Medtang

Custom Search

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564

หากไม่สะดวกที่จะหอบยาเหลือใช้มากมายไปหาหมอ /เภสัชกร ไม่มีวิธีอื่นทำลายยา เลยหรือ?

 หากไม่สะดวกที่จะหอบยาเหลือใช้มากมายไปหาหมอ /เภสัชกร ไม่มีวิธีอื่นทำลายยาเลยหรือ? 

ก็มีหนทางครับ สิ่งที่แนะนําข้างต้นว่าไม่ควรทํา ไม่ได้หมายความว่าจะทําไม่ได้ เลย กล่าวคือ หากยาเหลือใช้นั้นเป็นยาที่มีความเสี่ยง หากมีใครนําไปใช้ หรือเด็กเล็กหยิบ รับประทานโดยไม่รู้ เช่น ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์เสพติด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น ยาเหล่านี้ให้แกะ หรือเทออกจากภาชนะบรรจุ ละลายน้ําและเทลงในส้วมซึม /ชักโครก/ อ่างล้างชาม เพื่อป้องกันอันตรายจากการนําไปใช้โดยบุคคลอื่น ๆ ในอเมริกามีรายงานการ ทิ้งขยะของแผ่นแปะเฟนตานิล หรือ ยาเมธาโดน แล้วเด็กเล็กไปหยิบมารับประทาน กลืน ลงไป ผลคือเสียชีวิต สําหรับซองยา หรือภาชนะก็ทิ้งไปกับขยะทั่วไป หากไม่ต้องการให้ ใครรับรู้ข้อมูลว่าเ ป็นยาอะไร ของใคร ก็ควรฉีกฉลาก ทําลาย หรือลอกออก ก่อนทิ้งเพื่อ เป็นความลับ สําหรับใน สหรัฐฯ มียาบางรายการที่ระบุว่าสามารถทิ้งในส้วม /ชักโครกได้ ซึ่ง กําหนดโดยองค์การอาหารและยา ยาเหล่านี้ส่วนมากเป็นยาเสพติด เช่น มอร์ฟีน เพทธิดีน ไดอะซีแพม เฟนตานิล เมธาโดน ในรูปแบบต่าง ๆทั้งที่เป็นยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทั้งนี้ โดยมีความมุ่งหวังคือ ป้องกันการเข้าถึง หรือการนําไปใช้ในทางที่ผิดตามที่กล่าวข้างต้น มีการเสนอว่าหากไม่ได้ระบุว่าทิ้งชักโครกได้ ให้นํายาออกจากภาชนะ ใส่ ในถุงที่ สามารถปิดสนิท ทุบเป็นผงละเอียด และผสมรวมไปกับเศษผงกาแฟ (เหมือนร้านกาแฟสด)หรือปนไปกับขยะของสัตว์เลี้ยง เศษอาหารสัตว์ที่ต้องการจะทิ้ง เพื่อให้ไม่สามารถแยกยา ออกมาได้และปิดปากถุงให้แน่น จะสวมถุงกี่ชั้นก็แล้วแต่ ทิ้งลงในถังขยะ แต่อย่าลืมนะ ครับว่า ระบบการกําจัดขยะส่วนกลางของต่างประเทศเขาดีกว่าบ้านเรา เช่น การเผา ทําลายขยะ ขยะเหล่านี้จึงได้รับการทําลายแบบถูกวิธีในที่สุด ในขณะที่ของเราเป็นระบบไถ กลบ และอย่างที่ทราบกองภูเขาขยะที่มีการคุ้ยหาสิ่งของ สุดท้ายยาดังกล่าวที่ผสมปนเปไป กับเศษดิน ขยะร่วน ก็ซึมไปกับน้ําในดินเหมือนกัน การทิ้งในถังขยะจึงไม่น่าจะเหมาะสม กับบ้านเรา ยาสูดโรคหืด ปัจจุบันมักไม่มีการเติมสารทําลายโอโซน ที่ช่วยเพิ่มการขับยาออก ในขณะพ่นสูด ดังนั้นเมื่อใช้หมด มีคําแนะนําให้ทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล อย่างไรก็ตามอาจยังมี บางขนานที่ใส่สารเพิ่มแรงขับดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นอันตรายหากนําไปเผา ให้สอบถามเภสัชกร 

