาจะถูกกลืนพร้อมกับน้ำ และเกิดการละลายที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ ด้วยเหตุนี้ยาเม็ดสำหรับ เคี้ยวจึงเหมาะกับยาที่ต้องการให้เกิดการแตกตัวอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ในการรักษาได้เร็วตามไปด้วย เนื่องจากยาเม็ดชนิดนี้เป็นเม็ดเคี้ยว
ดังนั้นก็จะมีปัจจัยเรื่องรสชาติ ความชอบหรือไม่ชอบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ความลับหนึ่งที่ทำให้ยาเม็ดสำหรับเคี้ยวมีรสชาติก็คือ ผู้ผลิตจะเติมสารใหค้วามหวานและเย็นชื่อซอร์บิทอล หรือแมนนิทอล ก็จะเพิ่มความร่วมมือของผู้ป่วยได้มากขึ้น ยกเว้นในผู้สูงอายุที่ฟันฟางหายหมดปาก ก็ไม่น่าจะเหมาะกับยารูปแบบนี้ เพราะการใช้เหงือกอาจเป็นแผลได้ และเป็นการทรมานผู้ป่วย ในทางปฏิบัติก็จะเลี่ยงไปใช้ยาน้ำแทน
วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564
ยาเม็ดแตกตัว (Disintegrating tablets)
ยาเม็ดแตกตัว (Disintegrating tablets) เป็นยาเม็ดชนิดที่มีการใช้มากที่สุด เนื่องจากเตรีมง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย ยาประเภทนี้ปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่นิยมและมีการผลิตจำนวนมาก
โดยหลังจากรับประทานยาเข้าไป ยาเม็ดชนิดนี้จะเกิดการแตกตัวและละลาย อย่างรวดเร็วในกระเพาะอาหาร จากนั้นจะเกิดการดูดซึมที่กระเพาะอาหาร หรือที่ลำไส้ ตัวอย่างที่เห็ดได้ชัดอาจเป็นเม็ดยาที่เราคุ้นเคย ยา “พารา”
ยาเม็ดรูปแบบนี้อาจพบเห็นได้ในรูปแบบที่เป็น2หรือ3ชั้นซึ่งแต่ละชั้นอาจจะมีตัวยาต่างชนิดกัน เพื่อแยกตัวยาชนิดที่ไม่เข้ากันออกจากกัน หรือแยกชั้นเพื่อความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ของยา พบบ่อยที่เป็นสูตรผสมของยาแกปวด- ลดไข้ รวมกันกับยาแก้แพ้ แก้หวัดนั่นแหล่ะ การรับประทานก่อน หรือหลังอาหารก็ขึ้นกับคุณสมบัติของยา หากเป็นยา “พารา” หรือยาแก้ปวดหัวสูตรผสมก็สามารถที่จะรับประทานเมื่อมีอาการไม่ต้องรอก่อน หรือหลังอาหารแต่กำหนดระยะเวลาเป็นทุก4-6ชั่วโมงการรับประทานยาชนิดนี้ก็ควรดื่มน้ำตามแล้วกลืน การรับประทานโดยไม่ดื่มน้ำ อาจทำให้กลืนยาลำบาก และมีความรู้สึกเหมือนยายังติดอยู่ที่ลำคอ
หากไม่สะดวกที่จะหอบยาเหลือใช้มากมายไปหาหมอ /เภสัชกร ไม่มีวิธีอื่นทำลายยา เลยหรือ?
หากไม่สะดวกที่จะหอบยาเหลือใช้มากมายไปหาหมอ /เภสัชกร ไม่มีวิธีอื่นทำลายยาเลยหรือ?
