ทำไม...ต้องรณรงค์เรื่องยาเหลือใช้
ประเด็นแรกคือ ความปลอดภัย ยาเหลือใช้ เป็นความเสี่ยงที่มีอยู่ในครัวเรือน ลองคิดดูสิครับว่า ยาดังกล่าว เราเก็บกันไว้ที่ใด บ้างใส่ตะกร้า บ้างใส่ถุงมัดกองรวมกัน วาง ไว้ตามหลังตู้ ตามหัวเตียง ยาเหล่านี้ไม่ได้เก็บตามวิธีการเก็บรักษาที่ดี บ้านที่มีเด็กเล็กก็ เป็นความเสี่ยงที่เด็กอาจไปหยิบยาดังกล่าว ซึ่งมักเป็นยาอันตรายร้ายแรงมารับประทาน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พบเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์บ่อย ๆ
ประเด็นต่อมา ยาดังกล่าวอาจเป็นยาที่แพทย์ยังสั่งให้ต่อ แต่ขนาดยาที่ได้รับครั้ง ล่าสุดอาจเปลี่ยนไป มากขึ้นหรือน้อยลง ผู้ป่วยอาจไม่ทันระวังนํายาใหม่มาใส่ในถุงยาเก่า เพราะความคุ้นเคย และรับประทานเหมือนเดิม ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผล
ประเด็นที่สาม ยาดังกล่าวอาจเป็นยาที่เสื่อม หมดอายุ ยาหลายขนานที่หมดอายุ โดยที่มองภายนอกไม่เห็น เช่นยาแคปซูล โดยที่ผงยาข้างในเปลี่ย นสี เช่น ด๊อกซี่ซัยคลิน มักเป็นแคปซูลสีเขียว ผงข้างในหากยังใช้ได้จะมีสีเหลืองนวล แต่หากหมดอายุจะเป็นสี น้ําตาล หรือเหลืองน้ําตาล หากรับประทานจะมีพิษร้ายแรงต่อไต เยื่อบุเป็นแผล เช่น ตา บวมปิด ปากเจ่อบวมเป็นแผลอักเสบ เป็นต้น
ประเด็นสุดท้าย มีรายงานในต่างประเทศว่า ยาที่เหลือใช้นี้มีประมาณร้อยละ 3 ถึง 20 ของยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับมาจากโรงพยาบาลหรือร้านยาก็ตาม ในบางคนยาเหลือ ใช้อาจมีค่าเพียงไม่กี่บาท แต่บางคนอาจมีค่าสูงเป็นหมื่นๆบาทได้ เม็ดเงินที่ใช้จัดหายา เหล่านี้อาจเป็นเงินจากกระเป๋าของเรา (ที่ต้องจ่ายไปเอง) หรือ ของหน่วยงาน หรือ ของ รัฐบาล (ซึ่งเป็นส่วนภาษีเงินได้ที่รัฐนํามาจ่ายให้กับสวัสดิการ) แต่ผลโดยรวมแล้วก็เป็นเงิน ของชาวไทย และเป็นเงินของประเทศชาติทั้งหมด
ในการสํารวจยาเหลือใช้ที่บ้านของ ประเทศอังกฤษ พบว่า ยาเหลือใช้คิดเป็นเงินมีมูลค่าสูงถึง 200 ล้านปอนด์ต่อปี (ถ้าอัตรา แลกเปลี่ยน 50 บาทต่อปอนด์ จะเป็นเงินถึง 10,000 ล้านบาท) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ยาเหลือใช้ มีเป็นจํานวนมากและมีความสําคัญต่อ ความ ปลอดภัย และส่งผลต่องบประมาณของชาติอีกด้วย จึงต้องช่วยกันทุกฝ่ายใช้ยาอย่างมี ประสิทธิภาพ ปลอดภัย และประหยัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น