กล่าวโดยสรุปเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากยาขยะ หรือยาเหลือใช้ข้อ ควรปฏิบัติ 

1. ได้ยามาควรสอบถามวิธีใช้ และเทคนิคการใช้ให้เข้าใจ เพื่อจะได้สามารถใช้ ยาได้ตามสั่ง ไม่ท้อแท้ในการใช้ยา ทําให้ยาเหลือ 

2. หากเป็นยา รักษาโรคเรื้อรัง ให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง และไปรับการ ตรวจตามนัด หากมียาเหลืออยู่ไม่ว่าจะเท่าใดก็ตาม ให้นําติดตัวไปพบ แพทย์ด้วยทุกครั้ง เนื่องจากบางครั้งแพทย์อาจนัดก่อนที่ยาหมด 

3. หากรับประทานยาแล้วเกิดอาการข้างเคียงให้หยุดยา และนํายาติดตัวไปพบ แพทย์ด้วย คืน/บริจาคยาไปเลย ไม่ต้องมาเป็นความเสี่ยงในบ้าน 

4. อย่าขอยาไปเผื่อใคร หรือบางครั้งแพทย์สั่งจ่ายยาให้ครั้งละมาก ๆ หากไม่มี ปัญหาการเดินทางไปโรงพยาบาล สถานพยาบาลให้ปฏิเสธเพราะยาอาจไป ตกค้างที่บ้าน รอวันเสื่อม ไม่เกิดประโยชน์ในทุกด้าน 

5. หากเป็นยาปฏิชีวนะต้องรับประทานต่อเนื่องจนหมด

6. สําหรับยาที่เหลือใช้เนื่องจากไม่มีอาการ หรือผู้ป่วยเสียชีวิต สามารถนํา กลับไปโรงพยาบาลเพื่อใช้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ หากยายังมีสภาพดี หรือ โรงพยาบาลจะเผาทําลายให้หากไม่มั่นใจคุณภาพยา 

7. ภาชนะบรรจุยา อลูมิเนียมฟอยล์ ทิ้งเป็นขยะปกติ หรือขยะรีไซเคิล หากมี การแยกขยะ หลอดพ่นยาสูดให้ทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล 

8. หากยังมียาเหลืออยู่ หรือยาหมดอายุ จํานวนมาก ให้นํากลับไปโรงพยาบาล เพื่อการทําลายที่ถูกต้อง โรงพยาบาลควรมีการรณรงค์อย่างสม่ําเสมอ

 9. หากไม่สามารถนําไปโรงพยาบาล เนื่องจากยามีไม่มากนัก จํานวนไม่กี่เม็ด หรือเป็นยาน้ําของเด็กที่เหลือก้นขวด ยาตา ยาหยอด ที่ค้างขวด ให้เทหรือ บีบน้ํายาที่เหลือใส่ในภาชนะ เช่น กระป๋อง ขันน้ํา และเติมน้ําเพื่อละลายยา เทลงส้วมหรือชักโครก ไม่เทลงอ่างล้างชาม เนื่องจากปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม ได้ง่ายกว่า เหตุผลที่ให้ทําลายโดยวิธีนี้ เนื่องจากยาที่แพทย์สั่ง หากใช้ตาม คําแนะนําแล้ว ไม่ควรมีเหลือจํานวนมาก โดย เฉพาะยาปฏิชีวนะ ต้อง รับประทานตามขน าดที่สั่ง ติดต่อกันทุกวันจนหมด ดังนั้นผลกระทบจาก ครัวเรือนในการทิ้งยาดังกล่าว ในขนาดที่ไม่มาก และส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม จึงยังไม่น่าจะเป็นปัญหาในระยะเวลาอันใกล้นี้ 

ขอย้ําเตือนอีกครั้งหนึ่งว่า “ยามีคุณอนันต์ มีโทษมหันต์ ” ควรใช้เมื่อจําเป็น เท่านั้น และควรใช้อย่างพอเพียง ใช้ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ควรใช้พร่ําเพรื่อเกินจําเป็น เพราะ ยาล้วนเป็นสารเคมีที่อาจจะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ยาได้ทุกเมื่อ จึงควรพิจารณาให้ดีใช้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม ให้เกิดประโยชน์ที่สุด ตามหลัก 3 ป. คือ ประสิทธิภาพ ปลอดภัย และ ประหยัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น