ก็มีหนทางครับ สิ่งที่แนะนําข้างต้นว่าไม่ควรทํา ไม่ได้หมายความว่าจะทําไม่ได้ เลย กล่าวคือ หากยาเหลือใช้นั้นเป็นยาที่มีความเสี่ยง หากมีใครนําไปใช้ หรือเด็กเล็กหยิบ รับประทานโดยไม่รู้ เช่น ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์เสพติด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น ยาเหล่านี้ให้แกะ หรือเทออกจากภาชนะบรรจุ ละลายน้ําและเทลงในส้วมซึม /ชักโครก/ อ่างล้างชาม เพื่อป้องกันอันตรายจากการนําไปใช้โดยบุคคลอื่น ๆ ในอเมริกามีรายงานการ ทิ้งขยะของแผ่นแปะเฟนตานิล หรือ ยาเมธาโดน แล้วเด็กเล็กไปหยิบมารับประทาน กลืน ลงไป ผลคือเสียชีวิต สําหรับซองยา หรือภาชนะก็ทิ้งไปกับขยะทั่วไป หากไม่ต้องการให้ ใครรับรู้ข้อมูลว่าเ ป็นยาอะไร ของใคร ก็ควรฉีกฉลาก ทําลาย หรือลอกออก ก่อนทิ้งเพื่อ เป็นความลับ สําหรับใน สหรัฐฯ มียาบางรายการที่ระบุว่าสามารถทิ้งในส้วม /ชักโครกได้ ซึ่ง กําหนดโดยองค์การอาหารและยา ยาเหล่านี้ส่วนมากเป็นยาเสพติด เช่น มอร์ฟีน เพทธิดีน ไดอะซีแพม เฟนตานิล เมธาโดน ในรูปแบบต่าง ๆทั้งที่เป็นยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทั้งนี้ โดยมีความมุ่งหวังคือ ป้องกันการเข้าถึง หรือการนําไปใช้ในทางที่ผิดตามที่กล่าวข้างต้น มีการเสนอว่าหากไม่ได้ระบุว่าทิ้งชักโครกได้ ให้นํายาออกจากภาชนะ ใส่ ในถุงที่ สามารถปิดสนิท ทุบเป็นผงละเอียด และผสมรวมไปกับเศษผงกาแฟ (เหมือนร้านกาแฟสด)หรือปนไปกับขยะของสัตว์เลี้ยง เศษอาหารสัตว์ที่ต้องการจะทิ้ง เพื่อให้ไม่สามารถแยกยา ออกมาได้และปิดปากถุงให้แน่น จะสวมถุงกี่ชั้นก็แล้วแต่ ทิ้งลงในถังขยะ แต่อย่าลืมนะ ครับว่า ระบบการกําจัดขยะส่วนกลางของต่างประเทศเขาดีกว่าบ้านเรา เช่น การเผา ทําลายขยะ ขยะเหล่านี้จึงได้รับการทําลายแบบถูกวิธีในที่สุด ในขณะที่ของเราเป็นระบบไถ กลบ และอย่างที่ทราบกองภูเขาขยะที่มีการคุ้ยหาสิ่งของ สุดท้ายยาดังกล่าวที่ผสมปนเปไป กับเศษดิน ขยะร่วน ก็ซึมไปกับน้ําในดินเหมือนกัน การทิ้งในถังขยะจึงไม่น่าจะเหมาะสม กับบ้านเรา ยาสูดโรคหืด ปัจจุบันมักไม่มีการเติมสารทําลายโอโซน ที่ช่วยเพิ่มการขับยาออก ในขณะพ่นสูด ดังนั้นเมื่อใช้หมด มีคําแนะนําให้ทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล อย่างไรก็ตามอาจยังมี บางขนานที่ใส่สารเพิ่มแรงขับดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นอันตรายหากนําไปเผา ให้สอบถามเภสัชกร
กล่าวโดยสรุปเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากยาขยะ หรือยาเหลือใช้ข้อ ควรปฏิบัติ
1. ได้ยามาควรสอบถามวิธีใช้ และเทคนิคการใช้ให้เข้าใจ เพื่อจะได้สามารถใช้ ยาได้ตามสั่ง ไม่ท้อแท้ในการใช้ยา ทําให้ยาเหลือ
2. หากเป็นยา รักษาโรคเรื้อรัง ให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง และไปรับการ ตรวจตามนัด หากมียาเหลืออยู่ไม่ว่าจะเท่าใดก็ตาม ให้นําติดตัวไปพบ แพทย์ด้วยทุกครั้ง เนื่องจากบางครั้งแพทย์อาจนัดก่อนที่ยาหมด
3. หากรับประทานยาแล้วเกิดอาการข้างเคียงให้หยุดยา และนํายาติดตัวไปพบ แพทย์ด้วย คืน/บริจาคยาไปเลย ไม่ต้องมาเป็นความเสี่ยงในบ้าน
4. อย่าขอยาไปเผื่อใคร หรือบางครั้งแพทย์สั่งจ่ายยาให้ครั้งละมาก ๆ หากไม่มี ปัญหาการเดินทางไปโรงพยาบาล สถานพยาบาลให้ปฏิเสธเพราะยาอาจไป ตกค้างที่บ้าน รอวันเสื่อม ไม่เกิดประโยชน์ในทุกด้าน
5. หากเป็นยาปฏิชีวนะต้องรับประทานต่อเนื่องจนหมด
6. สําหรับยาที่เหลือใช้เนื่องจากไม่มีอาการ หรือผู้ป่วยเสียชีวิต สามารถนํา กลับไปโรงพยาบาลเพื่อใช้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ หากยายังมีสภาพดี หรือ โรงพยาบาลจะเผาทําลายให้หากไม่มั่นใจคุณภาพยา
7. ภาชนะบรรจุยา อลูมิเนียมฟอยล์ ทิ้งเป็นขยะปกติ หรือขยะรีไซเคิล หากมี การแยกขยะ หลอดพ่นยาสูดให้ทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล
8. หากยังมียาเหลืออยู่ หรือยาหมดอายุ จํานวนมาก ให้นํากลับไปโรงพยาบาล เพื่อการทําลายที่ถูกต้อง โรงพยาบาลควรมีการรณรงค์อย่างสม่ําเสมอ
9. หากไม่สามารถนําไปโรงพยาบาล เนื่องจากยามีไม่มากนัก จํานวนไม่กี่เม็ด หรือเป็นยาน้ําของเด็กที่เหลือก้นขวด ยาตา ยาหยอด ที่ค้างขวด ให้เทหรือ บีบน้ํายาที่เหลือใส่ในภาชนะ เช่น กระป๋อง ขันน้ํา และเติมน้ําเพื่อละลายยา เทลงส้วมหรือชักโครก ไม่เทลงอ่างล้างชาม เนื่องจากปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม ได้ง่ายกว่า เหตุผลที่ให้ทําลายโดยวิธีนี้ เนื่องจากยาที่แพทย์สั่ง หากใช้ตาม คําแนะนําแล้ว ไม่ควรมีเหลือจํานวนมาก โดย เฉพาะยาปฏิชีวนะ ต้อง รับประทานตามขน าดที่สั่ง ติดต่อกันทุกวันจนหมด ดังนั้นผลกระทบจาก ครัวเรือนในการทิ้งยาดังกล่าว ในขนาดที่ไม่มาก และส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม จึงยังไม่น่าจะเป็นปัญหาในระยะเวลาอันใกล้นี้
ขอย้ําเตือนอีกครั้งหนึ่งว่า “ยามีคุณอนันต์ มีโทษมหันต์ ” ควรใช้เมื่อจําเป็น เท่านั้น และควรใช้อย่างพอเพียง ใช้ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ควรใช้พร่ําเพรื่อเกินจําเป็น เพราะ ยาล้วนเป็นสารเคมีที่อาจจะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ยาได้ทุกเมื่อ จึงควรพิจารณาให้ดีใช้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม ให้เกิดประโยชน์ที่สุด ตามหลัก 3 ป. คือ ประสิทธิภาพ ปลอดภัย และ ประหยัด
ควรนำยาเหลือใช้ติดตัวเมื่อไปพบแพทย์/เภสัชกร..หรือไม่?
ควรนำยาเหลือใช้ติดตัวเมื่อไปพบแพทย์/เภสัชกร..หรือไม่?
คําถามสุดท้ายนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะแพทย์ หรือ เภสัชกร จะช่วยกัน ตรวจสอบยาเหลือใช้เหล่านั้นว่า ยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ถ้าใช้ได้ จะได้นําไปใช้ให้เกิดประโยชนโดยอาจพิจารณาให้ใช้ต่อ โดยไม่จําเป็นต้องสั่งการรักษาเพิ่มเติม หรือแนะ นําวิธีเก็บรักษา ที่ถูกต้องให้ ใส่ภาชนะใหม่ เขียนฉลากหรือข้อมูลให้ชัดเจนเพิ่มเติมและให้นํากลับไป หรือ หากไม่ประสงค์ที่จะนํากลับ ก็อาจ นําไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยคนอื่นตามความ เหมาะสมต่อไป จะได้ไม่เสียของเปล่าๆ ดังนั้น เมื่อมี..ยาเหลือใช้...จึงควรน ากลับไปปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร เป็นดี ที่สุด
ควรนำยาเหลือใช้ไปให้เพื่อนใช้..หรือไม่?
ควรนำยาเหลือใช้ไปให้เพื่อนใช้..หรือไม่?
ประเด็นที่สามเมื่อยาเหลือก็เอาไปให้เพื่อนหรือญาติพี่น้องที่เป็นโรคหรือมีอาการ เดียวกันกับเราใช้จะได้ประโยชน์ ไม่เสียของเปล่าๆ ฟังดูดี แถมยังมีคุณธรรม ได้ช่วยเหลือ คนอื่นอีกด้วย
ในกรณีเช่นนี้จะใช้ได้จริงๆ ก็ต้องเป็นยาชนิดเดียวกันและขนาดเดียวกัน เท่านั้น จึงจะใช้แทนกันได้ แต่ถ้าเป็นโรคหรืออาการเหมือนกัน ไม่แนะน าให้น าไปให้เพื่อน ใช้เพราะโรคเดียวกันหรืออาการที่คล้ายกัน แต่ระดับความรุนแรงหรือลักษณะอื่นๆ อาจ แตกต่างกัน
นอกจากนี้การจ่ายยาให้ผู้ป่วยนั้น แพทย์ผู้สั่งจ่ายยาจะพิจารณาลักษณะของ แต่ละคน และเลือกยาให้เหมาะสมที่สุด ยาที่ได้ผลดีกับคนที่หนึ่ง อาจจะได้ผลหรือไม่ได้ผล เลยกับคนที่สอง แถมอาจจะเกิดผลเสียภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้ เช่น แพ้ยา เป็นต้น
ดังนั้นจึงควรนําไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา อย่าคิดเอง เออเอง มีบทความ ต่างประเทศบางชิ้น ให้ส่งไป ประเทศโลกที่สาม กล่าวคือแนะนําว่ายาเหลือใช้ที่ยัง ไม่ หมดอายุ บ่อยครั้งยังคงใช้ได้ ให้บริจาคแก่ประเทศโลกที่สาม คําแนะนําดังกล่าวมุ่งหวังว่า ยาเหล่านั้น ช่วยรักษาโรคติดเชื้อไม่รุนแรง ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิต เพราะไม่มียาใช้
อย่างไรก็ตามเป็นการยากในการส่ง และหากการเก็บรักษาไม่เหมาะสม จะกลายเป็นส่งต่อ ความเสี่ยง อันตรายจากยาเสื่อมสภาพให้กับประชากรในโลกที่สาม
ควรทิ้งยาเหลือใช้..ลงในอ่างล้างจาน..หรือไม่?
ควรทิ้งยาเหลือใช้..ลงในอ่างล้างจาน..หรือไม่?
ในเมื่อทิ้งในชักโครกหรือคอห่านไม่ได้ จะขอทิ้งในอ่างล้างจานจะได้ไหม ? ประเด็นนี้คงพอเดาได้แล้วว่า ไม่ดีแน่นอน ซ้ําร้ายรุนแรงกว่าด้วย เพราะยาที่ถูกเททิ้งลงไป ในท่อของอ่างล้างจาน ก็จะละลายและไหลไปรวมกันในแหล่งน้ํา ซึ่งยังไม่มีวิธีการกําจัดยา ออกจากน้ําเสีย ยาก็จะไปสะสมหมุนเวียนในลักษณะเดียวกัน เกิดการสะสม ปนเปื้อนใน สัตว์น้ํา เกิดแบคทีเรียดื้อยา และอาจปนเปื้อนในน้ําดื่มน้ําใช้ของเราได้เช่นกัน คำตอบ
จึงไม่ควรทิ้งยาเหลือใช้..ลงในอ่างล้างจาน..นะครับ
ควรทิ้งยาเหลือใช้..ลงในส้วม..หรือไม่?
ควรทิ้งยาเหลือใช้..ลงในส้วม..หรือไม่?
ข้อเสนอแนะข้อแรกนี้เป็นสิ่งที่กําจัดได้ง่ายที่สุด แถมยังสะดวกสบายที่สุด โดยการนํายาเหลือใช้ทั้งหมด แกะออกจากแผง ละลายน้ําในถังและ ไปเทลงใน ส้วม ราดน้ํา ตาม ก็เสร็จเรื่องกันเสียที ..วิธีนี้..จะดีจริง หรือ?
ยาทั้งหมดก็จะถูกละลายลงไปอยู่ในบ่อ เกรอะ บางส่วนก็อาจซึมออกไปกับน้ําสู่ดิน โดยรอบ โดยเฉพาะส้วมซึมแบบที่นิยมกัน มากในเมืองไทย สุดท้ายยาเหล่านี้ก็จะละลายไปสะสมอยู่ในแหล่งน้ําต่างๆ ตามธรรมชาติ
ดังปรากฏเป็นข่าวในต่างประเทศว่า พบยาปนเปื้อนในแหล่งน้ําต่างๆ พบในตัวปลาที่อาศัย อยู่ในแหล่งน้ํานั้นๆ ทั้งยังเพิ่มการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย
และที่ร้ายที่สุด คือ ยาละลาย ปนเปื้อนอยู่น้ําดื่มน้ําใช้ของประชาชน ยาที่เป็นปัญหาการปนเปื้อนในน้ําดื่มน้ําใช้ประชากร อเมริกัน กว่า 41 ล้านคน เป็นยากลุ่ม ยาปฏิชีวนะ ยากันชัก ยาทางจิตเวช และยาที่เป็น ฮอร์โมนเพศ แต่ไม่อยู่ในระดับที่เป็นอันตราย หรือความเสี่ยง
ดังนั้น จึงไม่ควรทิ้งยาเหลือใช้..ลงในส้วมนะครับ
จะสังเกตว่า..ยาเหลือใช้..ยังใช้ได้หรือไม่?
จะสังเกตว่า..ยาเหลือใช้..ยังใช้ได้หรือไม่?
การตอบได้ชัดเจนที่สุดคือ ยาเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และลักษณะภายนอกไปจาก เดิมหรือไม่ เช่น ชื้น กร่อน เยิ้ม สีซีด จางไม่สม่ําเสมอ ยาน้ําสี กลิ่น รส เปลี่ยน จับตัวเป็นก้อน หรือแยกชั้น เขย่าแล้วไม่คืนกลับเป็นเนื้อเดียว ยาดังกล่าวใช้ไม่ได้ ให้ทิ้ง
ที่ชัดเจนอีก ประการคือ ดูวันหมดอายุที่ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ หากยาหมดอายุก็ทิ้งได้ เช่นกัน หากยาไม่เปลี่ยนสี หรือรูปแบบภายนอกไม่เปลี่ยนแปลงไป ยังไม่ถึงวันหมดอายุ ก็เป็นการ ยากที่จะบอกว่ายาเหลือใช้เหล่านั้นยังคงใช้ได้หรือไม่
ทั้งนี้อาจพิจารณาจากข้อมูลที่ได้รับ
1. วันเวลา และรูปแบบยาที่ได้มา หากยาดังกล่าวเป็นเม็ดเปลือย และที่ซอง ระบุวันที่ได้รับยามาเกินกว่า 6 เดือน ให้ทิ้ง หรือนําส่งคืนโรงพยาบาล เหตุที่ ให้เวลา 6 เดือนเนื่องจากยาดังกล่าว หลังการแบ่งบรรจุ จะกําหนดอายุไว้ 1 ปี แต่จะทยอยจ่ายออกจากห้องยา และการเก็บรักษาอาจมีผลกระทบ ดังนั้นจะ เห็นได้ว่าควรหลีกเลี่ยง นํายาใหม่มาใส่ซองเก่า เพราะวันที่ บนซองเก่าจะไม่ สะท้อนความเป็นจริงว่าได้ยามาเมื่อไหร่
2. การเก็บรักษายา หากได้รับข้อมูลว่าการจัดเก็บเป็นความเสี่ยงเป็นระยะ เวลานาน เช่น เก็บในที่แสงแดดส่องถึง ร้อน มีความชื้นสูง เช่นในห้องน้ํา จัดเก็บในภาชนะที่ไม่เหมาะสม เช่น แกะออกจากแผง ฯลฯ ยาต้องแช่เย็นแต่ ไม่ได้แช่มาเป็นเดือน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อความคงตัวของยา ก็ไม่ควรนํามาใช้
3. ฉลากยา หากฉลากยาไม่ปรากฎข้อมูลความชัดเจนใด ๆ ไม่แน่ใจว่าได้มา อย่างไร เมื่อไร ก็ไม่ควรใช้ยานั้น
ทำไม...ต้องรณรงค์เรื่องยาเหลือใช้
ทำไม...ต้องรณรงค์เรื่องยาเหลือใช้
ประเด็นแรกคือ ความปลอดภัย ยาเหลือใช้ เป็นความเสี่ยงที่มีอยู่ในครัวเรือน ลองคิดดูสิครับว่า ยาดังกล่าว เราเก็บกันไว้ที่ใด บ้างใส่ตะกร้า บ้างใส่ถุงมัดกองรวมกัน วาง ไว้ตามหลังตู้ ตามหัวเตียง ยาเหล่านี้ไม่ได้เก็บตามวิธีการเก็บรักษาที่ดี บ้านที่มีเด็กเล็กก็ เป็นความเสี่ยงที่เด็กอาจไปหยิบยาดังกล่าว ซึ่งมักเป็นยาอันตรายร้ายแรงมารับประทาน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พบเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์บ่อย ๆ
ประเด็นต่อมา ยาดังกล่าวอาจเป็นยาที่แพทย์ยังสั่งให้ต่อ แต่ขนาดยาที่ได้รับครั้ง ล่าสุดอาจเปลี่ยนไป มากขึ้นหรือน้อยลง ผู้ป่วยอาจไม่ทันระวังนํายาใหม่มาใส่ในถุงยาเก่า เพราะความคุ้นเคย และรับประทานเหมือนเดิม ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผล
ประเด็นที่สาม ยาดังกล่าวอาจเป็นยาที่เสื่อม หมดอายุ ยาหลายขนานที่หมดอายุ โดยที่มองภายนอกไม่เห็น เช่นยาแคปซูล โดยที่ผงยาข้างในเปลี่ย นสี เช่น ด๊อกซี่ซัยคลิน มักเป็นแคปซูลสีเขียว ผงข้างในหากยังใช้ได้จะมีสีเหลืองนวล แต่หากหมดอายุจะเป็นสี น้ําตาล หรือเหลืองน้ําตาล หากรับประทานจะมีพิษร้ายแรงต่อไต เยื่อบุเป็นแผล เช่น ตา บวมปิด ปากเจ่อบวมเป็นแผลอักเสบ เป็นต้น
ประเด็นสุดท้าย มีรายงานในต่างประเทศว่า ยาที่เหลือใช้นี้มีประมาณร้อยละ 3 ถึง 20 ของยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับมาจากโรงพยาบาลหรือร้านยาก็ตาม ในบางคนยาเหลือ ใช้อาจมีค่าเพียงไม่กี่บาท แต่บางคนอาจมีค่าสูงเป็นหมื่นๆบาทได้ เม็ดเงินที่ใช้จัดหายา เหล่านี้อาจเป็นเงินจากกระเป๋าของเรา (ที่ต้องจ่ายไปเอง) หรือ ของหน่วยงาน หรือ ของ รัฐบาล (ซึ่งเป็นส่วนภาษีเงินได้ที่รัฐนํามาจ่ายให้กับสวัสดิการ) แต่ผลโดยรวมแล้วก็เป็นเงิน ของชาวไทย และเป็นเงินของประเทศชาติทั้งหมด
ในการสํารวจยาเหลือใช้ที่บ้านของ ประเทศอังกฤษ พบว่า ยาเหลือใช้คิดเป็นเงินมีมูลค่าสูงถึง 200 ล้านปอนด์ต่อปี (ถ้าอัตรา แลกเปลี่ยน 50 บาทต่อปอนด์ จะเป็นเงินถึง 10,000 ล้านบาท) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ยาเหลือใช้ มีเป็นจํานวนมากและมีความสําคัญต่อ ความ ปลอดภัย และส่งผลต่องบประมาณของชาติอีกด้วย จึงต้องช่วยกันทุกฝ่ายใช้ยาอย่างมี ประสิทธิภาพ ปลอดภัย และประหยัด
สาเหตุของยาเหลือใช้ หรือ ยาขยะ
สาเหตุของยาเหลือใช้ หรือ ยาขยะ
ถ้าสํารวจกันจริงๆ ก็จะพบว่า เกือบทุกหลังคาเรือนจะมียาเหลือใช้อยู่ไม่มากก็ น้อย ยาเหลือใช้เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงชนิดของยาในการรักษา ทําให้มียาเดิมเหลืออยู่และผู้ป่วยไม่ได้ใช้
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ไม่ได้ใช้ยาอย่าง สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง หรือ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงหยุดยาเอง (ซึ่งไม่ควรหยุดยาเอง ควร ใช้ยาอย่างส่ําเสมอตามสั่ง)
นอกจากนี้อาจหยุดยาเนื่องจากเกิดผลข้างเคียงหรืออาการอัน ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หรือ ผู้ป่วยเสียชีวิต ทําให้เกิดยาเหลือใช้ได้
ยาเหลือใช้ คืออะไร เคยได้ยิน ยาขยะ เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร
ยานับเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สําคัญ ทุกบ้านจึงมักมียาไว้ประจําบ้านทั้งเพื่อ รักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้นเล็กๆน้อยๆ หรือ สําหรับการรักษาโรคประจําตัวของสมาชิกใน ครอบครัว
ในบรรดายาที่มีไว้ในบ้านนี้ บ่อยครั้งที่ ซื้อมาเก็บไว้แล้วไม่ได้ใช้ หรืออาจเป็น เพราะว่า ผู้ป่วยที่เคยใช้ยาชนิดนี้ แพทย์ได้เปลี่ยนแปลงการรักษา มีการเปลี่ยนยาชนิดใหม่ ทําให้ยาเดิมที่เหลืออยู่ไม่ได้ใช้
หรือ อาจเกิดจากผู้ป่วยที่เคยใช้ยานี้ได้เสียชีวิตไปแล้ว ทําให้ เหลือยาของผู้ตายคนนี้อยู่ หรือ ยากลุ่มที่ใช้บรรเทาอาการ เช่น ปวดหัว ปวดฟัน ฯลฯ เมื่อ หายปวดแล้ว ก็ไม่ได้ใช้ยา จึงมียาที่เหลืออยู่เช่นกัน
บางครั้งยามีเทคนิคการใช้เฉพาะ ยา บางขนานแกะยายากไม่รู้ว่าจะแกะอย่างไร ก็เลยไม่ใช้ และก็ไม่กล้าแจ้งแพทย์ว่าใช้ไม่เป็น แกะยาไม่ได้ รวมทั้งที่พบบ่อยไม่แพ้กันคือผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยาตามสั่ง
โดยมีปัจจัยสาเหตุที่หลากหลายเช่น ลืม รับประทานแล้วรู้สึกไม่ดี ก็ไม่ใช้ และไม่กล้าแจ้งแพทย์ ไม่ได้ใช้ใน ขนาดที่แพทย์สั่ง และแพทย์ให้มามากเกิน เกิดการสะสมเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ยังอาจ ครอบคลุมยาที่เสื่อมสภาพ หมดอายุ ยาเหล่านี้ทั้งหมดเรียกรวมกันว่า “ยาเหลือใช้”
ส่วน ยาขยะ มีความหมายคล้ายคลึงกันกับยาเหลือใช้ แต่จะแคบกว่าโดยเน้นว่า “ขยะ” เป็นยาที่ไม่มีประโยชน์แล้ว ไม่ควรหรือไม่สามารถนํามาใช้ได้อีก เป็นยาหมดอายุ ยาเสื่อมคุณภาพที่ยังคงเก็บไว้ ลืม หรือไม่ได้ทิ้ง
ดังนั้น ยาเหลือใช้ จึงมีความหมายกว้าง กว่า ยาขยะ คือ ครอบคลุมทั้งยาที่ยังใช้ได้และใช้ไม่ได้
แต่ ยาขยะ จะหมายถึง ยาที่ใช้ไม่ได้แล้ว